วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ธุรกิจที่นำระบบสารสนเทศมาใช้แล้วประสบความสำเร็จ

บริษัท : Kimberly Clark
โปรแกรมที่ใช้ : SAP
การนำมาใช้ : บริษัทใช้ระบบ SAP ในการบริหารจัดการไม่ว่าจะเป็นทางด้านของการจัดเก็บวัตถุดิบ การใช้วัตถุดิบ การบริหาร stock สินค้า การส่งสินค้า การจัดซื้อวัตถุดิบ ระบบ planning ของการผลิตสินค้าใน line การผลิต ระบบบัญชี เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับ : ในการนำระบบ SAP เข้ามาใช้ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการจัดเก็บข้อมุลในส่วนงานต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบระเบียบ สามารถเรียกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทในการบริหารการจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลต่างๆเชื่อมโยงในทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการผลิต การตลาด จัดซื้อ บัญชี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา

กรณีศึกษา
1. ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายมาเป็น “ ระบบสารสนเทศของทุกๆ คน”
- การทำงานร่วมกันของระบบอินทราเน็ตกลายเป็นสิ่งที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว ที่ทำให้กล่าวได้ว่า “ ระบบสารสนเทศของทุกๆคน” (Everyone’s Information System) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญสำหรับบริษัทหลายๆแห่ง
2. อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrum
- Parsons Brinckhoff (www.pbworld.com) มีการแข่งขันโครงการวิศวกรรมร่วมกับบริษัททางวิศวกรรมอื่นๆทั่วโลก ประสิทธิภาพของเครื่องมือค้นหาในระบบอินทราเน็ตได้ช่วยเพิ่มการคืนทุน (Return on Investment : ROI) ให้กับพวกเขา และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยการลดเวลาที่ไม่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงและจัดการข้อมูลสารสนเทศในระบบอินทราเน็ตภายในบริษัท The Fulcrum Knowledge Network Search Engine ได้ช่วยให้พนักงานในบริษัทใช้ระบบอินทราเน็ตเป็นเครื่องมือในการแข่งขันสำหรับโครงการทางวิศวกรรมใหม่ๆ
3. อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
- บริษัทใช้การสนทนาระบบออนไลน์ภายในเครือข่ายพื้นที่ปฏิบัติการ (Practice Area Networks : PANs)โดยวิศวกรที่มีความชำนาญจากทุกมุมโลก เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ของพวกเขาในการปรับปรุงงานของบริษัทและโครงการทางวิศวกรรมต่างๆ ซึ่งในการสนทนาผ่านระบบ PAN จะตั้งหัวเรื่องในการสนทนา โดยใช้ซอฟต์แวร์ Fulcrum และจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล Oracle

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ ตอนที่ 2

การจัดการศึกษาในปี ค.ศ.2000 มีเป้าหมายมุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ประการแรก พัฒนาคนในด้านสติปัญญา จิตใจ และร่างกาย ประการที่สอง เน้นความเป็นพลเมืองดี พึ่งตนเองได้ รับผิดชอบส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว และประการสุดท้ายสามารถพัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เพื่อปรับเข้าสู่โลกไร้พรมแดน ด้วยการเรียนที่แท้จริง เรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกัน และเรียนรู้เพื่อชีวิต การเรียนรู้ที่แท้จริง คือ มีการผสมผสานความรู้ทั่วไปที่กว้างขวางอย่างเพียงพอ เพื่อเข้ากับบางวิชาได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง อีกทั้งยังต้องฝึกฝนในวิธีการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางการนำไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง เป็นการเรียนรู้ไม่เพียงแต่มีความชำนาญทางด้านวิชาชีพเท่านั้น แต่ยังสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระบบหรือนอกระบบหรือตามอัธยาศัยก็ตาม การเรียนรู้เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกัน ด้วยการสอนให้เข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่ามนุษย์จะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ด้วยวิธีสันติ การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be) เพื่อจะได้สามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น ในการจัดการศึกษาต้องคำนึงถึงการใช้เหตุผล ทักษะในการติดต่อสื่อสารผู้อื่น อีกทั้งต้องให้โอกาสแก่ทุกคนในการศึกษาตลอดชีวิต ด้วยเหตุผลนี้ ครูจึงเป็นผู้มีความสำคัญในการให้การศึกษายิ่งในยุคปฏิรูปการศึกษา ที่จำเป็นต้องใช้ยุทธวิธีเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เพื่อให้ได้มาซึ่งครูเก่ง ครูดี มีอุดมการณ์ทันสมัย เพื่อเป็นแบบอย่างเป็นผู้ดูแล และฝึกฝนเด็กไทยให้เป็นคนเก่ง สมดังคำกล่าวที่ว่า “ครูต้องเป็นคนที่คิดสร้าง มองไกล ใฝ่รู้ สู้งาน มีวิญญาณครู” แต่สภาวะวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นกับครู คือ ปัจจุบันมีครูอาจารย์ทั่วประเทศประมาณ 6 แสนคน (สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ประมาณ 5 แสนคนเศษ สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยประมาณ 2 หมื่นคนเศษ ที่เหลือสังกัดอื่น ๆ) อัตราส่วนครู คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ช่วยราชการสถาบันราชภัฏธนบุรี ต่อนักเรียนเท่ากับ 1 : 19 แต่เงื่อนไขและมาตราการเงินกู้ของธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) กำหนดให้ปรับอัตราส่วนเป็น 1 : 25 ภายในปี 2545 ในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับใหม่ กำหนดให้มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ทำให้ระดับมัธยมศึกษาต้องขยายชั้นเรียนและต้องการครูเพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันครู อาจารย์ที่สอนในระดับมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา มีจำนวนประมาณ 121,359 คน คิดเป็นอัตราส่วนต่อนักเรียนเท่ากับ 1 : 22 ภายในปี 2545 ต้องจัดการศึกษาเป็น 12 ปี ดังนั้นจึงต้องการครูอาจารย์เพิ่มขึ้น 40,000 – 60,000 คน ซึ่งนโยบายของรัฐบาลให้ยุบเลิกตำแหน่งอัตราเกษียณอายุราชการถึงร้อยละ 80 ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการต้องเก็บอัตราไว้บรรจุตามโครงการผลิตครูพิเศษต่าง ๆ เช่น คุรุทายาท เพชรในตม ฯลฯ ซึ่งก็ไม่เพียงพอในขณะนี้ และยังทำให้บัณฑิตใหม่ที่จบการศึกษาในช่วงปี 2541 – 2545 รวมประมาณ 1 แสนคนเศษ หรือร้อยละ 96 จะต้องตกงานหรือไปประกอบอาชีพอื่น อีกทั้งรัฐบาลยังมีโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด จะยิ่งทำให้มีครู อาจารย์ส่วนหนึ่งที่จะเข้าโครงการนี้อีก ทำให้จะเพิ่มการขาดแคลนครูเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ภาระงานของครูต้องรับหนักขึ้น ประการที่สอง รายได้ของครูอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ทำให้มีภาระหนี้สินเป็นจำนวนมาก ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจ ครูจึงประกอบอาชีพเสริม คุณภาพการเรียนการสอนจึงอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ ประการที่สาม การยอมรับในวิชาชีพครู ยังไม่ได้รับการยกย่องเท่าที่ควร ทำคนเก่งไม่อยากมาเป็นครูประกอบกับมีครูบางคนที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับความเป็นครู จึงขาดความเชื่อถือ บางคนไม่มีวุฒิทางครูทำให้เข้าใจในด้านจิตวิทยาของเด็กไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงควรมีการนำใบประกาศวิชาชีพครูมาใช้อย่างจริงจัง เพราะขณะนี้ถึงแม้กระทรวงศึกษาธิการจะได้รับงบประมาณสูงสุด แต่การปฏิรูปด้านการศึกษาหากเทียบกับเพื่อนบ้าน ไทยเราเริ่มห่างออกไปทุกที ไม่สามารถจะติดอยู่ในอันดับต้น ๆ ได้จะเห็นได้จากการจัดลำดับการศึกษาในแถบเอเชีย ไทยยังตามหลังมาเลเซียเพื่อนบ้าน หากปฏิรูปการศึกษาไทยยังทำแบบเชื่องช้า ไม่รวดเร็วแล้ว จะยิ่งทำให้ไทยล้าหลัง ห่างไกลไปอีก ดังนั้นครูจึงต้องร่วมมือร่วมใจที่จะรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ก้าวเข้าสู่ยุค ค.ศ.2000 ครูต้องปรับตนเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังมาสู่เราให้ได้ ตามทัศนะของ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ที่กล่าวถึงครูในอนาคต (ในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 มกราคม 2542 อ้างในสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2542) เกี่ยวกับเรื่องครูอินเตอร์ ปี 2000 ว่า “ครู คือ ส่วนหนึ่งในการนำสังคม ครูไทยต้องเป็นครู International มีทั้งด้านภาษา คอมพิวเตอร์ และความคิด ยิ่งในยุคเทคโนโลยีกำลังก้าวหน้า ครูต้องมีจิตสำนึกในความเป็นครู เพราะไม่เช่นนั้นก็ไม่มีอะไรดีกว่าสิ่งที่คอมพิวเตอร์มี” และ “เมื่อครูในฐานะที่ไม่ใช่แกนหลัก หรือส่วนนำของสังคมแล้ว อาชีพครูจึงควรได้รับการทบทวนในแง่ที่ว่า ครูมีอะไรให้เด็กในสิ่งที่คอมพิวเตอร์ไม่มีบ้าง? อย่างหนึ่งที่ครูควรจะมีคือ ความสำนึกในจิตใจเพราะหากครูปราศจากความสำนึกแล้ว ครูไม่มีอะไรเหนือกว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่” “หากครูจะมีประโยชน์ต่ออนาคตของชาติแล้ว ครูจะต้องเข้าใจและอาศัยทักษะจึงจะให้ความรู้แก่ศิษย์ได้ ดังนั้น ทักษะที่ครูจะพึงมี 3 ประการ ที่อาจเรียกได้ว่าไตรสิกขาในโลกอนาคตคือ ภาษาอังกฤษ ภาษาที่สองของไทย เนื่องจากช่วยให้เข้าถึงความรู้ได้มากขึ้น นอกจากภาษาอังกฤษแล้วครูต้องมี ทักษะการคิด เพราะจะช่วยให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลง และช่วยรักษาความเป็นครูที่สิ่งใดมาทดแทนไม่ได้ ทักษะการคิดทำให้เนื้อหาสาระมีคุณค่าเพิ่มขึ้น และยังเป็นปัจจัยตัดสินอนาคตของชาติ คือ เมื่อทุกคนในชาติรู้จักคิด ก็สามารถแสวงหาและแยกแยะข้อมูล ข่าวสารได้ และที่สำคัญ คือ จริยธรรมของการคิดที่มิใช่จะหาประโยชน์จากหน้าที่ ซึ่งเป็นเงื่อนไขแรกของการเป็นครู ข้อสุดท้าย คือ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เพราะความรู้ที่เคยบรรจุในตำราจะย้ายมาสู่ ซีดี – รอม และเว็บไซด์ต่าง ๆ และยังจะเป็นสื่อสำคัญในการเรียนการสอนในอนาคต คงต้องได้รับการตรวจสอบมากขึ้น เพราะครูที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จะช่วยเด็กได้อย่างไร” ดังนั้นลักษณะครูที่ดีในอนาคต ควรจะมีความเมตตา เสียสละ หมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุง วิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสมอยู่เสมอ และต้องเอาใจใส่ทำความเข้าใจเด็กทุกคน รวมทั้งครูควรมีบทบาทให้เด็ก รู้จักเลือกสรร แยกแยะตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร ทั้งช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญกว่าเนื้อหาที่เด็กจะได้รับ และสิ่งที่ควรจะทำมากที่สุด ก็คือ ความเป็นแบบอย่างที่ดี เพราะจะเป็นการสอนที่ดีที่สุด สังคมไทยเป็นสังคมเปิด ในอนาคตองค์ความรู้การเรียนของสังคมก็จะเปิดรับการศึกษามากขึ้น เราน่าจะมีนโยบายสร้างครู International มากกว่าโรงเรียน Inter เพราะครู International หมายถึง ครูที่พัฒนาตนเองให้เข้าใจและรู้จักโลกใหม่ โดยคงความเป็นไทยไว้ เราต้องหันมาให้ความสำคัญของโรงเรียนอนุบาล ประถม และมัธยม ให้มากกว่านี้ เพื่อช่วยให้ครูมีศักดิ์ศรี มีความภูมิใจในความเป็นครู ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับผู้เป็นครูว่า “……งานของครูในงานพิเศษ ผิดแปลกกว่างานอื่น ๆ กล่าวในแง่หนึ่งที่สำคัญก็คือว่า ครูจะหวังผลตอบแทนเป็นยศศักดิ์ ความร่ำรวย หรือประโยชน์ทางวัตถุเป็นที่ตั้งไม่ได้ ผลได้ส่วนสำคัญจะเป็นผลทางใจ ซึ่งผู้เป็นครูแท้ ก็พึงใจและภูมิใจอยู่แล้ว …….” 9 ตุลาคม 2516 “……..จะต้องฝึกฝนตนเองให้แตกฉานและแม่นยำ ชำนาญ ทั้งในวิชาความรู้ และวิธีสอน เพื่อสามารถสั่งสอนให้อย่างกระจ่างแจ้งและถูกต้องสมบูรณ์…….” 17 มิถุนายน 2524 และยังทรงให้ข้อคิดแก่ “ครู” ว่า “……..ผู้เป็นครูอย่างแท้จริงนับว่าเป็นบุคคลพิเศษ ต้องแผ่เมตตาและเสียสละ เพื่อความสำเร็จ ความก้าวหน้า และความสุข ความเจริญของผู้อื่นอยู่ตลอดชีวิต…….” 13 ตุลาคม 2540 จากพระราชดำรัสและข้อคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานให้แก่ครูทั้งหลาย เพื่อจะได้พึงระลึกและนำไปสู่การปฏิบัติสมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครูที่แท้จริง ในวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน

บทความของ รศ.วิไล ตั้งสมจิตสมคิด
สถาบันราชภัฎธนบุรี
ที่มา http://come.to/wilai

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 10

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 10
1. จงอธิบายแนวคิดของระบบวิสาหกิจ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศต่างๆ ขององค์กร
- 1. ช่วยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การและวัฒนธรรมองค์การที่ดีขึ้น
2. ช่วยสนับสนุนการปรับปรุงรายงานและการตัดสินใจที่ดีขึ้น
3. เพื่อสนับสนุนการรวมตัวของแพลตฟอร์มเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมของระบบสารสนเทศให้เป็นหนึ่งเดียว
2. ในส่วนมิติด้านความสามารถในการประกอบธุรกิจมีความเกี่ยวข้องกับการบูรณาการทางธุรกิจอย่างไร
- มีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากมิติความสามารถในการประกอบธุรกิจและการบูรณาการทางธุรกิจ คือ การขายการผลิต การเงิน และโลจิสติกส์ เข้าด้วยกันเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในส่วนของผลิตภัณฑ์และสารสนเทศ
3. ผู้จัดหาวัสดุเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตสินค้าจัดอยู่ในโครงสร้างใดของโซ่อุปทาน
- โครงสร้างของโซ่อุปทาน (แหล่งต้นทาง)
4.การขายหนังสือบนเว็บที่มีจัดส่งเนื้อหาในรูปแบบดิจิทัล ประกอบด้วยสายงานใดบ้างภายใต้โซ่อุปทาน
- รายงานด้านสารสนเทศและสายงานด้านการเงิน
5. บุลวิป เอฟเฟก คือปัญหาเรื่องใดภายใต้โซ่อุปทานจงอธิบาย
- จากความไม่แน่นอนซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การพยากรณ์ความต้องการสินค้าและบริการของลูกค้า และความไม่แน่นอนด้านระยะยเวลาการขนส่งสินค้าและความไม่แน่นอนจากการตั้งค่าระดับสินค้าคงเหลือของชิ้นส่วนที่ใช้ภายใต้โซ่อุปทาน
6. อาร์เอฟดีไอ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการจัดการโซ่อุปทานอย่างไร
- คือ กิจการจะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายและผู้ผลิตโดยองค์การจะให้ผู้จัดหารายใหญ่แนบป้ายระบุความถี่วิทยุ ติดกับแท่นวางสินค้าหรือกล่องสินค้าในระหว่างที่ขนส่งสินค้ามายังองค์การและใช้ป้ายนี้เป็นเครื่องมือสื่อสารข้อมูลการขนส่งสินค้าภายในองค์การ รวมทั้งการนำเสนอสารสนเทศด้านสินค้าคงเหลือต่อหุ้นส่วนธุรกิจและผู้จัดหาทุกระดับชั้นอันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ

