วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่ 2

แบบฝึกหัดบทที่ 2
1. จากส่วนประกอบทั้ง 7 ส่วนของระบบสารสนเทศ ส่วนใดที่ถือเป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลของระบบสารสนเทศ
- ส่วนประกอบที่ 5 การจัดการฐานข้อมูล
2. ในส่วนผลป้อนกลับของระบบสารสนเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์ในอนาคตของการจัดการระบบสารสนเทศอย่างไร
- จุดเริ่มต้นของการสั่งซื้อสินค้า เพื่อปรับยอดสินค้าคงเหลือที่เพิ่มนั่นเอง
3. หากท่านดำเนินธุรกิจ ร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่นำระบบสารสนเทศประเภทใดบ้างมาใช้ในธุรกิจ เพราะเหตุใด
- ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ เพราะระบบสารสนเทศตามหน้าที่งานจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของแต่ละแผนกงาน จะเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อระบบประยุกต์ของแต่ละหน้าที่งานเข้ากับสารสนเทศวิสาหกิจ ยังสามารถประยุกต์ด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร
4. ระบบสารสนเทศถูกวางไว้ตำแหน่งใดภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ จงอธิบาย
- ระบบสารสนเทศภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ เป็นการเชื่อมโยงหน้าที่เข้าด้วยกันหรือเป็นการประยุกต์หน้าที่เข้าด้วยกัน
5. จงระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์การจะได้รับภายใต้การใช้ระบบสารสนเทศที่ดี
- ความปรารถนาด้านการลงทุน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและความทันต่อเวลา ภายใต้กระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
- ความต้องการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศขององค์กร กับระสารสนเทศของหุ้นส่วนธุรกิจ เพื่อผลประโยชน์ดังนี้
การลดต้นทุนธุรกรรมซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ
การเพิ่มคุณภาพและขจัดข้อผิดพลาดของสายงานด้านสารสนเทศ
การลดช่วงเวลาของการทำคำสั่งซื้อของลูกค้าให้บรรลุผล
การกำจัดกระบวนการใช้กระดาษ ทั้งในส่วนของการทำงานที่ขาดประสิทธิภาพ ตลอดจนการลดต้นทุนกระดาษ
การโอนย้ายและการประมวลผลสารสนเทศทำได้ง่ายขึ้น
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับลูกค้าและผู้จัดการ
6. จงอธิบายแนวโน้มของสารสนเทศในอนาคต
- แนวโน้มของสารสนเทศในอนาคต คือ ในอนาคตสารสนเทศมีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ทุกระดับองค์กรและองค์การจะต้องมีการนำระบบสารสนเทศมาใช้บริหารองค์กร
7. ระบบสารสนเทศประเภทใด ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการเชื่อมโยงโซ่คุณค่าขององค์การเข้ากับโซ่คุณค่าขององค์ของการภายนอก
- ระบบคุณค่า ( Value System )
8. จงอธิบายการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การกับอีคอมเมิร์ซ
- ระบบประยุกต์ด้านอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ มักถูกดำเนินการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต โดยการใช้รูปแบบของระบบสารสนเทศบนเว็บเป็นเครื่องมือประมวลผลของอีคอมเมิร์ซ
9. จงอธิบายการทำงานของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และลูกจ้างเคลื่อนที่
- คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ คือ ตัวอย่างระบบคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบสำหรับลูกจ้างเคลื่อนที่และอื่นๆ ซึ่งผู้ใช้ระบบมักเกิดความต้องการด้านการเชื่อมต่อเข้ากับระบบสารสนเทศขององค์การในทันที โดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ตลอดจนสภาพแวดล้อมอื่นๆ ของคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่
10. จงยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศบนเว็บ ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศอื่น มาสัก 2 ตัวอย่าง
- เว็บศูนย์รวมวิสากิจ
- ตลาดอิเล็กทรอนิกซ์
อ้างอิง: รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทความความรู้เบื้องต้นเกี่ยวเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

ความ หมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

2. ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ระบบ สารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการ หนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน

3. ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว

4. ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

5. ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
• ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
• ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
• ความถูกต้อง (accuracy)
• ความเชื่อถือได้ (reliability)
• การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
• ชัดเจน (clarity)
• ระดับรายละเอียด (level of detail)
• รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
• สื่อการนำเสนอ (media)
• ความยืดหยุ่น (flexibility)
• ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
• ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
• การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
• มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
• ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
• การมีส่วนร่วม (participation)
• การเชื่อมโยง (connectivity)

6. ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)
ระบบ สารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน

7. องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)

- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และ ผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
- กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
- คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ

8. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
• ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการ จัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
• ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
• ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวด เร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย กัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
• ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหากระบบสารสนเทศนั้นออกแบบ เพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้ง หมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น
ประสิทธิผล (Effectiveness)
• ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้
• ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วย ทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความ เชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
• ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้ การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/บริการให้ตรงกับ ความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย
• ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)
• คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)
อ้างอิง: http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson1-1.asp

แบบฝึกหัดบทที่ 1

แบบฝึกหัด
1.จงเปรียบเทียบข้อแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศมาพอเข้าใจ
ตอบ ข้อมูลคือการพรรณนา ถึงสิ่งของ เหตูการณ์ กิจกรรมและธุรกรรม ซึ่งดูบันทึก จำแนกและจัดเก็บไว้ภายในแหล่งข้อมูลแต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจงโดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปตัวอักษร รูปภาพหรือเสียงก็ได้
            สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีค่าต่อผู้รับ โยมีการนำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผลและจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจได้ เช่นผลการเรียนเฉลี่ย(GPA)ของนักเรียน
2.การจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างองค์การอย่างไร
ตอบ การดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่จะดำเนินตามโครงสร้างของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การโดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของหน่วยงานที่มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงขององค์การ เพื่อให้เข้าใจรูปแบบของการจำแนกความแตกต่างของภาระงาน อำนาจหน้าที่รวมทั้งการรายงานภาระรับผิดชอบการจัดแบ่งหน้าที่งานทางธุรกิจจึงมีความสัมพันธ์จึงก่อให้เกิดโครงสร้างองค์การ
3.การลงทุนเพื่อจัดตั้งธุรกิจใหม่จะต้องดำเนินตามขั้นตอนอย่างไร
ตอบ กิจกรรมที่1การจัดหาวัตถุดิบ สินค้าหรือทรัพยากรอื่นๆเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
กิจกรรมที่2การใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตสินค้าและบริการนั้นๆ
กิจกรรมที่3การขายตลอดจนการจัดจำหน่ายสินค้าและการบริการลูกค้าสรุปได้ว่าธุรกิจจะต้องมีการจัดตั้งธุรกิจและนำเงินมาลงทุนหรืออาจกู้ยืมเงินมาใช้สำหรับจัดหาการจัดหาทรัพยากรทางธุรกิจซึ่งใช้สำหรับกิจกรรมการดำเนินงานทั้ง3กิจกรรมข้างต้น


4. จงเปรียบเทียบการประยุกต์ ใช้ข้อมูลของระดับปฎิบัติการและระดับบริหาร
ตอบ    ระดับปฎิบัติการ  คือ    การใช้ข้อมูลของธุรกิจภายใต้ระดับปฎิบัติการเปรียบเสมือนกระจกเงา
ที่คอยสอดส่องดูแลงานด้านต่างๆ เช่น  การประมวลผล การบันทึก  และรายงานเหตุการณ์ทางธุรกิจ
            ระดับบริหาร  คือ  กระบวนการสารสนเทศจะเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการจัดการ  ตลอดจนการตัดสินใจโดยสามารถจำแนกวิธีการที่ผู้จัการหรือผู้บริหารนิยมใช้ประโยนช์จากสารสนเทศทางธุรกิจ ดังนี้           วิธีที่  1  ใช้ติดตามการปฎิบัติงานในปัจุบัน
                         วิธีที่  2  ใช้สร้างความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท

5.  ผู้บริหารของบริษัทได้รับทราบงบการเงิน  ในช่วงเวลาที่ต้องการตัดสินใจแต่ข้อมูลในงบการเงินนั้นมีข้อผิดพลาดเล็กน้อย  จะมีผลต่อมูลค่าของสารสนเทศ ที่ผู้บริหารได้รับอย่างไร
ตอบ   ข้อมูลของสารสนเทศและมูลค่าของสารสนเทศนั้นขาดความน่าเชื่อถือ และขาดประสิทธิภาพ

6. กรณีที่ผู้บริหารในระดับควบคุมปฎิบัติการ ได้รับสารสนเทศที่มีรายละเอียดไม่พอต่อการตัดสินใจ อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไร
ตอบ  ทำให้เกิดการลังเลใจในการตัดสินใจ เกิดการล่าช้าในการตัดสินใจอาจก่อให้เกิดการเสียโอกาส และอาจทำให้เสียลูกค้า