7.จงยกตัวอย่างสื่อที่ใช้ภายใต้ระบบประยุกต์ด้านสัมผัสลูกค้า
- ระบบการสื่อสารด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์คือ ระบบที่มุ่งเน้นในการที่จะได้ลูกค้ามาและธำราลูกค้าเหล่านั้นไว้ เป้นต้น
8. จงยกตัวอย่างบริการขั้นพื้นฐานของ อี – ซีอาร์เอ็ม
- ตัวอย่างขั้นพื้นฐานของ อี – ซีอาร์เอ็ม เช่น อีเมล เครื่องปลายทาง ณ จุดขาย ศูนย์บริการทางโทรศัพท์และการขายตรงเพื่อจัดการงานด้านลูกค้าสัมพันธ์ การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล และการออกแบบโปรแกราด้านความจงรักภักดีต่อผลิตภัณฑ์
9. ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กรอย่างไร
- เนื่องจากระบบสารสนเทศการจัดการความรู้ประกอบไปด้วยความรู้และความชำนาญ ซึ่งความรู้เหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงานที่มักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เฉกเช่นกับการวางแผนทรัพยากรองค์การ คือ การนำเทคโนโลยีในด้านต่างๆมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนทางธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจมีความประสบผลสำเร็จตามวัตถุปรสงค์ที่ตั้งไว้
10. การแพร่กระจายความรู้ทั่วทั้งองค์การ จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านใดบ้าง
- เทคโนโลยีด้านเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล

สรุปบทที่ 10

บทที่ 10 ระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัตน์
1. ความหมาย
ระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัตน์ คือ ระบบที่มีการเชื่อมโยงระบบสารสนเทศต่างๆ เข้าด้วยกัน อาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีด้านเครือข่ายและสื่อสารข้อมูลเข้าร่วมด้วยเพื่อให้เกิดการแพร่กระจายสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยเฉพาะในส่วนของกิจกรรมด้านโซ่อุปทานและการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ตลอดจนการใช้สารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจทางธุรกิจในระดับสูง
2. วิวัฒนาการ
ธุรกิจได้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อจัดการงานตามสายงานของโซ่อุปทานเพื่อทดแทนการทำงานภายใต้ระบบมือที่ล่าช้าและมักเกิดข้อผิดพลาดอยู่เสมอ มีการใช้ซอฟแวร์ด้านการจัดการสินค้าคงเหลือ การจัดสรรทรัพยากรและวัสดุ เพื่อช่วยเร่งกระบวนการทำงานให้เร็วขึ้น อีกทั้งยังมีผลให้ลดต้นทุนและลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้ด้วย แต่การทำงานคงจำกัดอยู่บนเฉพาะพื้นที่งานที่เกี่ยวข้องและมีความเป็นอิสระจากพื้นที่งานอื่นๆ
ดังนั้นจึงมีการพัฒนาแบบจำลองด้านการวางแผนความต้องการวัสดุขึ้น โดยเกิดจากการรวมตัวของงานด้านการผลิต การจัดซื้อ การจัดการสินค้าคงเหลือ ตลอดจนการมรปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ อันจะส่งผลถึงการลดต้นทุนการดำเนินงานและการเพิ่มสมรรถนะของระบบคอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้น ทั้งยังมุ่งเน้นงานด้านการปรับปรุงข้อมูลรายวันด้วย ดังนั้นจึงมีการพัฒนาโปรแกรมการวางแผนความต้องการวัสดุ (เอ็มอาร์พี) วางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในตลาดซอฟแวร์เพื่อใช้ประโยชน์ในการลดระดับสินค้าคงคลังและการปรับปรุงงานด้านต่างๆของโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
วิวัฒนาการขั้นต่อไป คือ การบูรณาการระบบสารสนเทศตามหน้าที่งานของธุรกิจเข้าด้วยกัน นำไปสู่การวางแผนทรัพยากรองค์กร (อีอาร์พี) มีฟังก์ชันการทำงานที่เพิ่มขึ้นของเอ็มอาร์พี II ด้วยการเชื่อมต่อระบบประมวลผลธุรกรรม (ทีพีเอส) เข้ากับระบบสารสนเทศตามหน้าที่งานแนวไขว้
3. การบูรณาการด้านซอฟแวร์
องค์การจำเป็นต้องมีการบูรณาการด้านซอฟแวร์ของระบบสารสนเทศใน 2 รูปแบบดังนี้
3.1 การบูรณาการภายในองค์การ หมายถึง การรวมตัวของระบบประยุกต์ด้านต่างๆ
3.2 การบูรณาการภายนอกองค์การหมายถึง การรวมตัวของระบบประยุกต์และฐานข้อมูลระหว่างธุรกิจ
ระบบวิสาหกิจ
ระบบสารสนเทศที่เป็นตัวแทนของระบบสารสนเทศยุคโลกาภิวัตน์ ชื่อเต็มว่า ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ ซึ่ง Turban et al จำกัดความไว้ว่า ระบบวิสาหกิจคือ ระบบหรือกระบวนการที่มีความเกี่ยวข้องกับขอบเขตงานทั่วทั้งองค์กรหรืองานมนหน้าที่หลักขององค์การ จัดเป็นระบบสารสนเทศที่มีความแตกต่างจากระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน มักถูกจำกัดขอบเขตในแต่ละแผนกหรือในแต่ละพื้นที่งานอย่างชัดเจน
O brien กล่าวไว้ว่า การดำเนินธุรกิจในปัจจบันมักจะมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบวิสาหกิจด้านหน้าที่งานแนวไขว้ คือ หน้าที่งานหนึ่งซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของสองหน่วยงาน ทั้งหน้าที่งานด้านการทดสอบตลาด อาจอยู่ในความรับผิดชอบร่วมกันของฝ่ายวิจัยและพัฒนาและฝ่ายการตลาด
Laudon and Laudon ระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์การควรจะได้ใช้จากการใช้ระบบวิสาหกิจที่มุ่งเน้นการบูรณาการกระบวนการทางธุรกิจให้อยู่ภายใต้การทำงานระบบเดียว ผลประโยชน์เหล่านี้จะอยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงมิติต่างๆ ดังนี้
มิติที่ 1 โครงสร้างองค์กร
มิติที่ 2 กระบวนการจัดการที่มุ่งเน้นการจัดการฐานความรู้ทั่วทั้งองค์กร
มิติที่ 3 แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่มีการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว
มิติที่ 4 ความสามารถในการประกอบธุรกิจ
ระบบสารสนเทสด้านการจัดการโซ่อปทาน
โซ่อุปทาน หมายถึง สายงานทางด้านวัสดุ สารสนเทศและเงินรวมทั้งบริการต่างๆ จากผู้จัดหาวัตถุดิบซึ่งไหลผ่านโรงงาน โดยมีการสร้างและส่งมอบสินค้าและบริการแก่ลูกค้าโดยหมายรวมถึงภาระหน้าที่งานด้านต่างๆ
การจัดการโซ่อุปทานหรือ เอสซีเอ็ม คือ การวางแผนการจัดโครงสร้าง และการทำให้เกิดผลที่ดีที่สุดต่อกิจกรรมใดๆ ของโซ่อุปทาน มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนแนวคิดด้านการจัดการโซ่อุปทาน
โซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดการโซ่อุปทานโดยใช้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์มักใช้ร่วมกับระบบบนเว็บ มุ่งเน้นที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของโซ่อุปทานให้ดีขึ้น เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจของโซ่อุปทานแบบเดิมให้เป็นระบบที่มีการไหลของสารสนเทศอย่างต่อเนื่องภายใต้โซ่อุปทานอิเล็กทรอนิกส์ จำแนกหัวข้อย่อยได้ 6 หัวข้อ ดังนี้
1. สายงานด้านโซ่อุปทาน
Turban et al ได้จำแนกถึงสายงานด้านโซ่อุปทานออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้
1.1 สายงานด้านวัสดุ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ทางกายภาพทั้งหมด
1.2 สายงานด้านสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการวัสดุ การลำเลียง วัสดุ การรับคำสั่งซื้อ
1.3 สายงานด้านการเงิน หมายถึง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงิน การจ่ายเงินสารสนเทศ
2. โครงสร้างและระดับชั้นของผู้จัดหา
2.1 โครงสร้างของโซ่อุปทาน มีความเกี่ยวข้องกับ 3 ส่วนงานดังนี้
2.1.1 แหล่งต้นทาง คือ แหล่งวัสดุภายในองค์การหรืออาจทำการจัดหาจากผู้ขายวัสดุภายนอกองค์การ
2.1.2 แหล่งภายใน คือ แหล่งที่มีการบรรจุ การประกอบ การผลิตสินค้าและบริการเกิดขึ้น
2.1.3 แหล่งตามทาง คือ แหล่งกระจายวัสดุ อาจเป็นการกระจายโดยผู้แทนจำหน่ายภายนอกองค์การ
2.2 ระดับชั้นของผู้จัดหา คือ องค์ประกอบหนึ่งของโซ่อุปทานโดยปกติจะมีหลายระดับชั้นหรือมีเพียงระดับชั้นเดียวขึ้นอยู่กับแต่ละกระบวนการในบางกระบวนการที่ประกอบด้วยผู้จัดหาหลายระดับชั้น
3. การออกแบบโซ่อุปทาน
มีการจำแนกรูปแบบของโซ่อุปทานออกเป็น 4 ประเภท คือ การผลิตเป็นสินค้าคงคลังแบบบูรณาการ การเติมเต็มสินค้าอย่างต่อเนื่อง การผลิตตามคำสั่ง ช่องทางการประกอบชิ้นส่วน ดังนั้นในการออกแบบโซ่อุปทานธุรกิจจึงควรเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจ
สำหรับการออกแบบที่ดีจะต้องบรรลุเป้าหมายด้านการลดความไม่แน่นอนและความเสี่ยงตามสายงานของโซ่อุปทาน ดังนั้น การลดระดับสินค้าคงเหลือและเวลาที่ใช้ภายใต้วัฏจักรโซ่อุปทานโดยอาศัยการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและงานด้านการบริการลูกค้ามีผลทำให้ธุรกิจทำกำไรได้เพิ่มขึ้นและสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
4. ปัญหาด้านโซ่อุปทาน
มีสาเหตุมาจากภายในองค์การเองอันเนื่องจากความยาวและความซับซ้อนของโซ่อุปทานนั้น หรืออาจจะมีสาเหตุมาจากภายนอกองค์การรวมทั้งในกรณีที่มีสัมพันธมิตรมาเกี่ยวข้องด้วย ส่วนสาเหตุของปัญหาที่มักเกิดขึ้นในสายงานด้านโซ่อุปทานมี 2 ประการคือ
ประการที่ 1 จากความไม่แน่นอน มีปัจจัยหลายประการส่งผลต่อการพยากรณ์ความต้องการสินค้าและบริการของลูกค้าแต่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้แต่สามารถวัดความไม่แน่นอนได้ทันทีโดยใช้กลยุทธ์ด้านสารสนเทศและการสร้างแรงกระตุ้นด้านความต้องการผลิตภัณฑ์ช่วยสนับสนุน อาจเกิดจากความไม่แน่นอนด้านระยะเวลาการขนส่งสินค้าและความไม่แน่นอนจากการตั้งค่าระดับสินค้าคงเหลือของเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากโซ่อุปทาน ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนของสารสนเทศและการเปลี่ยนแปลงความต้องการผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็วจึงกระทั่งเกิดโลจิสติกส์สวนกลับหรือการส่งวัสดุหรือผลิตภัณฑ์คืนภายใต้โซ่อุปทานหรือสาเหตุหนึ่งคือ ในช่วงระหว่างการขายปลีกเกิดปัญหาด้านสินค้าคงเหลือส่วนเกินจำเป็นต้องส่งคืนกลับไปยังผู้จัดจำหน่ายเป็นทอดๆไป
ประการที่ 2 จากความต้องการประสานงานในกิจกรรมที่หลากหลายภายในหน่วยธุรกิจและหุ้นส่วนธุรกิจ อาจใช้วิธีแบ่งปันสารสนเทศมาใช้เพื่อปรับปรุงการงานภายใต้โซ่อุปทาน ช่วยลดความไม่แน่นอนดังกล่าวได้ด้วย

5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวทางปกติที่ธุรกิจนำมาใช้คือ การใช้วิธีการสินค้าคงคลังเพื่อรับประกันว่าสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าหรือชิ้นส่วนขาดมือได้ แต่อาจทำให้ต้นทุนรวมของสินค้าสูงได้ ดังนั้นองค์การจึงอาจเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยแก้ปัญหา มี 5 วิธีการดังนี้
5.1 การแบ่งปันด้านสารสนเทศ
5.2 การใช้เทคโนโลยีการกำหนดความถี่วิทยุหรือ อาร์เอฟไอดี
5.3 การเปลี่ยนโซ่อุปทานเส้นตรงเป็นฮับ
5.4 ความร่วมมือด้านโซ่อุปทาน
5.5 โรงงานเสมือน
6. ผลประโยชน์ที่ได้รับ
O brien ได้ระบุถึงประโยชน์ของเอสซีเอ็มที่มีศักยภาพต่อธุรกิจ ดังนี้
1. ธุรกิจสามารถดำเนินกิจกรรมภายใต้โซ่อุปทานได้อย่างรวดเร็ว
2. ธุรกิจสามารถลดระดับสินค้าคงคลัง
3. ธุรกิจสามารถส่งมอบสินค้าเข้าสู่ตลาด
4. ธุรกิจสามารถสร้างสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์กับผู้หาและหุ้นส่วนธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
1. แนวคิดและความหมาย
Turban et al. (2006, p. 318) นิยามไว้ว่า การจัดการลูกค้าสัมพันธ์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซีอาร์เอ็ม หมายถึง ความพยายามทั่วทั้งองค์การที่จะได้ลุกค้ามา อีกทั้งธำรงรักษาลูกค้านั้นไว้ ตระหนักว่าลูกค้าคือ แกนหลักของธุรกิจ ดังนั้น ความสำเร็จของธุรกิจจะขึ้นกับงานด้านซีอาร์เอ็มอย่างมีประสิทธิผล โดยมีการมุ่งเน้นถึงการสร้างความสัมพันธ์และการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว
O brien (2005, p. 219) ระบุถึงวัตถุประสงค์ 2 ข้อ ดังนี้
ข้อที่ 1 เพื่อสนับสนุนให้องค์การและลูกจ้างขององค์การสามารถเผชิญหน้ากับลูกค้ารายบุคคลในทุกๆมุมมองของการสัมผัสลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ
ข้อที่ 2 เพื่อสนับสนุนลูกค้ารายบุคคลให้มีภาพพจน์ที่ดีต่อบริษัท ตลอดจนมีการขยายช่องทางผ่านการจำหน่ายที่หลากหลายรูปแบบ โดย Turban et al. (2006, p. 318) ได้จำแนกประเภทของระบบประยุกต์ดังนี้
1.1 ระบบประยุกต์ด้านเผชิญหน้ากับลูกค้า
1.2 ระบบประยุกต์ด้านสัมผัสลูกค้า
1.3 ระบบอัจฉริยะด้านรวมศูนย์ลูกค้า
ดังนั้นการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดีมีประสิทธิภาพเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้จำเป็นต้องใช้ระบบประยุกต์ด้านเครือข่ายออนไลน์ เข้าร่วมด้วยซึ่งใช้เครือข่ายออนไลน์เข้าร่วมเพื่อแสวงหาโอกาสและการสร้างความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับบุคคลต่างๆ ในวงการธุรกิจ
2. รูปแบบของการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
Turban et al. (2006, p. 318) จำแนกรูปแบบหลักของการจัดการลูกค้าสัมพันธ์หรือ ซีอาร์เอ็มออกเป็น 4 รูปแบบ
2.1 ซีอาร์เอ็มเชิงกิจกรรม
2.2 ซีอาร์เอ็มเชิงปฏิบัติการ
2.3 ซีอาร์เอ็มเชิงวิเคราะห์
2.4 ซีอาร์เอ็มเชิงร่วมมือ
3. เทคโนโลยีด้านการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
3.1 ซอฟแวร์ซีอาร์เอ็ม O brien (2005, p. 219) ได้จำแนกประเภทซอฟแวร์ซีอาร์เอ็มเป็น 5 ประการดังนี้
3.1.1 การใช้ซอฟแวร์ด้านการติดต่อลูกค้า
3.1.2 การใช้ซอฟแวร์ด้านการขาย
3.1.3 การใช้ซอฟแวร์ด้านการตลาด
3.1.4 การใช้ซอฟแวร์ด้านการบริการและสนับสนุนลูกค้า
3.1.5 การใช้ซอฟแวร์ด้านการธำรงรักษาลูกค้าและสร้างโปรแกรมความจงรักภักดี
3.2 การจัดการลูกค้าสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์หรือ ซีอาร์เอ็ม โดยระบบนี้เริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่องค์การเริ่มใช้โปรแกรมค้นดูเว็บอินเทอร์เน็ตและจุดสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์
Turban et al. (2006, p. 318) ได้ทำการจำแนกขอบเขตที่แตกต่างกันของซีอาร์เอ็ม ได้ 3 ระบบดังนี้
ระดับที่ 1 การบริการขั้นพื้นฐาน
ระดับที่ 2 ศูนย์บริการลูกค้า
ระดับที่ 3 ระบบบริการลูกค้าบนเว็บ คือ การบริการลูกค้าบนเว็บสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้
3.3.1 ความสามารถด้านการค้นหาและเปรียบเทียบร้านค้าออนไลน์บนเว็บ
3.3.2 การเสนอผลิตภัณฑ์และบริการฟรี
3.3.3 การสั่งทำสินค้าและบริการ
3.4 ซีอาร์เอ็มไร้สาย สำหรับเครื่องมือซีอาร์เอ็มในระบบไร้สาย เช่น หน่วยขายอัตโนมัติเคลื่อนที่และระบบบริการลูกจ้างไร้สาย ให้บริการแก่สารสนเทศแก่ลูกจ้างในขณะที่ปฏิบัติงาน ณ สำนักลูกค้ากำลังเป็นที่นิยมตลอดจนมีการใช้เอสเอ็มเอสและอีเมล์จากโทรศัพท์มือถือเป็นตัวเสริมการทำงานด้วย
3.5 ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ เป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดของงานบริการลูกค้า ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการเผชิญหน้าขององค์การกับลูกค้า
4. ผลประโยชน์ที่ได้รับ
1. ธุรกิจสามารถบ่งชี้ถึงลูกค้าและตั้งเป้าหมายที่ดีแก่ลูกค้านั้น ก่อให้เกิดกำไรสูงสุดของธุรกิจตามมา
2. ธุรกิจสามารถสะสมลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นด้วยการสร้างงานบริการที่ก่อให้เกิดผลกำไร
3. ธุรกิจสามารถรองรับความต้องการด้านผลิตภัณฑ์และบริการส่วนบุคคลที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความต้องการ
4. ธุรกิจสามารถสร้างรายการติดต่อลูกค้าได้ทุกเมื่อที่ต้องการโดยไม่ต้องคำนึงถึงจุดติดต่อใดๆจากความต้องการของลูกค้า
5. ธุรกิจสามารถให้การสนับสนุนที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของลูกค้าด้วยบริการที่นอกเหนือจากความต้องการของลูกค้า
ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร
O brien (2005, p. 219) นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กรหรือ อีอาร์พี คือ เทคโนโลยีหนึ่ง ถือเป็นกระดูกสันหลังของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการประมวลผลธุรกรรมบริเวณกว้างของวิสาหกิจที่เชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจต่างๆ เข้าด้วยกัน
1. การบูรณาการกระบวนการทางธุรกิจหลัก
Laudon and Laudon (2005, p. 219) กล่าวไว้ว่า ระบบอีอาร์พีคือ ระบบวิสาหกิจหนึ่ง มีจุดมุ่งเน้นในส่วนของการบูรณาการตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเชื่อมโยงมอดูลต่างๆของซอฟแวร์กับฐานข้อมูลรวมขององค์การเริ่มตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดเก็บภายในบานข้อมูล การป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบประยุกต์ซึ่งใช้สนับสนุนงานเกือบทั้งหมดของกิจกรรมภายในองค์การ สารสนเทศนั้นจะถูกประมวลผลทันทีเพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับกระบวนการทางธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ระบบยังสามารถสร้างข้อมูลส่วนขยายขององค์การสำหรับการวิเคราะห์ด้านการจัดการต้นทุนและความสามารถทำกำไรของผลิตภัณฑ์ต่างๆ
การเริ่มใช้งานระบบอีอาร์พีจึงเปรียบเสมือนตัวเร่งให้ธุรกิจทำการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขององค์การให้ดีขึ้นทั้งในส่วนกระบวนการทางธุรกิจหลักและในส่วนกระบวนการทางธุรกิจของการเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศอื่น โดยอาศัยซอฟแวร์ด้านเครื่องมือที่สำคัญช่วยสนับสนุน
2. วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด
การพัฒนาซอฟแวร์ อีอาร์พี ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ด้านกระบวนการทางธุรกิจและวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดโดยซอฟแวร์จะนำเสนอทางเลือกที่เป็นแบบฉบับของธุรกิจประสบผลสำเร็จหรือทางเลือกด้านวิธีการจัดหาอุปกรณ์ใหม่ และจัดทำแผนที่กระบวนการเพื่อแสดงถึงขั้นตอนที่ต้องกระทำเพื่อให้กระบวนการถูกดำเนินอย่างสมบูรณ์แบบ
3. วิวัฒนาการด้านการพัฒนาซอฟแวร์
ซอฟแวร์ด้าน อีอาร์พี คือ สถาปัตยกรรมด้านซอฟแวร์หนึ่งเดียวหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซอฟแวร์เบ็ดเสร็จ มีการรวมตัวด้านการวางแผน การจัดการและการใช้ทรัพยากรทั่วทั้งองค์การและประกอบด้วยชุดคำสั่งของระบบประยุกต์ที่ครอบคลุมถึงการปฏิบัติงานประจำส่วนหลังโดยอัตโนมัติ ดังนั้นการใช้ซอฟแวร์อีอาร์พีจึงมุ่งสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของงานการปรับปรุงคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ จำแนกได้ 3 รุ่นดังนี้
3.1 ซอฟแวร์อีอาร์พีรุ่นที่หนึ่ง มุ่งเน้นถึงกิจกรรมภายในองค์การเป็นงานเป็นที่ทำซ้ำๆ กันในทุกๆวันทำการ โดยมีการรวมตัวของระบประยุกต์หลายๆระบบเข้าด้วยกัน
3.2 ซอฟแวร์อีอาร์พีรุ่นที่สอง มุ่งเน้นถึงการเพิ่มพลังอำนาจที่มีอยู่เดิมของระบบสารสนเทศ ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการธุรกรรมการตัดสินใจที่ดีขึ้น มีการเปลี่ยนวิถีทางการทำธุรกิจเพื่อเข้าสู่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีการรวมตัวของระบบอีอาร์พีกับระบบเอสซีเอ็มที่มุ่งเน้นงานด้านการตัดสินใจมากยิ่งขึ้น
ขั้นต่อไปของการพัฒนาซอฟแวร์อีอาร์พีรุ่นที่สองคือ การเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์และตัดสินใจมากยิ่งขึ้นจึงมีกี่เพิ่มผลิตภัณฑ์หลักในส่วนของอัจฉริยะทางธุรกิจ (บีไอ) เพื่อใช้เสริมสร้างการทำงานภายใต้โซ่อุปทานให้เกิดผลดีที่สุด
3.3 ซอฟแวร์อีอาร์พีรุ่นที่สาม มุ่งเน้นถึงการรวมตัวเข้ากับระบบบริหารโครงการ ดังนี้
1. เป็นการผสมผสานการทำงานกับหน่วยทำงานด้านโลจิสติกส์
2. เป็นการผสมผสานการทำงานของศูนย์กระจายสินค้า
3. เป็นการรองรับการเปลี่ยนแปลงแหล่งผลิตภัณฑ์ของการผลิต
4. เป็นการแบ่งปันด้านการผลิต
5. เป็นการรวมฐานทางการขาย
6. เป็นการสร้างศูนย์รวมของผู้ขายผลิตภัณฑ์
4. การบูรณาการระบบสารสนเทศ
4.1 การบูรณาการเข้ากับซอฟแวร์ด้านการจัดการโซ่อุปทาน ซอหแวร์ด้านอีอาร์พีจะมุ่งเน้นถึงวิธีการได้คำสั่งซื้อนั้นมาและการทำคำสั่งซื้อให้บรรลุผลแต่ซอฟแวร์ด้านเอสซีเอ็มจะมุ่งเน้นความเป็นไปได้ของการได้มาซึ่งคำสั่งซื้อ มีการวางแผนและการตัดสินใจภายใต้ส่วนงานต่างๆของโซ่อุปทาน ด้วยจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันนี้จึงมีการใช้ซอฟแวร์อีอาร์พีพั่อช่วยสนับสนุนการทำงานของเอสซีเอ็ม มีจุดเน้นถึงการทำงานในทุกขั้นตอนของโซ่อุปทานส่งผลให้ภาพพจน์และจุดมุ่งหมายของอค์การมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ในส่วนทางเลือกของการรวมตัวของซอฟแวร์ด้านอีอาร์พีและเอสซีเอ็มคือ การเชื่อมต่อวอฟแวร์สองตัวซึ่งถูกพัฒนาโดยผู้ขายที่ต่างกันด้วยการใช้ตัวเชื่อมต่อมิดเดิลแวร์ เพื่อช่วยลดขั้นตอนที่ซับซ้อนของการเชื่อมต่อซอฟแวร์ ทั้งรองรับด้านความต้องการดานความสอดคล้องเข้ากันได้ของซอฟแวณืที่ต่างๆ
4.2 การบูรณาการเข้ากับซอฟแวร์ของระบบวิสาหิจอื่นๆ นอกจากมีการบูรณาการอีอาร์พีเข้ากับเอสซีเอ็มแล้ว อีอาร์พียังถูกนำมาบูรณาการเข้ากับซอฟแวร์ของระบบวิสาหกิจอื่นโดยเฉพาะซอฟแวร์ของระบบอีคอมเมิร์ชและซีอาร์เอ็ม ซึ่งได้แพร่กระจายมากในการใช้งานภายในองค์การขนาดเล็ก
5. ผลประโยชน์ที่ได้รับ
O brien (2005, p. 219) นิยามไว้ว่า การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศด้านการวางแผนทรัพยากรองค์การ (อีอาร์พี) สามารถสร้างมูลค่าหลักแก่ธุรกิจดังนี้
5.1 ด้ารคุณภาพและประสิทธิภาพ
5.2 ด้านการลดต้นทุน
5.3 ด้านการตัดสินใจ
5.4 ด้านความเร็วของธุรกิจ
ระบบสารสนเทศด้านการจัดการความรู้
1.ความรู้ คือ การประมวลผลข้อมูลด้านต้นทุนที่ต่ำเพื่อเปลี่ยนรูปข้อมูลเข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศ หรือความรู้ โดยความรู้จะแตกต่างจากสารสนเทศในแง่ว่า ความรู้คือ สารสนเทศที่ได้รับการจัดบริบทให้อยู่ในรูปแบบและเนื้อหาที่ตรงประเด็น สามารถนำไปปฏิบัติได้ในทันทีที่ผ็ใช้ต้องการหรืออาจเรียกได้ว่า ความรู้ คือ สารสนเทศเชิงปฏิบัติการมีการจำแนกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
รูปแบบที่ 1 ความรู้โดยชัดเจน วัตถุประสงค์ เหตุผล เทคนิค มักอยู่ในลักษณะของนโยบาย คำชี้แนะกระบวนการ รายงาน กลยุทธ์ ภาระหน้าที่และความสามารถหลักของวิสาหกิจในการกระจายความรู้ระหว่างบุคคลและต้นทุนของการถ่ายโอนความรู้ต่ำ โดยอาจเรียกความรู้นี้ว่า ความรู้รั่วไหลเนื่องจากอาจจะถูกละทิ้งได้ง่าย
รูปแบบที่2 ความรู้โดยนัย คือ การจัดเก็บประสบการณ์ความหยั่งรู้ ความมีไหวพริบ ความลับทางการค้า ตลอดจนการเรียนรู้ในองค์การ มักจำกัดอยู่ในสมองของส่วนบุคคล มักเกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญหรือระดับความรู้ทักษะขั้นสูงซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างจากทรัพย์สินอื่นดังนี้
1. ความรู้จะเพิ่มมูลค่าขึ้นเรื่อยๆตามระดับและปริมาณของการใช้
2. ความรู้จะอยู่ในรูปแบบเป็นพลวัตซึ่งถูกเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
3. เป็นการยากที่จะประมาณการผลตอบแทนของการลงทุนด้านความรู้
4. ผลประโยชน์และความสมเหตุสมผลของความรู้ที่ได้รับอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
2. การจัดการความรู้
เป็นกระบวนการหนึ่งซึ่งช่วยองค์การในการระบุ คัดเลือก รวบรวม และโอนย้ายสารสนเทศที่มีความสำคัญประกอบด้วยความรู้และความชำนาญงานโดยจัดเก็บไว้ในฐานความรู้ขององค์การ ความรู้เหล่านี้จะช่วยแก้ปัญหาอันเกิดจากการทำงานที่มักเกการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มี 6 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความรู้
ขั้นตอนที่ 2 การจับความรู้
ขั้นตอนที่ 3 การปรับความรู้
ขั้นตอนที่ 4 การเก็บความรู้
ขั้นตอนที่ 5 การจัดการความรู้
ขั้นตอนที่ 6 การเผยแพร่ความรู้
เมื่อมีการเผยแพร่ความรู้สู่บุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การแล้วต้องมีการพัฒนาการสร้างความรู้ใหม่หรือปรับความรู้เก่าอยู่เสมอ ดังนั้นความรู้จะไม่มีวันหมดสิ้นและมีอายุการใช้งานนานโดยผ่านกระบวนการปรับความรู้ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ มี 3 กิจกรรมดังนี้
กิจกรรมที่1 การสร้างความรู้
กิจกรรมที่ 2 การใช้ความรู้ร่วมกัน
กิจกรรมที่ 3 การแสวงหาความรู้
3. ระบบการจัดการความรู้หรือ เคเอ็มเอส ประกอบด้วยกลุ่มของเทคโนโลยี 3 กลุ่ม ดังนี้
3.1 กลุ่มเทคโนโลยีด้านการสื่อสารคือ สื่อกลางที่ยินยอมให้ผู้ใช้เข้าถึงความรู้และสื่อสารความรู้นั้นกับบุคลอื่นโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ
3.2 กลุ่มเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลุ่มกรุ๊ปแวร์ คือ การปฏิบัติงานของกลุ่มร่วมงานหนึ่งในเวลาเดี่ยวกันหรือต่างเวลา
3.3 กลุ่มเทคโนโลยีด้านการจัดเก็บและค้นคืนข้อมูล อยู่ภายใต้ของการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลเพื่อการจับ จัดเก็บ และจัดการความรู้ส่วนต่างๆ
4. เทคโนโลยีด้านการจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการจัดการความรู้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
4.1 ปัญญาประดิษฐ์ คือ ระบบผู้เชี่ยวชาญโครงข่ายเส้นประสาทระบบเหล่านี้จะอยู่รวมตัวกันในเคเอ็มเอส เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ทั้งในส่วนของการเพิ่มสมรรถนะของการค้นหาความรู้ การกราดตรวจอีเมล์ เพื่อพยากรณ์ผลลัพธ์ในอนาคตมีการกำหนดความสัมพันธ์ของความรู้ด้วยวิธีปัญญาประดิษฐ์ ชี้ให้เห็นรูปแบบข้อมูลด้วยระบบโครงข่ายเส้นประสาท มีการนำกฏเกณฑ์ที่ใช้สำหรับระบบผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้ข้อคิดเห็นด้านความรู้ผ่านระบบโครงข่ายเส้นประสาทและระบบผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งมีการใช้พลังเสียงเพื่อสั่งงานด้วยการประมวลภาษา ธรรมชาติที่ต่อประสานเข้ากับเคเอ็มเอส
4.2 โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ คือ ระบบซึ่งช่วยรียนรู้และช่วยเหลืองานของผู้ใช้ในแต่ละวัน
Turban et al. (2006, p. 318) ระบุถึงทางเลือกที่ใช้โปรแกรมเป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ ดังนี้ 1. บรีษัท ไอบีเอ็ม จำกัด เสนอโปรแกรมทำเหมืองข้อมูลอัจฉริยะรวมถึงแม่ข่ายการตัดสินใจสำหรับการค้นหา
2. บริษัท เจนเทีย จำกัด ใช้โปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะเพื่อการสนับสนุนด้านการทำเหมืองข้อมูลบนเว็บ
3. บริษัท คอนเวนติส จำกัด ใช้โครงข่ายเส้นประสาทเพื่อค้นหาข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความหมายของเอกสารสำหรับโปรแกรมตัวแทนอัจฉริยะ
4.3 การค้นหาความรู้ในฐานข้อมูล คือ กระบวนการซึ่งใช้ค้นหาและสกัดสารสนเทศที่มีประโยชน์จากข้อมูลและเอกสารซึ่งรวมงานด้านการสกัดความรู้ด้านต่างๆ ตลอดจนการเก็บเกี่ยวสารสนเทศโดยมีการดำเนินการอย่างอัตโนมัติ
4.4 ภาษาเอกซ์เอ็มแอล คือ ภาษาที่แสดงมาตรฐานของโครงสร้างข้อมูลเพื่อการประมวลผลข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมประมวลผล วิธีนี้เหมาะสำหรับการใช้ระบบประยุกต์ด้านอิเล็กทรอนิกส์ มักจะดำเนินการข้ามขอบเขตขององค์การประโยชน์ของการใช้ภาษาเอกซ์เอ็มแอลนอกจากจะเป็นการประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติและลดปริมาณงานที่เป็นกระดาษลงแล้วยังเป็นการสนับสนุนระบบพันธมิตรทางธุรกิจอีกด้วย
5. ศูนย์รวมความรู้วิสาหกิจ
คือ ประตูที่เปิดเข้าสู่เคเอ็มเอสโดยมีวิวัฒนาการมาจากระบบสนับสนุนผู้บริหาร ระบบสนับสนุนกลุ่มร่วมงาน โปรแกรมค้นดูเว็บและระบบจัดการฐานข้อมูล ปกติแล้วบุคคลใช้เวลาถึง 30% ของเวลาทั้งหมดค้นหาสารสนเทศ ดังนั้น ศูนย์รวมความรู้วิสาหกิจจึงถูกนำมาใช้เพื่อการเสนอจุดเข้าถึงสารสนเทศเพียงจุดเดียวสำหรับความรู้โดยชัดเจน