7.  การสั่งการของผู้บริหารระดับสูง ในเรื่องนโยบายเงินปันผลต่อผู้บริหารระดับกลางให้ควบคุมการจ่ายเงินปันผลแก่พนักงานทุกคนถือเป็นสายงานด้านสารสนเทศในลักษณะใด
ตอบ  เป็นสายงานด้านสารสนเทศในแนวนอน ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ที่มมีส่วนได้เสีย

8.  ยกตัวอย่างโครงสร้างกระบวนการทางธุรกิจของบริษัทบริการโทรศัพท์มือถือ
ตอบ  โครงสร้างธุรกิจมือถือ มีรายละเอียดดังนี้
1.    กระบวนการปฎิบัติการ
2.    กระบวนการจัดการ
3.    กระบวนการสารสนเทศ

9.  องค์การดิจิทัลมีความแตกต่างกับองค์การธุรกิจทั่วไปอย่างไร
ตอบ  องค์การดิจิทัลจะเป็นการทำงานที่หลากหลายมิติ  โดยอาศัยความสามารถของดิจิทัลซึ่งจะแตกต่างกันองค์กาธุรกิจทั่วไป คือ องค์การธุรกิจทั่วไปจะอาศัยเพียงแค่คนเข้ามาทำงานและทำงานได้ช้ากว่าองค์การดิจิทัล  ความถูกต้อง แม่นยำน้อยกว่า

10.  องค์การควรดำเนินการอย่างไรเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข็งขันทางธุรกิจ
ตอบ  ต้องมีการกำหนดวิธีโต้ตอบ  7  วิธี คือ
1.    การจัดการเชิงกลยุทธ์
2.    จุดศูนย์รวมลูกค้า
3.    การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4.    การปรับกระบวนการทางธุรกิจ
5.    นวัตกรรมการผลิตตามคำสั่ง และการผลิตแบบสั่งทำในปริมาณมาก
6.    ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และอิคอมเฟิร์ช
7.    พันธมิตรทางธุรกิจ

อ้างอิง: รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์   สารสนเทศทางธุรกิจ      