6. การบูรณาการระบบสารสนเทศ
การพัฒนาเคเอ็มเอสบนแพลตฟอร์มที่ประกอบด้วย การสื่อสาร การร่วมมือกัน และเทคโนโลยีหน่วยเก็บข้อมูล โดยใช้แพลตฟอร์มเดียวกับระบบสารสนเทศอื่นหรือไม่ก็ได้ แต่สามารถใช้ความรู้ร่วมกันจากศูนย์รวมความรู้วิสาหกิจเพื่อการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นสากลโดยใช้สารสนเทศและความรู้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ดังนี้
6.1 การบูรณาการเข้ากับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
6.2 การบูรณาการเข้ากับปัญญาประดิษฐ์
6.3 การบูรณาการเข้ากับฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศอื่น
6.4 การบูรณาการเข้ากับซีอาร์เอ็ม
ระบบสารสนเทศด้านอัจฉริยะทางธุรกิจ
1. ความหมาย
Turban et al. (2006, p. 318) นิยามไว้ว่า อัจฉริยะทางธุรกิจ คือ ระบบประยุกต์ประเภทหนึ่งประกอบด้วยการใช้เทคนิคด้านการรวบรวม การจัดเก็บ การวิเคราะห์ รวมทั้งการสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลโดยผู้ใช้สารสนเทศ เพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดยมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลจากโกดังข้อมูล
การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลดำเนินงานขององค์การ มีการใช้ซอฟแวร์เป็นเครื่องมือรวบรวมสารสนเทศที่กระจัดกระจายอยู่ในหลายๆระบบ อาจจะไม่มีความเกี่ยวข้องกันได้โดยการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลการดำเนินงานอย่างอัตโนมัติและผู้ใช้สารสนเทศสามารถสอบถามข้อมูลและออกรายงานทั้งในรูปแบบรายงานข้อมูล รายงานพยากรณ์ รายงานกระตุ้นผู้ใช้ และการนำเสนอด้วยกราฟ
Gelinas et. Al 1(2002, 149) นิยามไว้ว่า อัจฉริยะทางธุรกิจ คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการสำหรับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างเพื่อการค้นคืนและการวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนแปลความหมายสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ โดยระบบจะสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้อีกทั้งรองรับการสอบถามข้อมูลตามความต้องการตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในด้านการจัดหาข้อมูลและแบบจำลองข้อมูลผ่านการใช้เครื่องมือด้านการประมวลผลเชิงวิเคราะห์ออนไลน์หรือ โอแลป เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก
2. เครื่องมือและเทคนิค
จำเป็นต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคที่หลากหลายในส่วนของระบบประยุกต์หลักที่รวมกิจกรรมการสอบถามข้อมูลและการรายงานผลเข้าด้วยกันกับโอแลปดีเอสเอส ดอตคอม รวมทั้งผู้ขายรายย่อยอื่นๆ โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ 1 การค้นพบความรู้และสารสนเทศโดยการนำความรู้และสารสนเทศที่ได้รับมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มที่สอง
กลุ่มที่ 2 การสนับสนุนการตัดสินใจและการตัดสินใจเชิงอัจฉริยะ โดยการใช้ซอฟแวร์ด้านระบบอัจฉริยะเป็นเครื่องมือทั้งสองกลุ่มข้างต้นจะใช้เครื่องมือและเทคนิค
3. การประยุกต์ใช้งาน
3.1 การใช้บีไอด้านการวิเคราะห์สารสนเทศ สามารถปฏิบัติการสอบถามข้อมูลหลายระดับชั้นโดยการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลและออกรายงานเจาะลึกรายละเอียดเพื่อค้นหาสาเหตุสินค้าบางรายการถูกจัดเก็บในคลังสินค้ามากเกินความจำเป็นหรือค้นหาสินค้าขายดี โดยใช้ข้อมูลขายของงวดกิอนหน้านี้ใช้ซอฟแวร์ช่วยวางแผนการส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าที่จัดเก็บในคลังมากเกินไปให้สามารถจำหน่ายออกไปไดในปริมาณเท่ากับสินค้าขายดีนั่นเอง
3.2 การใช้บีไอเพื่อการพยากรณ์ยอดขาย ใช้บีไอเพื่อนำเสนอความต้องการของลูกค้าในส่วนของรูปแบบพิซซ่า การใช้คูปองของลูกค้าตลอดจนช่วงเวลาที่สั่งซื้อเพื่อช่วยพยากรณ์ความเป็นไปได้ในการสั่งซื้อพิซซ่าครั้งต่อไปและการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่มุ่งชักนำให้ลูกค้าสั่งซื้อพิซซ่ามากยิ่งขึ้น
อ้างอิง : ผศ.รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์ สารสนเทศทางธุรกิจ ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด มหาชน

การใช้ ICT พัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบราชการ

นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบราชการ โดยปฏิรูประบบราชการเริ่มจากการปรับโครงสร้างหน่วยงานการบริหารระบบราชการ และมีมาตรการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะการพัฒนาและบริหารกำลังคนนั่นคือ ข้าราชการ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ เป็นพลังผลักดันและขับเคลื่อน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT : Information and Communication Technology) เข้ามาใช้ในการพัฒนาและบริหารกำลังคน จึงต้องมีความเข้าใจถึงรากฐานตั้งแต่นโยบาย ICT ของประเทศ และนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
การใช้ ICT เพื่อพัฒนาบุคลากร , การใช้ ICT เพื่อการบริหารกำลังคน , การใช้ ICT เพื่อพัฒนาการบริการ , อุปสรรคการนำ ICT มาใช้ในการพัฒนาและบริหารกำลังคน ซึ่งแต่ละประเด็นล้วนมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน อันจะส่งผลไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบราชการโดยรวม
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
รัฐบาลได้มีการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญไว้ 5 กลุ่ม คือ
· เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government)
· เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e-Commerce)
· เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม (e-Industry)
· เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (e-Education)
· เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านสังคม (e-Society)
e-Government เป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ G to G (Government to Government) หน่วยงานภาครัฐต่อภาครัฐ , G to B (Government to Business) หน่วยงานภาครัฐต่อภาคธุรกิจ และ G to C (Government to Citizen) หน่วยงานภาครัฐต่อภาคประชาชน โดยมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลแห่งชาติ PMOC (Prime Minister Operation
Center) , MOC (Ministerial Operation Center) , POC (Provincial Operation Center) , DOC (Department Operation Center)
เป้าหมายสูงสุดของรัฐก็คือ ต้องการให้ประชาชนทุกคนมี Smart Card ที่สามารถแสดงข้อมูลของประชาชนทุกคนในประเทศได้ (สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี, 2546) เมื่อนำกลยุทธ์ทั้ง 5 นี้มาดำเนินการ โดยประสานสัมพันธ์และเชื่อมโยงการดำเนินการของแต่ละกลุ่มด้วยการวางแผนและการปฏิบัติที่รอบคอบ บนพื้นฐานของปัจจัยสำคัญอีกสามด้านที่จะเป็นสื่อนำไปสู่เศรษฐกิจและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ คือ การสร้างทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและอุตสาหกรรมสารสนเทศ เชื่อว่าในสิบปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีการพัฒนาไปสู่เป้าหมายข้างต้นได้อย่างเหมาะสม ยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้
กำหนดยุทธศาสตร์หลักทั้ง 7 ด้าน ได้แก่
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาอุตสาหกรรม ICT เพื่อให้เป็นผู้นำในภูมิภาค
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT เพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยและสังคม ไทย
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปฏิรูปและการสร้างศักยภาพเพื่อการวิจัยและพัฒนา ICT
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การยกระดับศักยภาพพื้นฐานของสังคมไทยเพื่อการแข่งขันในอนาคต
5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเพื่อมุ่งขยายตลาดต่างประเทศ
6. ยุทธศาสตร์ที่ 6 การส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมใช้ ICT
7. ยุทธศาสตร์ที่ 7 การนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการบริหารและการให้บริการของภาครัฐ
เป้าหมายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ เป็นเป้าหมายที่ครอบคลุมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐทั้งในการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยเป้าหมายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ มี 2 เป้าหมายหลักคือ
1. ระบบบริหาร (Back Office) ประกอบด้วยงานสารบรรณ งานพัสดุ งานบุคลากร งานการเงินและบัญชี และงานงบประมาณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจรภายในปี พ.ศ.2547
2. ระบบบริการ (Front office) ตามลักษณะงานของหน่วยงานต่าง ๆ ให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ร้อยละ 70 ภายในปี พ.ศ.2548 และครบทุกขั้นตอนภายในปี พ.ศ.2553
บทสรุป
นโยบายของรัฐให้ความสำคัญในการนำ ICT เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการและการบริการ ในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรทางด้านต่าง ๆ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ให้มากขึ้น การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการและการบริการของรัฐสามารถนำเอา ICT เข้ามาใช้ได้ในทุกด้าน แม้จะยังมีปัญหาอุปสรรคอยู่มากในหลาย ๆ ด้าน แต่ระบบราชการคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการนำ ICT เข้ามาช่วยในงานทุกส่วน เพื่อความทันสมัย ความสะดวกและรวดเร็วในการพัฒนาระบบราชการจะเกิดประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ถ้าได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้โดยเฉพาะพัฒนาข้าราชการอันเป็นหัวใจของระบบราชการทั้งหมด

วารสารวิทยบริการ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2548 หน้า 48-61
ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข (ค.ด.เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)
หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
prachyanun@hotmail.com http://www.prachyanun.com
ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 9

แบบฝึกหัดบทที่ 9
1. จงอธิบายแนวทางการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีมาพอเข้าใจ
- แนวทางการใช้สารสนเทศทางการบัญชี คือ การรายงาน การวิเคราะห์ต้นทุนต่างรายงานงบประมาณ เป็นต้นซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งของการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การและเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการดำเนินงานและการตัดสินใจทางธุรกิจด้วย
2. จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีภายนอกองค์กรมาสัก 2 ตัวอย่าง
- ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีภายนอกองค์การ คือ ผู้ที่ทำการบัญชีในภาคเอกชนหรือห้างร้านต่างๆ ที่ไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้ดูแล
3. หากท่านดำเนินธุรกิจร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะติดตั้งใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีหรือไม่ อย่างไร
- เลือก เนื่องจากสามรถเก็บข้อมูลได้ทั้งขั้นต้นและขั้นปลายอีกทั้งยังสามารถลดการใช้ปริมาณกระดาษได้เนื่องจากธุรกิจใช้ระบบการจัดเก็บเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์และช่วยเพิ่มความรวดเร็วในด้านการรับส่งข้อมูล
4. หากธุรกิจแห่งหนึ่งมีการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ได้รับการประกันความถูกต้องของข้อมูล ท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
- 1. ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรขาดทุนที่แท้จริง
2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
3. เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
4. เป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
5. ท่านคิดว่าเอกสารทางการบัญชีของระบบประมวลผลด้วยมือ และแฟ้มข้อมูลของระบบประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- มีความสัมพันธ์กัน คือ เป็นการทำบัญชีที่เหมือนกันแต่จะแตกต่างตรงที่ว่าการทำบัญชีด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นการนำระบบโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีมาใช้ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการทำให้ยุ่งยาก ซึ่งต่างกับการบันทึกบัญชีด้วยมือ

6. เพราะเหตุใดรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานทางการเงิน
- เนื่องจากในการลงบันทึกการบัญชีจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการซื้อขาย แลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะในการจัดทำบัญชี ธุรกิจจะต้องจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งส่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนกันเพื่อที่จะได้นำตัวเลขที่ได้มาทำการคำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง
7. จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคต
- ในอนาคตของระบบสารสนเทศทางการบัญชีอาจมีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในองค์การมากขึ้นเนื่องจากสะดวก รวดเร็วและยังสามารถป้องกันความผิดพลาดได้ด้วย
8. หากธุรกิจมีการเสนองบการเงิน ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลด้านการวิเคราะห์อัตราส่วนเพิ่มเติมด้วยจะถือเป็นรายงานทางเงินหรือรายงานทางการบริหาร
- รายงานทางการบริหาร
9. การเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจจะได้รับข้อมูลจากระบบงานใดบ้าง
- 1. ระบบสารสนเทศทางการผลิต
2. ระบบสารสนเทศทางการตลาด
3. ระบบสารสนเทศทางการเงิน
4. ระบบสารสนเทศทางการเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
5. ผู้จัดการงานบัญชี
6. ผู้ใช้รายงาน
10. เพราะเหตุใดธุรกิจจึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การร่วมกับการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
- ทราบถึงข้อมูลภายในองค์การเพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปลงข้อมูลทางการบัญชีได้อย่างถูกต้อง

สรุปบทที่ 9

บทที่ 9 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
แนวคิดและความหมาย
Romney and Steinbart (2003, p.2) จำกัดความไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ ระบบการทำงานระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และนโยบายของบริษัท เน้นถึงการใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักดังนี้
1. การเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ
2. การประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ และการควบคุม
3. การจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้
สามารถจัดแบ่งประเภทของผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีได้2 ประเภท
ประเภทที่ 1 ผู้ใช้ภายในธุรกิจประกอบด้วยบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายต่างๆ
ประเภทที่ 2 ผู้ใช้ภายนอกธุรกิจหรือผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจ
การบัญชี
1. ความหมาย
เอฟเอเอสบี (FASB, อ้างถึงใน พลพธู ปิยวรรณ และสุภาพร เชิงเอี่ยม , 2545, หน้า 5) ระบุว่า การบัญชี คือ ระบบสารสนเทศระบบหนึ่ง มีหน้าที่เก็บรวบรวม บันทึกและจัดเก็บรายการค้าและเหตุการณ์ทางธุรกิจต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานที่เกิดขึ้น พร้อมมีการนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ
จากความหมายข้างต้นการบัญชี คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้มือจัดทำบัญชีก็ได้ มี 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การจดบันทึก คือ การลงบันทึกความจำซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นของแต่ละวัน
ขั้นตอนที่ 2 การจำแนก คือ การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในสมุดรายวันในจำแนกหมวดหมู่หรือแยกประเภทบัญชีในสมุดขั้นปลาย
ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผล คือ การนำข้อมูลที่ผ่านการจำแนกประเภทมาสรุปผลเป็นรายงานทางการเงินหรืองบการเงินภายในงวดเวลาบัญชีหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และแปลความหมาย คือ การนำข้อมูลซึ่งสรุปผลในรายงานทางการเงินมาทำการวิเคราะห์ในรูปของร้อยละ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาแปลความหมายและนำเสนอผลการวิเคราะห์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ
2. การจำแนกประเภท
สามารถจำแนกประเภทการบัญชีได้เป็น 2 หมวดคือ
2.1 การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีที่อยู่ภายใต้วัฎจักรการบัญชี มีการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีขั้นพื้นฐานของธุรกิจเริ่มตั้งแต่ การจัดเก็บรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งบรรจุรายการเปลี่ยนแปลงทางการค้า ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นหรือสมุดรายวันและผ่านรายการบัญชีไปยังสมุดแยกประเภท จากนั้นจึงทำการสรุปยอดคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นงวดเวลาบัญชีก็จะดำเนินการปรับปรุงรายการบัญชีบางประเภท หลังจากนั้นจึงจัดทำงบกำไรขาดทุนพร้อมทั้งดำเนินการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของและทำการปรับงบทดลองหลังปิดบัญชี
2.2 การบัญชีบริหาร คือ การนำข้อมูลบัญชีการเงินมาทำการจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานตามความต้องการของผู้ใช้ กำหนดรูปแบบของรายงานไม่มีความชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รายงานหรือผู้บริหารระดับต่างๆ ขององค์การโดยส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของรายงานผลการดำเนินงาน
3. หลักการบัญชี คือ มีการนำเสนอสารสนเทศทางการที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของผู้ใช้งบการเงิน ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต้องคำนึงถึงการเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่เหมาะสมและมีความสอดคล้องกับผลักบัญชีที่รับรองทั่วไป สามารถสรุปสาระสำคัญของหลักการบัญชีได้ดังนี้
3.1 หลักการดำรงอยู่ของกิจการ
3.2 หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ
3.3 หลักงวดเวลาบัญชี
3.4 หลักการจำแนกประเภทบัญชี จำแนกออกเป็น 5 หมวดดังนี้
3.4.1 สินทรัพย์ หมายถึงทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของธุรกิจและสามารถนำไปใช้ในอนาคตสินทรัพย์บางชนิดอาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนทรัพยากร
3.4.2 หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกในปัจจุบันที่ส่งผลมาจากการกู้ยืมเงินในอดีต มีสัญญาว่าจะมีการชำระหนี้สินหรือภาระผูกพันนั้นในอนาคต
3.4.3 ส่วนของเจ้าของ หมายถึง จำนวนเงินลงทุนในธุรกิจอีกนัยหนึ่งคือ ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังจากที่มีการหักหนี้สินออกแล้ว
3.4.4 รายได้ หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ขายได้ในระหว่างงวดเวลาบัญชี รวมถึงรายได้กำไรที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ อาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
3.4.5 ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนของทรัพยากรที่ใช้ไปในการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างเวลางวดเวลาบัญชี รวมถึงรายการขาดทุนที่แสดงถึงการลดลงของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอาจจะเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
3.5 หลักการบัญชีคู่ คือ การบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงสองครั้งหรือการอ้างอิงถึงตัวเลขทางการเงินของรายการค้าถึงสองครั้งโดยครอบคลุมไปถึง การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันและสมุดแยกประเภทคือ
3.5.1 ด้านเดบิต
3.5.2 ด้านเครดิต
3.6 หลักการใช้หน่วยเงินตรา หน่วยเงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการและยังใช้เป็นหน่วยวัดราคาอีกด้วย ดังนั้น หน่วยเงินตราจะแสดงถึงตัวเลขที่เป็นตัวเลขเพื่อใช้วัดผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของธุรกิจในประเทศไทยจะใช้หน่วยเงินบาทและสตางค์
3.7 หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม คือ เอกสารขั้นต้นเช่น ใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานก่อนการบันทึกรายการบัญชีที่เกิดขึ้นจริง
3.8 หลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือ
3.8.1 เกณฑ์เงินสด รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีการรับเงินสดเข้ากิจกาหรือจ่ายเงินสดออกจากกิจการ
3.8.2 เกณฑ์คงค้าง รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นแม้ว่าจะไม่มีการรับหรือจ่ายเงินสดก็ตามสามารถยกตัวอย่างเพื่ออธิบายดังนี้
1.การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะรับรู้รายได้เป็นงวดบัญชีที่มีการขายเกิดขึ้นจริงเท่านั้น
2. การจ่ายชำระค่าไฟฟ้าของเดือนมีนาคมแต่จ่ายชำระจริงในเดือนเมษายนก็จะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายในเดือนมีนาคม
3.9 หลักการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย การนำรายได้ที่เกิดขึ้นของงวดเวลาบัญชีนั้นทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้นั้นจึงจะได้ตัวเลขกำไรขาดทุนที่แท้จริง
3.10 หลักการด้อยค่าของสินทรัพย์ มีการประมาณอายุใช้งานของสินทรัพย์ตลอดจนมีการตัดจ่ายต้นทุนของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งปรากฏในกำไรขาดทุน
สารสนเทศทางการบัญชี
1.แนวคิด
สารสนเทศทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากรและในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆรายงานงบประมาณ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลักฐานทางการเงิน ดังนี้
1. ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์การ
2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
3. ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
4. ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้
2. การจำแนกประเภท แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
2.1 เอกสารทางการบัญชี คือ หลักฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้บันทึกรายการบัญชีมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เอกสารที่ระบุแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจนกระทั่งเอกสารที่ใช้บันทึกข้อมูลก่อนที่จะออกงบการเงินจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้
2.1.1 เอกสารขั้นต้น เอกสารใช้สำหรับการลงบัญชีและการบันทึกรายการเริ่มตั้งแต่การเกิดรายการค้า
2.1.2 สมุดรายวัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมุดบัญชี คือ เอกสารที่นำมาใช้สำหรับการบันทึกบัญชีในระบบมือ
2.1.3 บัญชีแยกประเภท เอกสารที่ได้จากการผ่านรายการบัญชีจากสมุดรายวันโดยมีการจำแนกหมวดหมู่บัญชีที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 งบทดลอง เอกสารที่แสดงยอดคงเหลือในบัญชีทุกบัญชีของบัญชีแยกประเภท
2.2 รายงานทางการเงิน คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงิน หรือระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
2.2.1 งบการเงิน รายงานที่แสดงผลการดำเนินฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการแบ่งได้ดังนี้
1. งบดุล แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
2. งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจ
3. งบกระแสเงินสด งบแสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด
4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดจากรายการและตัวเลขที่แสดงในงบการเงินประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
1. เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน
2. นโยบายการบัญชีที่ธุรกิจเลือกใช้ของแต่ละหัวข้อบัญชี
3. ข้อมูลส่วนอื่น
2.2.2 รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 3 รูปแบบดังนี้
1.รายงานภาษีขายเป็นรายงานที่กำหนดให้ธุรกิจบันทึกภาษีขายที่ธุรกิจพึงเรียกเก็บจากลูกค้า
2. รายงานภาษีซื้อ รายงานที่ธุรกิจบันทึกภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากธุรกิจผู้จำหน่ายสินค้า
3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ แสดงสินค้าที่ได้มาและจำหน่ายไป
2.3 รายงานทางการบริหาร คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการนำสารสนเทศที่ไดจากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ตัดสินใจทางการดำเนินงานและการบริหารภายในองค์การ การกำหนดรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้
2.3.1 รายงานด้านงบประมาณ
2.3.2 รายงานด้านการบัญชีต้นทุน
2.3.3 รายงานวิเคราะห์งบการเงิน
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
Hall ระบุถึง การรวมตัวของระบบย่อยของระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3 ระบบดังนี้
1. ระบบประมวลผลธุรกรรม คือ ระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจประจำวัน
2. ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานทางการเงิน
3. ระบบรายงานทางการบริหาร คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานที่ใช้ภายในองค์การ
ระบบประมวลผลธุรกรรมจะมีการจำแนกธุรกรรมที่เป็นตัวเงินขั้นพื้นฐานทางการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการเงิน ผ่านรายการเข้าสู่ระบบบัญชีแยกประเภททำการปรับยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผลเพื่อออกรายงานทางการเงินเมื่อสิ้นงวดวันออกบัญชี การประมวลสารสนเทศทางการบัญชีที่เป็นผลลัพธ์จากบัญชีแยกประเภทเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร สามารถแยกได้ 5 ระบบดังนี้
1. ระบบประมวลผลธุรกรรม มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและเกิดขึ้นซ้ำๆ ในแต่ละวันทำการ การเกิดขึ้นซ้ำของธุรกรรมนี้เรียกว่า วัฏจักรรายการค้า
พลพธู ปิยวรรณ และสุภาพรรณ เชิงเอี่ยม จำแนกวัฏจักรรายการค้าเป็น4 ประเภทคือ
1.1 วัฏจักรรายจ่าย ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
1. การสั่งซื้อละรับสินค้า
2. การควบคุมเจ้าหนี้และเงินสดจ่าย
3. การซื้อสินทรัพย์ถาวร
4. การจ่ายเงินเดือนพนักงาน
1.2 วัฏจักรรายได้ ที่ก่อให้เกิดรายรับเข้าธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
1. การขายและจัดส่งสินค้า
2. การแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน
3. การควบคุมลูกหนี้และรับชำระเงิน
1.3 วัฏจักรการแปลงสภาพ ที่ก่อให้เกิดการแปลงสภาพทรัพยากรวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปตามคำสั่งผลิตของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
1. การควบคุมวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ
2. การผลิต
3. การคำนวณต้นทุนการผลิต
1.4 วัฏจักรการบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสินทรัพย์ของธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
1. การควบคุมเงินสด
2. การควบคุมสินทรัพย์
2. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจ
ลำดับแรกของการเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจภายใต้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นต้องจัดเตรียมผังบัญชีที่แสดงการจัดหมวดหมู่บัญชีภายใต้การดำเนินงานของธุรกิจอย่างเป็นระเบียบกระบวนการของระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจอธิบายได้โดยใช้แผนภาพกระแสข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่นๆโดยการรับเข้าธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจากระบบสารสนเทศอื่น เพื่อมาประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ สารสนเทศทางการบัญชีอธิบายได้ดังนี้
1.ระบบสารสนเทศทางการผลิตจะส่งธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อวัตถุดิบและการผลิตสินค้าเข้าสู่ระบบ
2. ระบบสารสนเทศทางการตลาดจะส่งธุรกรรมการขายสินค้าเข้าสู่ระบบ
3. ระบบสารสนเทศทางการเงินจะส่งธุรกรรมการรับและจ่ายเงินสดเข้าสู่ระบบ
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะส่งธุรกรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่ระบบ
5. ผู้จัดการงานจะส่งรายการปรับปรุงบัญชีและงบประมาณเข้าสู่ระบบ
6. ผู้ใช้รายงานจะรับรายงานทางการเงินและการบริหารที่ออกจากระบบ
3.ระบบบัญชีแยกประเภท
3.1 การบันทึกรายการปรับปรุงเป็นขั้นตอนการนำเข้ารายการปรับปรุงบัญชี อาจจะเป็นการปรับปรุงข้อผิดพลาดที่พบในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบสารสนเทศอื่น
3.2 การผ่านรายการบัญชี เป็นขั้นตอนของการโอนรายการจากบัญชีสมุดรายวันทั่วไปเข้าสู่แยกประเภท
3.3 การปรับปรุงยอดคงเหลือหลังจากที่ระบบมีการผ่านข้อมูลบัญชีเรียบร้อย ระบบจะทำการปรับปรุงยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยวข้องแต่ละบัญชีภายในแฟ้มงบทดลองให้เป็นปัจจุบัน
3.4 การออกรายงานการผ่านบัญชีเป็นขั้นตอนการออกรายงานที่ได้จากการผ่านรายการบัญชี
4. ระบบออกรายงานทางการเงิน
4.1 การประมวลผลรายงาน
4.2 การพิมพ์รายงานเป็นขั้นตอนหลังจากการประมวลผลรายงานเรียบร้อยแล้ว
4.3 การปิดบัญชีเป็นขั้นตอนหลังออกรายงานทางการเงินเรียบร้อยแล้ว
5. ระบบออกรายงานทางการบริหาร
5.1 การจัดเตรียมรูปแบบรายงาน
5.2 การประมวลผลรายงาน
5.3 การพิมพ์รายงาน
เทคโนโลยีทางการบัญชี
1.โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟแวร์ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะกับงานด้านการบัญชีและจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล (ดีบีเอ็มเอส) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลทางการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ สามารถออกรายงานทางการเงินและการบริหารได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้จะต้องเน้นการควบคุมทางการบัญชีในส่วนการควบคุมเฉพาะระบบ ทั้งในด้านการควบคุมด้านการเข้าถึง การรับเข้า การประมวลผล และการส่งออกข้อมูล
โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี คือ โปรแกรมที่เน้นการบันทึก การประมวลผลและการนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมโดยมีการบันทึกข้อมูลรายวัน การผ่านบัญชีไปสมุดแยกประเภท การรายงานสรุปผลในงบการเงินต่างๆผลลัพธ์ของโปรแกรมอาจอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือรายงานต่างๆมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมครบถ้วน
2. มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการกำหนดขนาดแฟ้มข้อมูล
3. ความสามารถของโปรแกรมในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถในการทำงานสูง
4. มีความสามารถใช้การเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบลูกข่าย แม่ข่าย
5. เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง
6. มีระบบการกำหนดรหัสผ่านหลายระดับ
7. มีการสร้างแฟ้มหลักรวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มหลัก
8. มีระบบการรับเข้าข้อมูลและตรวจทานการรับเข้าข้อมูล
9. การป้อนข้อมูลทางหน้าจออยู่ในลักษณะของการรับข้อมูลไดมากกว่าหนึ่งรายการ
10. มีระบบป้องกันการผ่านบัญชีที่ผิดพลาด
11. มีความยืดหยุ่นของการปิดงวดบัญชี
12. มีโปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารหรือรายงาน
13. การโอนย้ายข้อมูลภายในระบบสร้างความคล่องตัวให้กับผู้ใช้ข้อมูล
2. การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ต
งบการเงิน คือ รายงานทางการเงินที่นำเสนอต่อผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ตเป็นวิถีทางหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงงบการเงินได้กว้างไกลทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไดพัฒนาฐานข้อมูลเอดการ์ขึ้น เพื่อใช้เก็บรวบรวมรายงานขึ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาในรูปแบบที่เป็นข้อความแต่ไม่สามารถนำรายงานทางการเงินของแต่ละบริษัทมาเปรียบเทียบกันได้เนื่องจากโครงสร้างงบการเงินต่างกันและถูกพัฒนาด้วยชุดคำสั่งที่ต่างกัน
3. โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบลูกข่าย แม่ข่าย โดยทำการเชื่อมต่อกระบวนการทางธุรกิจภายในองค์การ ในส่วนการประมวลผลธุรกรรมของระบบสารสนเทศทางธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยมีการใช้ฐานข้อมูลรวมขององค์การเพียงข้อมูลเดียวและมีการนำเข้าข้อมูลเพียงครั้งเดียวผู้ใช้ในหน่วยงานต่างๆ
ความสามารถของโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การยุคปัจจุบัน นอกจากการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การด้วยฐานข้อมูลเดียวกัน ขยายขอบเขตไปถึงการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การเข้าด้วยกันหรืออีกนัยหนึ่งคือ การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การเข้ากับการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การคู่ค้า



อ้างอิง : ผศ.รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์ สารสนเทศทางธุรกิจ ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด มหาชน

เทคโนโลยีการบริหารการศึกษา

ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์
(บทความนี้ได้ปรับปรุงจากเอกสารชุดวิชาที่ผมเขียนให้แก่ทาง สมธ. )


การบริหารการศึกษามีความสำคัญมากเพราะการศึกษาของเยาวชนหรือคนในประเทศจะดีหรือเลว จะทำให้คนในประเทศแข่งขันกับคนในประเทศอื่น ๆ ได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการบริหารการศึกษา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือขึ้นอยู่กับผู้บริหารการศึกษาของบ้านเมืองนั่นเอง หากประเทศใดได้นักบริหารการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจงานด้านการศึกษา และผลกระทบของการศึกษาต่อความก้าวหน้าของประชาชนและประเทศชาติแล้ว ประเทศนั้นก็จะมีความรุ่งเรืองในทุกๆ ทาง ในทางตรงกันข้าม หากประเทศใดไม่มีนักบริหารการศึกษาที่เก่ง และ ทำงานโดยกำหนดเอาความก้าวหน้าและความรุ่งเรืองของประเทศชาติเป็นธงชัยแล้ว ก็ยากที่ประเทศนั้นจะรุ่งเรืองได้

การบริหารงานใดๆ ในยุคนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม เครื่องมือที่รู้จักกันทั่วไปก็ได้แก่เครื่องมือที่ใช้ในสำนักงาน ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ได้แก่ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือทางปัญญาอีกหลายอย่าง เช่นBalanced Score Card, เครื่องมือการวางแผน, เครื่องมือการติดตามงาน ฯลฯ เครื่องมือเหล่านี้ขอรวมเรียกว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับบริหารการศึกษา บทความนี้ต้องการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีเหล่านี้ว่ามีอะไรบ้าง โดยยังไม่ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีแต่ละประเภท


ความหมายของการบริหารการศึกษา ปัจจุบันนี้เราต่างตระหนักดีว่าการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติ ยิ่งประเทศมีผู้ได้รับการศึกษาในระดับสูงโดยเฉพาะทางด้านที่เป็นที่ต้องการมากเท่าใด ประเทศก็จะมีศักยภาพในการพัฒนางานด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นมากขึ้นเท่านั้น ผลงานต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนก็จะมีคุณภาพมากขึ้น เพราะผู้ปฏิบัติมีความรู้และความสามารถเป็นอย่างดี เมื่อประชาชนมีความรู้มากขึ้น มีความเข้าใจในความถูกผิดชั่วดีมากขึ้น การกระทำผิดกฎหมายและจริยธรรมก็อาจจะลดลง และทำให้ประเทศมีความระดับความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นสูงขึ้นตามไปด้วย

การที่จะปรับปรุงการศึกษาให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ซึ่งเราเรียกว่าการปฏิรูปการศึกษานั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย นับตั้งแต่รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง และ นักเรียนนักศึกษา หากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้เพิกเฉย หรือไม่ร่วมมือสนับสนุนเสียแล้ว การปฏิรูปการศึกษาก็จะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้เองผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการปรับปรุงหรือปฏิรูปการศึกษาจึงจำเป็นจะต้องรู้วิธีการบริหารจัดการที่ดี

ระดับการจัดการศึกษาที่เล็กลงมาจากการปฏิรูปการศึกษา ก็คือการดูแลให้การศึกษาในสถาบันการศึกษาดำเนินไปอย่างราบรื่น การจัดการศึกษานั้นอาจจะพิจารณาได้เป็นสองแนวทาง แนวทางหนึ่งก็คือพิจารณาจากลักษณะงานของผู้บริหารการศึกษาเอง และอีกแนวทางหนึ่งก็คือพิจารณาจากเนื้องานที่เกี่ยวกับการศึกษา

การจัดการเมื่อพิจารณาจากลักษณะงานของผู้บริหารการศึกษาในสถาบันการศึกษาแล้วอาจแบ่งได้เป็นงานสำคัญๆ ดังต่อไปนี้

การวางแผนการศึกษา ได้แก่การวางแผนงานในทุก ๆ ด้านเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในสถาบันดำเนินไปอย่างราบรื่น อาทิ การวางแผนด้านหลักสูตร การวางแผนการสร้างอาคาร การวางแผนการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ฯลฯ
การจัดองค์กร ได้แก่การจัดรูปแบบการดำเนินงานภายในสถาบันการศึกษา รวมทั้งการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมเพื่อให้มารับตำแหน่งหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ งานนี้ยังรวมไปถึงการพัฒนาและประเมินการทำงานของบุคลากรด้วย
การจัดงานและควบคุมให้การทำงานเป็นไปตามที่กำหนด ได้แก่การกำหนดเนื้องาน การมอบหมายงานให้บุคลากรรับไปดำเนินงาน การประสานงานบุคลากร และ การควบคุมให้บุคลากรเหล่านั้นดำเนินงานตามที่กำหนดอย่างครบถ้วนและได้ผลดี
การสั่งการและการแก้ไขปรับปรุงงาน ได้แก่การออกคำสั่ง การออกระเบียบวิธีปฏิบัติ การกำหนดนโยบาย เพื่อให้การดำเนินงานต่างๆ ของสถาบันเป็นไปอย่างราบรื่น และหากการดำเนินงานมีปัญหา ก็แก้ไขปรับปรุงระเบียบและวิธีการต่าง ๆ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
การประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้บริหารจำเป็นจะต้องทราบตลอดเวลาว่า งานบริหารการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นไปตามแผนงานหรือไม่ และสามารถให้ผลงานที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรือไม่ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพของการปฏิบัติงานและของผลงานด้วย
การจัดทำรายงาน ได้แก่ การจัดทำรายงานต่างๆ ตามระดับที่จำเป็นเพื่อนำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือต่อผู้บริหารที่อยู่สูงขึ้นไปอีก โดยเฉพาะก็คือรายงานที่แสดงผลการประเมินการปฏิบัติงานที่กล่าวถึงไปแล้ว
การจัดทำงบประมาณ ได้แก่ การพิจารณาวางแผนด้านการใช้จ่ายของสถาบันล่วงหน้า นำเสนอแผนงบประมาณต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือต่อผู้บริหารเพื่อให้อนุมัติ จากนั้นก็ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามแผนงบประมาณนั้น
หากพิจารณาหัวข้องานจัดการศึกษาโดยพิจารณาจากเนื้องานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเอง ก็อาจจะแบ่งเป็นงานต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

งานจัดการหลักสูตร ได้แก่การแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเป็นกรรมการร่างหลักสูตรที่คาดว่าน่าจะเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ การพิจารณาอนุมัติหลักสูตร การจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการตามหลักสูตร
งานจัดการนักศึกษา ได้แก่การประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาสมัครเข้ามาศึกษาในสถาบัน การลงทะเบียนนักศึกษา การแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา
งานจัดการเรียนการสอน ได้แก่การกำหนดตารางการเรียนการสอน การจัดอาจารย์และวิทยากรมาสอน การจัดทำสื่อการสอน การสอบ การให้คะแนน
งานบริหารบุคลากร ได้แก่ การจัดหาบุคลากรระดับต่างๆ มาปฏิบัติงานในสถาบัน การพัฒนาบุคลากร การประเมินผล
งานจัดการงบประมาณ ได้แก่การพิจารณากำหนดงานที่จะต้องดำเนินการ การทำคำของบประมาณ การควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณ
งานจัดการทรัพยากรและอุปกรณ์การศึกษา ได้แก่การจัดหา ควบคุม และ การดูแลรักษาทรัพยากรและอุปกรณ์การศึกษาต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพดี
งานจัดการห้องสมุด ได้แก่การจัดหาหนังสือและวารสาร การจัดสถานที่อ่าน การให้บริการยืมคืน การให้บริการค้นคืนข้อมูลและเอกสาร
งานจัดการศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ ได้แก่การจัดหาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การให้บริการอาจารย์และนักศึกษาเพื่อให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ การให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต
งานจัดการเอกสาร ได้แก่การจัดระบบเอกสาร และ ระบบสารบรรณ
งานจัดการการสื่อสาร ได้แก่การจัดหาระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้บริการการสื่อสารต่างๆ เช่น ระบบโทรศัพท์ โทรสาร การประชุมทางไกล และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
งานให้บริการชุมชน ได้แก่การจัดการงานบริการต่างๆ ให้แก่ชุมชน เช่น บริการการศึกษาต่อเนื่อง การเข้าร่วมกิจกรรมชุมชน

ความหมายของเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา การบริหารการศึกษาตามแนวทางที่ได้อธิบายมาข้างต้นนั้นเป็นงานที่มีความซับซ้อนมาก และจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารจะต้องได้รับข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นสำหรับใช้ในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตลอดเวลา นอกจากนั้นแล้วข้อมูลและสารสนเทศนั้นต้องเป็นปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งได้รับข้อเสนอจากอาจารย์กลุ่มหนึ่งว่าต้องการจัดตั้งสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ผู้บริหารจึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นจัดทำหลักสูตรนี้ขึ้น ในการตัดสินใจว่าสมควรจะจัดตั้งสาขาวิชานี้หรือไม่ ผู้บริหารจะต้องทราบว่าหลักสูตรนี้มีความจำเป็นต่อประเทศหรือไม่ บัณฑิตที่จบไปแล้วจะมีงานทำหรือไม่ การเปิดสาขานี้ต้องใช้อุปกรณ์และเครื่องมืออะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเป็นเท่าใด จะหาอาจารย์มาสอนได้จากที่ใด ฯลฯ หากผู้บริหารไม่ได้รับข้อมูลและสารสนเทศที่ถูกต้องในเรื่องเหล่านี้แล้ว ผู้บริหารก็อาจจะตัดสินใจผิดพลาดได้

การตัดสินใจและการบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ ให้มีประสิทธิผลนั้นอาจกล่าวได้ว่ามีปัจจัยที่สำคัญอยู่สองส่วน ส่วนแรกคือการมีข้อมูลและสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและถูกต้อง และส่วนที่สองก็คือความรู้ว่าในสถานการณ์นั้นๆ จะตัดสินใจอย่างไร หรือจะดำเนินการอย่างไรจึงจะเหมาะสม

การที่จะได้ข้อมูลและสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันและถูกต้องมาใช้นั้นจำเป็นจะต้องอาศัยเครื่องมือที่เหมาะสมมาช่วย ในสมัยก่อนเครื่องมือเหล่านี้ก็คือแฟ้มและแบบฟอร์มกระดาษสำหรับจดบันทึกข้อมูลต่างๆ สำหรับจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ในลักษณะที่จะเรียกค้นออกมาได้ เครื่องมือเหล่านี้รวมไปถึงสมุดบัญชี สมุดบันทึกการปฏิบัติงาน ทะเบียนรับจ่ายหนังสือ เครื่องคิดเลข พิมพ์ดีด ฯลฯ แต่ในปัจจุบันนี้แม้หน่วยงานการศึกษาหลายแห่งอาจจะยังคงใช้เครื่องมือเหล่านี้อยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ได้เปลี่ยนไปใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น นั่นก็คือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(Information and Communication Technology) ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้สามารถอำนวยความสะดวกในการใช้งานได้ดีกว่าเครื่องมือแบบเดิมที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว

สำหรับในกรณีของการที่จะมีความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินการหลังจากได้รับข้อมูลและสารสนเทศแล้วนั้น เครื่องมือที่จะช่วยผู้บริหารได้ดีที่สุดก็คือการศึกษาทั้งจากในสถานศึกษา และ การศึกษาจากผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานในอดีต อย่างไรก็ตามในบางครั้งผู้บริหารอาจจะต้องประสบปัญหาต้องตัดสินใจในเรื่องที่ไม่ได้เรียนรู้หรือไม่มีประสบการณ์มาก่อน ผู้บริหารก็อาจจะต้องใช้เครื่องมืออย่างอื่นมาช่วยตัดสินใจด้วย เครื่องมือที่น่าจะเป็นประโยชน์คือระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งก็เป็นซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และจัดอยู่ในกลุ่มของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นว่า เทคโนโลยีสำหรับบริหารการศึกษาก็คือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั่นเอง นอกจากนั้นเราอาจจะให้ความหมายเทคโนโลยีบริหารการศึกษาได้กว้างๆ ว่า เป็นเครื่องมือและวิธีการสำหรับช่วยให้ผู้บริหารการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


ประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษา การใช้เทคโนโลยีบริหารการศึกษาของผู้บริหารการศึกษาระดับต่างๆ นั้นโดยทั่วไปก็เพื่อให้งานต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบสำเร็จลุล่วงด้วยดี ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีบริหารการศึกษามีประโยชน์ดังต่อไปนี้

ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเอาไว้เป็นหมวดหมู่ในฐานข้อมูลของหน่วยงาน โดยเฉพาะข้อมูลบางอย่างอาจจัดเก็บเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยอัตโนมัติ เมื่อจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลแล้วก็สามารถค้นคืนข้อมูลต่างๆ มาใช้ได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน
ช่วยในการประมวลผลข้อมูลที่จัดเก็บไว้เพื่อให้เป็นสารสนเทศรูปแบบต่างๆ เช่น จัดทำเป็นรายงาน ตาราง กราฟ และ แผนภาพต่างๆ ได้แบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้บริหารได้รับทราบรายงานและเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
ช่วยในการประเมิน หรืองานประกันคุณภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานจะได้ผลที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายจริง
ช่วยในการส่งข้อมูลและรายงานที่ประมวลผลได้แล้วไปให้ผู้รับที่อาจจะอยู่ห่างไกลจากหน่วยงาน ทำให้ผู้รับได้รับข้อมูลและรายงานอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะส่วนที่เป็นข้อมูลนั้นหากผู้รับต้องการนำไปใช้ประมวลผลต่อก็สามารถทำได้ทันที ไม่ต้องบันทึกข้อมูลใหม่อีกครั้ง
ช่วยในการนำเสนอรายงานหรือข้อเสนอต่างๆ ต่อผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระหว่างการประชุมสัมมนา
ช่วยในการจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการปฏิบัติงาน และ การดูงาน เพื่อสร้างเป็นฐานความรู้สำหรับนำมาให้ผู้บริหารระดับล่างได้ศึกษาและนำไปใช้ประกอบการปฏิบัติงาน เช่น ความรู้จากการเปิดสาขาวิชาหรือหลักสูตรใหม่ว่ากำหนดแนวทางไว้อย่างไร การดำเนินงานได้ผลอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างไร ผลของการแก้ปัญหาเป็นอย่างไร
ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทดสอบการตัดสินใจของตนได้โดยอาศัยโปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ จากนั้นก็อาจเลือกดำเนินงานโดยใช้แนวทางที่เห็นว่าดีที่สุดได้
ช่วยในงานบริหารโดยตรงของผู้บริหาร เช่น การบริหารงานโครงการ การบันทึกตารางนัดหมาย การบันทึกข้อมูลส่วนตัว การจัดทำเอกสารที่ยังไม่ต้องการเปิดเผย การคำนวณหรือการประมวลผลบางอย่าง
จากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นักศึกษาจะเห็นว่าเทคโนโลยีบริหารการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานและการบริหารงานในปัจจุบัน เราอาจสรุปความสำคัญของเทคโนโลยีบริหารการศึกษาได้ดังต่อไปนี้

เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การบริหารจัดการของผู้บริหารการศึกษามีความสะดวกรวดเร็วและมีคุณภาพ
เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้การสื่อสารและการประสานงานด้านการบริหารการศึกษาและการปฏิรูปการศึกษาสะดวกรวดเร็ว
เทคโนโลยีบริหารการศึกษาทำให้พัฒนาการด้านการศึกษาของประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่นและมั่นคง
เทคโนโลยีบริหารการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้สามารถผลิตผู้จบการศึกษาทุกระดับที่มีคุณภาพได้

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8
1. จงอธิบายเป้าหมายทางการเงินทั้งในส่วนของธุรกิจและผู้ถือหุ้น
- เป้าหมายทางการเงินของธุรกิจและผู้ถือหุ้น คือ การสร้างมูลค่าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ คือ การนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหากสินค้านั้นติดตลาดหรือผู้บริโภคตอบรับมากที่สุดก็จะนำมาซึ่งยอดขายหรือผลกำไร ถือเป็นสิ่งตอบแทนให้ทั้งส่วนของธุรกิจและผู้ถือหุ้น
2. จงยกตัวอย่างการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้กับงานทางการเงิน
- ตัวอย่างเช่น สารสนเทศด้านงบประมาณเงินสดมีการนำข้อมูลกระแสเงินสดในอดีตมาจัดทำแผนงบประมาณเงินสดที่เกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคต
3. เพราะเหตุใดธุรกิจที่มีการจัดการทางการเงินไม่ดีพอ จึงไม่สามารถอยู่รอดได้ในอนาคตลอด
- เนื่องจากธุรกิจไม่สามารถพยากรณ์หรือควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งานทำให้เกิดค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากที่คาดการณ์ คือ การใช้เงินทุนสูงเกินไปตลอดการเกิดฉ้อฉลซึ่งจะนำความหายนะมาสู่ทางการเงินได้
4. ธุรกิจมีหนทางที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร
- 1. ควบคุมการใช้เงินสดภายในกิจการ
2. มีการบริหารจัดหารทางการเงินของกิจการให้มีความรัดกุม
3. จัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ เพื่อใช้เป็นเงินทุนสำรองในการบริหารงานหากเกิดการผิดพลาดขึ้น
5. กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการเงินมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของแต่ละระบบอย่างไร
- การเริ่มต้นจากระบบล่างไปหาระบบที่อยู่บนสุดซึ่งระดับที่อยู่บนสุดจะต้องอาศัยการตัดสินใจที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุดเนื่องจากระบบนี้มีความเสี่ยงค่อนข้างเยอะ
6. จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
- เพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินโดยนำสารสนเทศทางการเงินในอดีตมาใช้เพื่อพยากรณ์ทางการเงินในอนาคต
7. ระบบวิเคราะห์ทางการเงินมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบควบคุมทางการเงินอย่างไร
- ระบบวิเคราะห์ทางการเงินมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนทางการเงิน การจัดหาเงินทุน การจัดสรรเงินทุน และเงินลงทุนต่างๆ ส่วนระบบควบคุมทางการเงิน คือ การพยากรณ์หรือ การควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งานซึ่งรวมถึงการควบคุมและการตรวจสอบระบบสารสนเทศด้วย
8. การพยากรณ์ทางการเงินมีความสัมพันธ์กับงบประมาณเงินสดและงบประมาณการลงทุนอย่างไร
- มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากระบบพยากรณ์ทางการเงินเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นอันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน ส่วนงบประมาณเงินสดเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใช้งานด้านการวางแผนทางการเงินในลำดับต่อมา และระบบงบประมาณลงทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานในส่วนการตัดสินใจ การลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่ง คือ การใช้เงินทุนของธุรกิจเพื่อการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ขององค์การ
9. จงยกตัวอย่างการใช้สารสนเทศจากตลาดการเงินสำหรับการจัดหาเงินทุน
- การจัดหาเงินทุนตัวอย่าง เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อนำมาใช้ในการลงทุนประกอบธุรกิจ
10. จงยกตัวอย่างธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
- ธุรกิจขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้กระทั่งสินค้าอุปโภคบริโภค

สรุปบทที่ 8

บทที่ 8 สารสนเทศทางการเงิน
แนวคิดและความหมาย
O brien (2005, p. 246) นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้สนับสนุนงานของนักบริหารธุรกิจในการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน รวมทั้งการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรทางการเงินของธุรกิจ โดยการพัฒนาระบบย่อยในส่วนของการจัดการเงินสด การจัดการเงินลงทุน การพยากรณ์ทางการเงิน ตลอดจนการวางแผนทางการเงิน
Laudon and Laudon (2005, p .52) นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการจัดการสินทรัพย์ด้านการเงิน รวมทั้งการจัดการด้านการประเมินสินทรัพย์ให้เป็นทุนของธุรกิจ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ใช้สำหรับการตัดสินใจทางการเงินที่มุ่งเน้นถึงผลตอบแทนการลงทุนที่ดีที่สุด รวมถึง 3 ระบบย่อยดังนี้
1. ระบบในระดับกลยุทธ์
2. ระบบในระดับบริหาร
3. ระบบในระดับปฏิบัติการ
Stair and Reynolds (2006, p. 465) นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการเงิน หมายถึง ระบบที่มีการนำเสนอสารสนเทศทางการเงินให้แก่ผู้บริหารในองค์การ ตลอดจนกลุ่มบุคคลทั่วไปภายนอกองค์การที่จำเป็นต้องตัดสินใจทางการเงินรายวัน การนำเสนอสารสนเทศทางด้านธุรกรรมทางการเงินมักจะอยู่ในรูปแบบที่กระชับ ซึ่งมีชื่อว่า ซาเบร มีการใช้ข้อมูลระบบฐานอย่างง่าย ตลอดจนระบบออกรายงานทางการเงินที่ยืดหยุ่น เพื่อสกัดสารสนเทศจากระบบและออกรายงานการค้าหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือป้องกันการฉ้อฉล ในตลาดหุ้นช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
1. รวบรวมสารสนเทศทางการเงินและการปฏิบัติงาน
2. ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย
3. เปิดโอกาสให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลระยะสั้นตลอดเวลา
4. วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้หลายมิติ
5. วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินทั้งในอดีตและปัจจุบัน
6. ติดตามและควบคุมการใช้เงินทุนตลอดระยะเวลาในการดำเนินงาน
การจัดการทางการเงิน
การเงิน คือ หน้าที่ทางหนึ่งของธุรกิจมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานด้านอื่นๆ เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เป้าหมายสำคัญทางการเงิน คือ การเพิ่มพูนความมั่งคั่งสูงสุดให้แกผู้ถือหุ้นและพิจารณาจากอัตราการจ่ายเงินปันผลและมูลค่าหุ้นสามัญในตลาดต้องอาศัยกระบวนการจัดการทางการเงินอย่างเป็นระบบเบ่งได้ 5 หัวข้อดังนี้
1. แนวคิดและความหมาย
เคียวน์ มาร์ติน เพตตี และสก็อต ให้คำจำกัดความไว้ว่า การจัดการทางการเงิน หมายถึง กระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการตัดสินใจทางการเงินเพื่อสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้แก่ธุรกิจและผู้ถือหุ้น เช่น ในการตัดสินใจว่าควรนำสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดเมื่อใด ควรเลือกที่จะกู้ยืมเงินจากธนาคารเมื่อใด หรือมีการออกหุ้นทุนหรือหุ้นกู้จำหน่ายเพื่อระดมเงินทุนเข้ากิจการ
ระบบการเงินมุ่งเน้นถึงการจัดสรรเงินที่มีอยู่ในธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้สอยหรือการบริโภคเงิน มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนภายในระบบเพื่อการจัดหาเงินทุนของธุรกิจและการลงทุนของนักลงทุนจึงต้องคำนึงถึงอุปสงค์ในเงินทุนและอุปทานในเงินทุนด้วย
2. ขอบเขตทางการเงิน
มัลลิกา ต้นสอน และอดิศักดิ์ พันธ์หอม จำแนกขอบเขตทางการเงินออกเป็น 3ส่วนดังนี้
2.1 ตลาดการเงิน มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินหรือแหล่งจัดหาเงินทุนอื่นๆดังนี้
2.1.1 ตลาดเงิน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์รวมทั้งตราสารทางการเงินที่อายุไม่เกิน 1 ปี
2.1.2 ตลาดทุน หมายถึง ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์รวมทั้งตราสารทางการเงินที่อายุไม่เกิน 1 ปีจำแนกเป็น
1.ตลาดแรก คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์กับผู้ซื้อครั้งแรก
2. ตลาดรอง คือ ตลาดที่จำหน่ายหลักทรัพย์กับผู้ซื้อครั้งแรกไปสู่ผู้ซื้อในครั้งต่อๆไป
2.2 การลงทุน การตัดสินลงทุนโดยคำนึงถึงการใช้เงินทุนที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ
2.3 การเงินธุรกิจ เป็นการจัดการทางเงินภายในองค์การ
3.หน้าที่ทางการเงิน
เป็นหน้าที่ของผู้บริหารของธุรกิจจะต้องตัดสินใจทางการเงินร่วมกับฝ่ายงานต่างๆเพื่อที่จะสนองตอบภารกินสำคัญ 4 ประการดังนี้
3.1 การพยากรณ์และการวางแผน คือ หน้าที่ด้านการพยากรณ์ถึงความต้องการเงินทุนในอนาคต
3.2 การจัดหาเงินทุน คือ หน้าที่ด้านการหาเงินทุนเพื่อรองรับการลงทุนและแผนที่ได้กำหนดไว้
3.3 การจัดการลงทุน คือ หน้าที่ในการจัดสรรเงินทุนเพื่อรองรับความเจริญเติบโตของธุรกิจ
3.4 การจัดการเงินทุนจำแนกไดดังนี้
3.4.1 การจัดการสภาพคล่องเป็นการจัดการเงินทุนในระยะสั้น
3.4.2 การจัดการเติบโต เป็นกาจัดการเงินทุนในระยะยาว
3.4.3 การจัดการความเสี่ยงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันการเงินให้กับกิจการ
นอกจากนี้ฝ่ายการเงินมีหน้าที่ให้ความมือและการควบคุมให้ความร่วมมือกับผู้จัดการฝ่ายต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงานโดยมีการนำเสนอข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับข้อจำกัดที่อาจมีอยู่และร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินงานจนมีการควบคุมการจัดสรรเงินทุนอย่างเหมาะสม
4. เป้าหมายทางการเงิน
4.1 กำไรสูงสุด เน้นถึงการใช้ประสิทธิภาพของทรัพยากรโดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลาการวัดผลกำไรของบริษัทแต่อย่างใด ต้องมีการตั้งเป้าหมายที่แน่นอนและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น แต่กำไรสูงสุดก็ยังคงละเลยต่อปัจจัย 3 ประการ คือ ความเสี่ยงของการลงทุน ระยะเวลาที่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนและต้นทุนเงินทุนที่ได้จากผู้ถือหุ้นและเจ้าของ
4.2 ความมั่งคั่งสูงสุด ธุรกิจใดมีการปรับปรุงกำไรสูงสุดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นถึงคุณภาพตลาดของหุ้นสามัญที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย ถือว่าธุรกิจนั้นเกิดความมั่งสูงสุดซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจทางการเงินที่ถูกต้อง ตลอดจนมีการพื้นฐานการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ
5. การตัดสินใจทางการเงิน
มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งแก่ผู้ถือหุ้นและคนอื่นๆ จำแนกประเภทของการตัดสินใจทางการเงินออกเป็น 3 ประเภท
5.1 การตัดสินใจด้านการลงทุน เป็นการตัดสินใจที่สำคัญที่สุดเริ่มจากการกำหนดสินทรัพย์ที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ จำนวนเงินในสินทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งจะบ่งบอกขนาดของบริษัท จากนั้นจึงจำแนกส่วนประกอบของสินทรัพย์ที่จำเป็นต้องมี
5.2 การตัดสินใจด้านการจัดหาเงินทุนต้องพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
1. ส่วนผสมของเงินทุนที่จำเป็นต้องมีการจัดหาไว้ใช้จ่ายภายในกิจการ
2. แหล่งเงินทุนทั้งระยะสั้นละระยะยาว
3. สัดส่วนระหว่างหนี้สินและทุนที่เหมาะสม
4. ประเภทของการจัดหาเงินทุน 2 ประเภท คือ การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือการออกหลักทรัพย์ประเภททุนเพื่อจำหน่าย
5. ต้นทุนของเงินทุนแต่ละประเภท
5.3 การตัดสินใจด้านนโยบายเงินปันผล เป็นการตัดสินใจถึงจำนวนเงินที่จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มีการกำหนดอัตราการจ่ายเงินปันผลขึ้นที่สามารถใช้เป็นตัวกำหนดกำไรสะสมที่บริษัทยังคงเหลือหลังจากจ่ายเงินปันผลเสร็จสิ้นแล้วและยังใช้อัตราการปันผล
สารสนเทศทางการเงิน
1. แนวคิดและความหมาย
สารสนเทศทางการเงิน หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลของระบบสารสนเทศทางการเงิน อาศัยข้อมูลของสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ
2. การจำแนกประเภท
2.1 สารสนเทศเชิงปฏิบัติการ คือสารสนเทศที่ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการรับและการจ่ายเงินสด การจัดหาและการใช้เงินทุน ตลอดจนการลงทุนในสินทรัพย์ ดังนี้
2.1.1 สารสนเทศด้านกระแสเงินสด บ่งบอกถึงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน
2.1.2 สารสนเทศด้านเงินทุน เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุนไว้ใช้จ่ายในกิจการตลอดจนการใช้เงินทุนเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ
2.1.3 สารสนเทศด้านการลงทุน เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆทั้งระยะสั้นและระยะยาว
2.2 สารสนเทศเชิงบริหาร คือ สารสนเทศที่ใช้สนับสนุนงานการบริหารและจัดการทางการเงิน ดังนี้
2.2.1 สารสนเทศด้านพยากรณ์ทางการเงิน สารสนเทศได้จากการคาดคะเนเหตุการณ์ทางการเงินในอนาคต
2.2.2 สารสนเทศด้านงบประมาณเงินสด ได้จากการนำข้อมูลกระแสเงินสดในอดีตมาจัดทำแผนงบประมาณเงินสด
2.2.3 สารสนเทศด้านงบประมาณลงทุน เกี่ยวข้องกับแผนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุนภายใต้โครงการต่างๆ
2.2.4 สารสนเทศด้านการวิเคราะห์ทางการเงิน ใช้สำหรับสนับสนุนหน้าที่งานด้านต่างๆ ทางการเงิน
2.2.5 สารสนเทศด้านการควบคุมทางการเงิน สนับสนุนด้านการควบคุมงบประมาณ การตรวจสอบทางการเงิน
2.3 สารสนเทศภายนอกองค์การ ได้จากกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ จำแนกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
2.3.1 สารสนเทศจากตลาดการเงิน
2.3.2 สารสนเทศด้านนโยบายของรัฐ
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1. ระบบวางแผนทางการเงิน คือ ระบบที่มุ่งเน้นถึงการจัดการสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะสมมีการวางแผนด้านการจัดหาเงินทุนจากแหล่งต่างๆ มีการใช้เงินทุนที่จัดหามาได้เพื่อการดำเนินงานและการลงทุนภายในกิจการ อีกทั้งยังมีการวางแผนทางการเงินในระยะสั้น ปานกลาง ระยะยาว นักวิเคราะห์การเงินส่วนใหญ่จะใช้เว็บและแผ่นตารางทำการ เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยสร้างแผนทางการเงิน ตลอดจนกิจกรรมด้านงบประมาณต่างๆ จำแนกได้ 3 ระบบย่อยดังนี้
1.1 ระบบพยากรณ์ทางการเงิน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเป็นอันดับแรกของการวางแผนทางการเงิน จำเป็นต้องใช้สารสนเทศจากภายนอกที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของเงินทุนและต้นทุนเงินทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำคัญ
การพยากรณ์ทางการเงินต้องอาศัยข้อมูลจากระบบสารสนเทศทางการตลาดในส่วนการพยากรณ์ยอดขาย ช่วยให้ธุรกิจมองเห็นถึงความต้องการเงินทุนในอนาคต และสามารถจัดทำแผนการจัดหาเงินทุนจากแหล่งต่างๆได้
1.2 ระบบงบประมาณเงินสด คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานด้านการวางแผนทางการเงินธุรกิจส่วนใหญ่มักทำรายงานงบประมาณประจำปีสำหรับการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินขององค์การ ซึ่งยินยอมให้ผู้บริหารใช้เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อบรรลุภารกิจ อาจใช้ระบบอัจฉริยะทางการเงินเข้าร่วมด้วยในกระบวนการจัดทำงบประมาณ
พายัพ ขาวเหลือง (2006, p. 247) นิยามไว้ว่า งบประมาณ คือ แผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการวางแผน การจัดหา และการจัดสรรทรัพยากร ณ ช่วงเวลาหนึ่งของการทำธุรกิจในอนาคต มีการจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ
1.2.1 งบประมาณดำเนินงาน
1.2.2 งบประมาณเงินสด
1.2.3 งบประมาณลงทุน
1.3 ระบบงบประมาณลงทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานในส่วนการตัดสินใจลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่ง คือ การใช้เงินทุนของธุรกิจเพื่อการจัดหาและจัดการสินทรัพย์ขององค์การ
2. ระบบจัดการทางการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นต้องอาศัยปัจจัยหลายด้านเพื่อการบรรลุในวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะในส่วนของการจัดหาเงินทุนและการจัดสรรเงินทุน หลังจากที่ธุรกิจได้มีการวางแผนทางการเงินแล้วในรูปแบบของงบประมาณต่างๆ สามารถจำแนกได้ 4 ระบบย่อยดังนี้
2.1 ระบบจัดหาเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นใช้งานด้านการจัดหาเงินทุนที่เป็นผลลัพธ์จากระบบพยากรณ์ทางการเงิน สามารถจัดหาเงินทุนได้ 2 วิธี ดังนี้
1. การกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ
2. การจัดหาเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ
2.2 ระบบจัดการเงินทุนคือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการใช้และบริหารเงินทุน สำหรับธุรกิจประเภทธนาคารอาจมีการใช้ระบบจัดการเงินทุนโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบนี้จะมีศักยภาพสำหรับการล้างยอดจ่ายเงินภายในวันเดียว สารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์จากระบบจะบ่งบอกถึงปัญหาด้านกระแสเงินสดที่ต้องการแก้ไข บางกรณีอาจใช้สารสนเทศสำหรับการจัดการเงินทุนเพื่อเพิ่มผลกำไรให้ธุรกิจได้
2.3 ระบบจัดการเงินทุน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการจัดการเงินลงทุนหลังจากที่มีการวางแผนงบประมาณลงทุนเสร็จสิ้นแล้ว ต้องดำเนินการจัดการเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ มักทำได้ยากทั้งในระดับส่วนบุคคลและระดับบริษัท มีทางเลือกของการลงทุนที่มากมายโดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นสามัญต่างๆ ต้องอาศัยพื้นฐานการตัดสินใจด้านเศรษฐศาสตร์และการพยากรณ์ทางการเงินเข้าช่วย
2.4 ระบบจัดการเงินสดคือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนงานด้านการจัดสรรเงินทุนในส่วนของสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการดำเนินงาน มุ่งเน้นการบริหารสินทรัพย์ในรูปแบบเงินสดหรือสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย โดยระบบจะเริ่มตั้งแต่ที่มีการถือครองเงินสดในกิจการ การบริหารสภาพคล่อง คือ การวัดความสามารถของการนำสินทรัพย์มาชำระหนี้ได้ตามกำหนดนั่นเอง

3.ระบบประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน เป็นระบบพื้นฐานของระบบสารสนเทศทางการเงินในส่วนของการรับและการจ่ายเงินสดภายในธุรกิจ ด้านการจัดหาสินทรัพย์ การลงทุน และการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายของหน่วยงานต่างๆ จำเป็นจะต้องใช้ประกอบกับระบบเอกสารและหลักฐานการรับและจ่ายเงิน โดยธุรกิจอาจใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อควบคุมการคงอยู่ของเงินสดของธุรกิจ สามารถใช้เป็นร่องรอยการตรวจสอบที่มาและใช้ไปของกระแสเงินสดภายในธุรกิจได้
4. ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนงานด้านการวางแผนการเงิน การจัดหาเงินทุน และเงินลงทุนต่างๆ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นธุรกิจจึงควรอาศัยเครื่องมือหนึ่งที่เรียกว่า การวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อเป็นการนำเสนอถึงจุดอ่อนและจุดแข็งทางการเงินของธุรกิจ ผู้วิเคราะห์ต้องมีความรู้ความเข้าใจในงบการเงินของธุรกิจอันประกอบด้วย งบดุล งบกำไรขาดทุน โดยTurban et al. (2006, p. 247) ได้จำแนกรูปแบบการวิเคราะห์ทางการเงิน 3 รูปแบบ ดังนี้
4.1 การวิเคราะห์ความเสี่ยง
4.2 การวิเคราะห์กำไร
4.3 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
5. ระบบควบคุมทางการเงิน คือ การที่ธุรกิจไม่สามารถพยากรณ์หรือควบคุมเงินสดให้เพียงพอต่อการใช้งาน การเกิดค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากที่คาดการณ์ไว้ การใช้เงินทุนสูงเกินไป กิจกรรมด้านการควบคุมมีหลายรูปแบบซึ่งรวมถึงการควบคุมและการตรวจสอบระบบสารสนเทศด้วย โดย Turban et al. (2006, p. 247)
ได้จำแนกรูปแบบการควบคุมได้ดังนี้
5.1 การควบคุมงบประมาณ
5.2 การตรวจสอบ
5.3 การบริหารผลการดำเนินงานทางธุรกิจ


เทคโนโลยีทางการเงิน
1. โปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นใช้กับงานด้านการประมวลผลธุรกรรมทางการเงิน ในบางครั้งอาจรวมอยู่กับโปรแกรมระบบงานอื่น จำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล (ดีบีเอ็มเอส) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถออกเอกสารและรายงานทางการเงินตามความต้องการของผู้ใช้ขอยกตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปทางการเงิน 3 ประเภทดังนี้
1.1 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการจัดการทางการเงิน Turban et al. (2006, p. 247) ได้ยกตัวอย่างโปรแกรมแมส 90 และแมส 200 ซึ่งมีการรวมมอดูลของระบบงานด้านต่างๆ เข้าด้วยกันกับมอดูลด้านบัญชีและมอดูลด้านการสื่อสารข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลเท่าที่จำเป็นระหว่างมอดูล
1.2 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านงบประมาณคือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนงานด้านงบประมาณ อาจจะพัฒนาระบบสารสนเทศบนเว็บเพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดเตรียมและควบคุมงบประมาณ ซึ่งคือกลุ่มผู้ร่วมมือด้านการจัดเตรียมงบประมาณในองค์การ
ในส่วนวิธีงบประมาณจะมี 2 วิธี คือ วิธีจากบนลงล่างขึ้นบนบางโปรแกรมสำเร็จรูปอาจยินยอมให้ผู้เลือกใช้ตัวแบบทางการเงินเพื่อเป็นการประสานงานสำหรับทั้ง 2 วิธี อาจมีการสร้างงบประมาณในรูปแบบที่ซับซ้อนหรือมีความเกี่ยวข้องกับหลายแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอกประเทศ แนวโน้มล่าสุดของการผลิตซอฟแวร์ด้านงบประมาณ คือ การผลิตซอฟแวร์สำหรับโรงพยาบาลโดยมีการผสมผสานระหว่างหน้าที่ด้านการวิเคราะห์ทางการเงินและการออกรายงาน
ผลประโยชน์หลักของการใช้ซอฟแวร์งบประมาณ คือ ความสามารถในการลดเวลาและลดความพยายามเกี่ยวกับกระบวนการทางงบประมาณมุ่งเน้นถึงการสำรวจ และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การด้วยการประสานที่ลงตัว ระหว่างแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการเป็นไปอย่างอัตโนมัติ
1.3 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านจัดการค่าใช้จ่ายเดินทางอัตโนมัติ คือ โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำข้อมูลและประมวลผลค่าใช้จ่ายเดินทาง ค่าใช้จ่ายด้านการเลี้ยงรับรองต่างๆ อาจตั้งค่าในระบบให้ยินยอมจ่ายค่าใช้จ่ายได้เพียง 20 % ของค่าใช้จ่ายดำเนินงานทั้งหมด ส่วนใหญ่มักเป็นระบบประยุกต์บนเว็บแทนที่แบบฟอร์มกระดาษและตารางทำการต่างๆ
2. ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ช
ธุรกิจมีการนำระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ชมาใช้เพื่อสนับสนุนงานด้านการจัดการทางการเงินเพื่อเสริมประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการเงินให้มากยิ่งขึ้น Turban et al. (2006, p. 247) ได้ยกตัวอย่างระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ช ดังนี้
2.1 ระบบการแลกเปลี่ยนหุ้นส่วนกลาง มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการกระจายด้านการแลกเปลี่ยนหุ้นตลอดจนด้านการประมวลผลด้านการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
2.2 ระบบจัดการสกุลเงินตราต่างประเทศ
2.3 ระบบหุ้นกู้อิเล็กทรอนิกส์
2.4 ระบบนำเสนอเช็คคืนอิเล็กทรอนิกส์
2.5 ระบบนำเสนอใบเรียกเก็บเงินและการจ่ายชำระตามใบเรียกเก็บเงินอิเล็กทรอนิกส์
3. เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้
ธุรกิจมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารเงินสดเพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการชำระหนี้ ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากดอกเบี้ยหรือต้นทุนเงินทุน มีการนำเงินส่วนที่เหลือมาลงทุนด้านอื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องเลือกใช้ เครื่องมือด้านการชำระหนี้เพื่อจัดเตรียมเงินสดรับเข้าสู่กิจการ มีดังนี้
3.1 บัตรเครดิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งสำหรับชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ
3.2 บัตรเดบิต คือ การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่งจะยินยอมให้ร้านค้าโอนเงินจากบัญชีผู้ซื้อเข้าสู่บัญชีผู้ขายทันทีที่เกิดรายการค้าขึ้น
3.3 ตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์ คือ บริการของธนาคารประเภทหนึ่งที่เริ่มจากผู้ให้ขายเช่าตู้ไปรษณีย์มอบอำนาจให้แก่ธนาคารเป็นผู้เปิดตู้ไปรษณีย์และนำเช็คเข้าบัญชี
3.4 เช็คที่ได้รับอนุมัติล่วงหน้า เป็นระบบที่อาจนำมาใช้แทนตู้ไปรษณีย์เช่าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเร่งระยะเวลาเรียกเก็บที่รวดเร็วขึ้นเนื่องจากสามารถแปลงสภาพเช็คเป็นเงินสดได้ทันทีที่เช็คครบกำหนดจ่ายเงิน
3.5 เช็คอิเล็กทรอนิกส์ คล้ายคลึงกับเช็คสั่งจ่ายปกติแต่จะอยู่ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์มีการใช้ระบบลายเซ็นดิจิทัล
3.6 เงินสดอิเล็กทรอนิกส์
3.7 การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์
3.8 ระบบธนาคารศูนย์กลาง
4. การทำเหมืองข้อมูลทางการเงิน
Turban et al. (2006, p. 247) ให้ตัวอย่างระบบประยุกต์ด้านการทำเหมืองข้อมูลทางการเงินที่ใช้สนับสนุนระบบสารสนเทศทางการเงิน ดังนี้
4.1 ระบบการเข้าถึงรายงานทางการเงินและเศรษฐกิจ
4.2 ระบบวิเคราะห์ทางการเงิน
4.3 ระบบบริหารโซ่คุณค่าทางการเงิน
อ้างอิง : ผศ.รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์ สารสนเทศทางธุรกิจ ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด มหาชน

การเรียนแบบมีความสุข vs คุณภาพการศึกษา - ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

จากวันที่ประชุมเกรด...และรู้ว่าวิชา Botany มีนักศึกษาติด F ...26 คน (ติด W อีกสิบกว่าคน) เลยอยากเล่าว่าในห้องเรียนนักศึกษามีพฤติกรรมเป็นอย่างไรบ้าง

วันแรกทีเจอ นศ. เราออกแบบกระบวนการทำ body scan โดยใช้ระยะเวลาสั้น ๆ จากนั้นให้นศ. มีเวลาไคร่ครวญเพื่อหาเป้าหมายในการเข้ามาเรียนที่แม่โจ้ และปิดท้ายคือความคาดหวังในการเรียนวิชา...Botany….

นศ. ส่วนใหญ่สะท้อนออกมาในเชิงบวกกับการเข้ามาเรียนที่แม่โจ้ แต่มีทัศนคติเชิงลบกับวิชา Botany ….เป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับการเข้ามาร่วมสอนกับเจ้าของวิชาที่สอนอยู่เดิม

เรา (คนเดียว)เริ่มออกแบบการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม โดยแรกสุดเราจะให้นักษาเขียมาว่า เค้าอยากให้อาจารย์สอนอย่างไร ซึ่งก็นำมาสู่การออกแบบในบบปฏิบัติการแรก ๆ (เราช่วยสอนเฉพาะ Lab.)

เราให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2 คน (มอบหมายคนที่มีผลการเรียนดีดูแลคนที่มีผลการเรียนต่ำกว่า) โดยบทแรก ๆ จะเรียนเกี่ยวกับ Morphology ของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด ซึ่งนศ.จะเรียนรู้ลักษณะภายนอกจากตัวอย่างที่มีอยู่ในห้อง โดยการวาดรูป และ label คำศัพท์ให้ถูกต้องทั้งภาษาไทย และอังกฤษ เราก็เลยคุยกับ นศ.ว่าคะแนนจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ ผลจาก report และคะแนนการนำเสนอ โดยจะให้แต่ละกลุ่มเลือกพืชมา 1 ชนิดเพื่อนำเสนอด้วยปากเปล่า (ทั้งไทย และอังกฤษ) บทแรก นศ. ทำไม่ค่อยได้เลย สั่นมาก ไม่มั่นใจ ไม่กล้าพูด ต้องใช้เวลามาก แต่ก็ผ่านได้ และทุกท้ายชั่วโมง จะทำกระบวนการที่เรียกว่า AAR (After Action Review) โดยให้ นศ. สะท้อนว่าเค้าได้อะไร และอยากให้เราปรับปรุงกระบวนการสอนอย่างไรเพื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ก็มีการสะท้อนที่เป็นประโยชน์ ผนวกกับการแซวเพื่อนๆ และอาจารย์บ้าง ทำให้บรรยากาศการเรียน เฮฮา ไม่เครียด (เปิดเพลงบรรเลงให้ฟังระหว่างชั่วโมง)

บทต่อ ๆ มา เราจะให้ นศ. สะท้อนหรือเล่าเรื่อง ดี ๆ เรื่องอะไรก็ได้ที่เค้าพบเจอในช่วง 2- 3 เรื่อง ที่เราไม่ได้เจอกัน...จากนั้นก็จะเข้าสู่บทเรียน....แล้วก็ทำ AAR

การออกแบบการเรียนการสอนในส่วนของกายวภาคของพืช (Plant Anatomy) ก็ท้าทายเรา (อาจารย์ + นศ.) มาก มีทั้งหมด 3 บทด้วยกันคือ ราก ลำต้นและใบ เราออกแบบโดยให้มีการแบ่งกลุ่มใหม่ทุกครั้ง ขึ้นอยู่กับจำนวนหัวข้อใน Lab นั้น ๆ แต่ส่วนใหญ่ไม่เกิน 4 กลุ่ม มอบหมายให้แต่ละกลุ่มศึกษาอย่างละเอียดทั้งเนื้อหาและโครงสร้างกายวิภาคของพืช โดยให้วาดรูปและลงสีตามออกมาตามข้อมูลที่เห็นจากกล้องจุลทรรศน์ จากนั้นให้กลุ่มนำเสนอภาพวาดประกอบกับการเชื่อมสัญญาณภาพสไลด์จากกล้องจุลทรรศน์ออกจอทีวี (จะมีคะแนนในส่วนการนำเสนอ โดย นศ.ให้คะแนนกันเอง) จากนั้นให้เวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันข้ามกลุ่ม เป้าหมายคือให้ทุกคนในห้องรู้เท่ากัน เพราะสุดท้ายจะมีคะแนนตอบคำถามที่จะมีการจับฉลากชื่อสมาชิกจากกลุ่ม เพื่อตอบคำถาม และคะแนนที่ได้จะเป็นคะแนนของกลุ่ม

จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้...พบว่าวิธีการแบบนี้ทำให้นักศึกษากระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้น มีการนำหนังสือหลายเล่มที่เกี่ยวข้องมาเรียนในชั่วโมง Lab มาแวะเวียนถามคำถามอย่างสม่ำเสมอ....มารบกวนให้เราฟังทั้งหมดที่เค้าจะนำเสนอ...รวมถึงการสังเกตช่วงเวลาที่เค้านั่งวาดรูปและช่วยกันอธิบายให้เพื่อน ๆ ฟัง เป็นช่วงเวลาที่คิดว่าเค้ามีความสุข แม้ว่าอาจจะตื่นเต้นตอนท้ายที่ต้องจับฉลากที่จะได้ตัวแทนมาตอบคำถาม....

ในการเรียนชั่วโมงสุดท้าย เราให้กำลังใจพวกเค้า แล้วทำกระบวนการใหญ่โดยให้เค้าสะท้อนความรู้สึกทั้งหมดที่เค้ามีต่อวิชา Botany เพื่อเล่าให้คนที่รักฟัง.....แล้วเหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่นำมาให้เห็นถึงสิ่งที่ นศ. สะท้อนมาใน AAR

อาจารย์ผู้ที่ทำหน้าที่ตัดเกรดให้เหตุผลว่า ที่ให้ F เพราะอยากให้นักศึกษามี “ปัญญา” และมี " คุณภาพ"
อ้างอิง ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

1. จงยกตัวอย่างกิจกรรมทางการตลาดที่สัมพันธ์กับการส่งมอบคุณค่าเพื่อ
- ตัวอย่างเช่น การปรับตราสินค้า การส่งจดหมายทางตรงถึงลูกค้า และการจัดทำเว็บไซน์เพื่อสร้างรายได้และผลกำไรให้ธุรกิจ
2. การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ทางการตลาดเป็นการส่งเสริมองค์ประกอบใดทางการตลาด
- เป็นการส่งเสริมด้านการโฆษณา การสนับสนุนลูกค้าหรือการทดสอบผลิตภัณฑ์โดยลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าบนเว็บโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล ณ ที่บ้านหรือสำนักงานก็ได้
3. ท่านคิดว่าธุรกิจควรทำอย่างไรจึงจะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวได้
- 1. ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพ
2. มีการประชาสัมพันธ์หรือการติดต่อกับลูกค้าเป็นประจำ
3. มีการบริการหลังการขายอยู่เสมอ
4. จงอธิบายแนวทางการใช้สารสนเทศทางการตลาดสำหรับการเลือกคุณค่า การจัดหาคุณค่า และการสื่อสารคุณค่า
- แนวทางการใช้สารสนเทศทางการตลาดในการเลือกคุณค่า คือ ผู้ขายจะต้องทำความเข้าใจในความจำเป็นและความต้องการของลูกค้าเพื่อทำการแบ่งส่วนตลาด การกำหนดเป้าหมายและการวางตำแหน่งทางการตลาดในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขันอยู่เสมอ
ในส่วนของการจัดหาคุณค่าผู้ขายจะต้องอาศัยกระบวนการในส่วนของตลาด ผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
การสื่อสารคุณค่าผู้ขายจะต้องมีการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดการสื่อสารถึงข้อดีของสินค้าตลอดจนทำการชักชวนให้ลูกค้าในตลาดเป้าหมายซื้อผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างรูปแบบต่างๆ เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
5. กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการขายจะต้องมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของระบบใดไว้ด้วยกันบ้าง
- ระบบสารสนเทศทางการผลิตในส่วนของข้อมูลสินค้าคงคลังและข้อมูลอื่นๆทางการผลิต ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ในส่วนประวัติการซื้อและการชำระเงินของลูกค้า ระบบโลจิสติกส์ในส่วนการรับสินค้าขาเข้าและการส่งออกขาออก
6. จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้โปรแกรมการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
- วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมจัดการลูกค้าสัมพันธ์ คือ การเพิ่มรายได้ให้กับองค์การ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และช่วยสร้างข้อเสนอที่ดีสำหรับลูกค้าแต่ละรายหรือแต่ละกลุ่มรวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านงานบริการ
7. ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดี ควรจะมีการเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานใดเพื่อเป็นการขยายขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพราะเหตุใด
- โปรแกรมจัดการลูกค้าสัมพันธ์ โปรแกรมวางแผนทรัพยากรองค์การ ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์บนเว็บ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการงานด้านการพบปะลูกค้าและความสามารถด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า การแนะนำสินค้าใหม่ให้กับลูกค้าเป็นต้น
8. ระบบวิจัยการตลาดจะช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลแก่ระบบงานใดบ้าง จงอธิบาย
- การศึกษาศักยภาพของตลาดและส่วนแบ่งตลาด การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อ การกำหนดราคา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารการตลาดเป็นต้น
9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมด้านร้านค้าปลีกที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
- Seven – 11 , Big c supercenter เป็นต้น
10. ตัวแบบการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนตัดสินใจอย่างไร
- เนื่องจากตัวแบบการตัดสินใจทางการตลาดและระบบสนับสนุนทางการตลาดนั้นมีการเชื่อมโยงกันในด้านการเก็บข้อมูล การวางระบบ โดยการประสานกันของเครื่องมือทางสถิติ เพื่อช่วยให้องค์การสามารถเก็บรวบรวมและแปลความหมายของสารสนเทศทางการตลาดเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของการดำเนินด้านการตลาดต่อไป
จงยกตัวอย่างกิจกรรมทางการตลาดที่สัมพันธ์กับการส่งมอบคุณค่าเพื่อ
- ตัวอย่างเช่น การปรับตราสินค้า การส่งจดหมายทางตรงถึงลูกค้า และการจัดทำเว็บไซน์เพื่อสร้างรายได้และผลกำไรให้ธุรกิจ
2. การนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ทางการตลาดเป็นการส่งเสริมองค์ประกอบใดทางการตลาด
- เป็นการส่งเสริมด้านการโฆษณา การสนับสนุนลูกค้าหรือการทดสอบผลิตภัณฑ์โดยลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าบนเว็บโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล ณ ที่บ้านหรือสำนักงานก็ได้
3. ท่านคิดว่าธุรกิจควรทำอย่างไรจึงจะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวได้
- 1. ผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพ
2. มีการประชาสัมพันธ์หรือการติดต่อกับลูกค้าเป็นประจำ
3. มีการบริการหลังการขายอยู่เสมอ
4. จงอธิบายแนวทางการใช้สารสนเทศทางการตลาดสำหรับการเลือกคุณค่า การจัดหาคุณค่า และการสื่อสารคุณค่า
- แนวทางการใช้สารสนเทศทางการตลาดในการเลือกคุณค่า คือ ผู้ขายจะต้องทำความเข้าใจในความจำเป็นและความต้องการของลูกค้าเพื่อทำการแบ่งส่วนตลาด การกำหนดเป้าหมายและการวางตำแหน่งทางการตลาดในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขันอยู่เสมอ
ในส่วนของการจัดหาคุณค่าผู้ขายจะต้องอาศัยกระบวนการในส่วนของตลาด ผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
การสื่อสารคุณค่าผู้ขายจะต้องมีการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดการสื่อสารถึงข้อดีของสินค้าตลอดจนทำการชักชวนให้ลูกค้าในตลาดเป้าหมายซื้อผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างรูปแบบต่างๆ เช่น การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
5. กระบวนการธุรกิจของระบบสารสนเทศทางการขายจะต้องมีการเชื่อมโยงด้านข้อมูลของระบบใดไว้ด้วยกันบ้าง
- ระบบสารสนเทศทางการผลิตในส่วนของข้อมูลสินค้าคงคลังและข้อมูลอื่นๆทางการผลิต ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ในส่วนประวัติการซื้อและการชำระเงินของลูกค้า ระบบโลจิสติกส์ในส่วนการรับสินค้าขาเข้าและการส่งออกขาออก
6. จงอธิบายวัตถุประสงค์ของการใช้โปรแกรมการจัดการลูกค้าสัมพันธ์
- วัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมจัดการลูกค้าสัมพันธ์ คือ การเพิ่มรายได้ให้กับองค์การ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และช่วยสร้างข้อเสนอที่ดีสำหรับลูกค้าแต่ละรายหรือแต่ละกลุ่มรวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านงานบริการ
7. ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ดี ควรจะมีการเชื่อมโยงเข้ากับระบบงานใดเพื่อเป็นการขยายขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพราะเหตุใด
- โปรแกรมจัดการลูกค้าสัมพันธ์ โปรแกรมวางแผนทรัพยากรองค์การ ระบบจัดการลูกค้าสัมพันธ์บนเว็บ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการงานด้านการพบปะลูกค้าและความสามารถด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า การแนะนำสินค้าใหม่ให้กับลูกค้าเป็นต้น
8. ระบบวิจัยการตลาดจะช่วยสนับสนุนด้านข้อมูลแก่ระบบงานใดบ้าง จงอธิบาย
- การศึกษาศักยภาพของตลาดและส่วนแบ่งตลาด การประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อ การกำหนดราคา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารการตลาดเป็นต้น
9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมด้านร้านค้าปลีกที่ท่านพบเห็นในประเทศไทย
- Seven – 11 , Big c supercenter เป็นต้น
10. ตัวแบบการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนตัดสินใจอย่างไร
- เนื่องจากตัวแบบการตัดสินใจทางการตลาดและระบบสนับสนุนทางการตลาดนั้นมีการเชื่อมโยงกันในด้านการเก็บข้อมูล การวางระบบ โดยการประสานกันของเครื่องมือทางสถิติ เพื่อช่วยให้องค์การสามารถเก็บรวบรวมและแปลความหมายของสารสนเทศทางการตลาดเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของการดำเนินด้านการตลาดต่อไป