สรุปบทที่ 2

สรุปบทที่ 2
         ระบบสารสนเทศ หมายถึง เซต หรือการรวมตัวของกระบวนการหลายกระบวนการของสารสนเทศ สำหรับงานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลเพื่อปรับรูปแบบของข้อมูลให้เข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศ ตลอดจนการกระจายสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์จากการประมวลผลสู่ผู้ใช้ระบบเพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจ
แบบจำลองระบบสารสนเทศ
        Hall( 2004,p.7 ) ได้กำหนดแบบจำลองระบบสารสนเทศที่ประกอบด้วยส่วนย่อยของแบบจำลองระบบสารสนเทศ 7 ส่วน ดังนี้
1.ผู้ใช้ขั้นปลาย
    ผู้ใช้ขั้นปลาย ( End Users ) ก็คือ ผู้ใช้สารสนเทศที่อยู่ภายในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ ซึ่งมีความต้องการใช้สารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์จากการประมวล ผลของระบบสารสนเทศโดยปกติประกอบด้วยผู้ใช้ 2 กลุ่ม คือ
     กลุ่มที่ 1 ผู้ใช้ภายนอก ( external users ) คือ ผู้ใช้ที่ประกอบด้วย เจ้าหนี้เงินกู้ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ตัวแทนหรือนายหน้า เจ้าหน้าที่ภาษีอากร ผู้ขายและลูกค้า ตลอดจนผู้ใช้ประเภทสถาบันการเงิน
     กลุ่มที่ 2 ผู้ใช้ภายใน ( internal users ) คือ ผู้บริหารระดับต่างๆ ขององค์การ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติการด้านต่างๆ โดยมุ่งเน้นถึงความต้องการสารสนเทศ  
2. ต้นทางข้อมูล
     ต้นทางข้อมูล ( Data Sources ) หรือแหล่งข้อมูล คือ ธุรกรรมทางการเงินที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน ดังนี้
      ส่วนที่ 1 ต้นทางข้อมูลภายนอก ( External Data Sources ) คือ ธุรกรรมทางการเงินที่ได้รับจากภายนอกธุรกิจ รวมทั้งข้อมูลการแลกเปลี่ยนทางการค้ากับหน่วยธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบองค์การหรือธุรกิจส่วนตัว
       ส่วนที่ 2 ต้นทางข้อมูลภายใน ( Internal Data Sources ) คือ ธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยน หรือความเคลื่อนไหวของทรัพยากรภายในองค์การ
3. การรวบรวมข้อมูล
       โดยปกติจะถือการรวบรวมข้อมูล ( Data Collection ) เป็นขั้นตอนแรก ซึ่งมีความสำคัญที่สุดของการดำเนินการภายในระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ด้านการรับข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่างๆให้เข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง สมเหตุสมผล ครบถ้วนสมบูรณ์ และปราศจากข้อผิดพลาดใดๆ ทั้งสิ้นโดยมีการสร้างระบบป้องกันความผิดพลาดจากการรับข้อมูลเข้า ส่งผลให้รายงานที่เป็นผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
4. การประมวลผลข้อมูล
     หลังจากที่ทำการรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องทำการประมวลผลข้อมูล ( Data Processing ) ทั้งในรูปแบบที่ง่ายและรูปแบบที่มีความซับซ้อน เช่น มีการใช้ขั้นตอนวิธีทางคณิตศาสตร์ของตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้นมาใช้เพื่อจัดตารางการผลิต หรืออาจใช้เทคนิคทางสถิติสำหรับการพยากรณ์ยอดขาย เป็นต้น โดยจำแนกการประมวลผลได้ 2 รูปแบบ คือ
      รูปแบบที่ 1 การประมวลผลแบบกลุ่ม ( Batch Processing ) โดยเก็บรวบรวมเอกสารหรือการค้าเป็นกลุ่มก้อนภายในระยะเวลาที่กำหนด หลังจากนั้น จึงรับข้อมูลเข้าและปรับยอดแฟ้มข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน มักใช้วิธีการประมวลผลข้อมูลแบบนี้กับรายการที่ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงข้อมูลทันที
        รูปแบบที่ 2 การประมวลผลแบบทันที ( Real - time Processing ) โดยมีการรับข้อมูลเข้าทันทีและทำการประมวลผลข้อมูลทันทีในทุกครั้งที่มีรายการค้าเกิดขึ้น ซึ่งในบางครั้งอาจจะมีการประมวลผลออนไลน์ ( Online Processing ) เพื่อช่วยให้ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
5. การจัดการฐานข้อมูล
     ฐานข้อมูลขององค์การ คือ หน่วยเก็บข้อมูลทางกายภาพสำหรับข้อมูลที่อาจมีความเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งอาจถูกจัดเก็บข้อมูลภายในตู้เอกสาร หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก ก็ได้ ส่วนข้อมูลที่จัดเก็บในฐานข้อมูล จะประกอบด้วยหน่วยเก็บข้อมูลที่เรียงลำดับจากหน่วยเล็กที่สุดไปหาหน่วยใหญ่ที่สุด คือ ลักษณะประจำ ( Attribute ) ระเบียน ( Record ) และแฟ้มข้อมูล ( File ) ในส่วนการจัดการฐานข้อมูล ( Database Management ) จะเกี่ยวข้องกับงานขั้นพื้นฐาน 3 งาน คือ การจัดเก็บ ( Storage ) การค้นคืน ( Retrieval ) และการลบ ( Deletion ) ในส่วนของการจัดเก็บ จะเกี่ยวข้องกับการสร้างกุญแจของข้อมูลใหม่ และจัดเก็บข้อมูลนั้นในตำแหน่งพื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสม ส่วนการค้นคืนนั้นจะทำการค้นหาตำแหน่งของข้อมูลและสกัดระเบียนข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ
6. การก่อกำเนิดสารสนเทศ
     การก่อกำหนดสารสนเทศ ( Information Generation ) ประกอบด้วยกระบวนการแปลโปรแกรมการจัดเก็บข้อมูล การกำหนดรูปแบบ รวมทั้งการนำเสนอสารสนเทศต่อผู้ใช้ โดยสารสนเทศที่ได้มักอยู่ในรูปแบบของเอกสารปฏิบัติงาน เช่น ใบสั่งขาย รายงาน หรือแม้แต่ข่าวสารบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
7. ผลป้อนกลับ
     ผลป้อนกลับ ( Feedback ) จะอยู่ในรูปแบบของรายงานที่เป็นผลลัพธ์ ซึ่งถูกส่งกลับไปยังระบบในฐานะของต้นทางข้อมูลภายในหรือภายนอกก็ได้ และยังอาจถูกนำไปใช้ในฐานะข้อมูลเริ่มต้นหรือข้อมูลสำหรับการปรับเปลี่ยน
บทบาทของระบบสารสนเทศ
        องค์การทางธุรกิจทุกประเภททั้งภาครัฐและเอกชน ล้วนแต่มีการติดตั้งและใช้งานระบบสารสนเทศอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นระบบ ซึ่งตั้งอยู่ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท และถือเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหาร ( Value chain )
1.โซ่คุณค่า
       Porter ( as quoted in Stair & Reynold,2006,p. 49 ) ได้กล่าวว่า การดำเนินงานทางธุรกิจปัจจุบัน องค์การจะต้องนำเสนอคุณค่าแก่ลูกค้าขององค์การโดยการเพิ่มคุณค่าของสินค้าหรือบริการ ซึ่งพร้อมส่งมอบให้ลูกค้าผ่านการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจต่างๆ ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การ เพื่อสร้างความพึ่งพอใจในการใช้สินค้าหรือบริการ
โซ่คุณค่า จะประกอบด้วยกิจกรรมหลักของการจัดการต้นทาง การผลิต และการจัดการตามทาง
2. ระบบคุณค่า
      ระบบคุณค่า ( Value System ) จะเป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมภายใต้โซ่คุณค่า ทุ้งภายในและภายนอกองค์การ ภายใต้รูปแบบโซ่อุปทาน ( Supply Chain ) โดยการใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือเชื่อมต่อห่วงโซ่คุณค่าขององค์การกับห่วงโซ่คุณค่าขององค์การภายนอก ซึ่งเป็นคู่ค้าเข้าด้วยกัน โดยมักอาศัยการดำเนินงานด้านการจัดการโซ่อุปทาน และการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ อีกทั้งมุ่งเน้นด้านการบรรลุเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
3. การสนับสนุนงานขององค์การ
     O’ brien ( 2005, P.8 ) ได้กล่าวถึงบทบาทของระบบสารสนเทศในส่วนการใช้เพื่อการสนับสนุนการทำงานขององค์การขององค์การภายใต้โซ่คุณค่าและระบบคุณค่า 3 ลักษณะดังนี้
3.1 การสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจ ในบางครั้งลูกค้าขององค์การจำเป็นจะต้องมีความเกี่ยวข้องระบบสารสนเทศ โดยเฉพาะในส่วนการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินงานภายในองค์การ
3.2    การสนับสนุนการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศจะให้ความสนับสนุนต่อผู้จัดการร้านค้าและนักธุรกิจมืออาชีพในส่วนของการตัดสินใจที่ดีขึ้น
3.3 การสนับสนุนความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน นอกจากจะมีการใช้สาสนเทศเพื่อการตัดสินใจแล้ว ในบางครั้งการได้รับสารสนเทศที่ดียังมีส่วนช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันเหนือธุรกิจอื่น
4. การเพิ่มมูลค่าให้องค์การ
      การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน ภายใต้โซ่คุณค่า และระบบคุณค่านั้น มักส่งผลกระทบถึงลูกค้าโดยตรง ดังนั้น การประมวลผลด้านสารสนเทศจะช่วยให้องค์การได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันเวลาที่ผู้จัดการหรือผู้บริหารเกิดความต้องการ ในส่วนของผลประโยชน์ที่เพิ่มมูลค่าให้องค์การนี้พิจารณาได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การลดต้นทุน และการเพิ่มประสิทธิผล
ระยะที่ 2 การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
ระยะที่ 3 การจัดการเชิงผลการปฏิบัติงาน
 การจำแนกประเภทระบบสารสนเทศ
            ระบบสารสนเทศมักจะประกอบด้วยระบบ ( System ) และระบบย่อย ( Subsystem ) Turban et al. ( 2006,pp.53 – 54 )ได้จำแนกประเภทของระบบสารสนเทศโดยใช้เกณฑ์ระดับขององค์การ โดยมีการจัดโครงสร้างตามลำดับชั้นที่ประกอบด้วยระบบย่อยหลายระบบจากล่างขึ้นบน เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.             ระบบสารสนเทศตามหน้าที่งาน
2.             ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ
ศุภิสราพร สุธาทิพยะรัตน์ ( 2548, หน้า 8 ) จำแนกประเภทสารสนเทศที่ใช้ภายในภายในวิสาหกิจโดยใช้เกณฑ์ระดับผู้ใช้งานภายในวิสาหกิจได้เป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ระบบสารสนเทศส่วนบุคคล
ประเภทที่ 2 ระบบสารสนเทศกลุ่มร่วมงาน
3.ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ
ระบบสารสนเทศบนเว็บ
       Turban et al. ( 2006,p.71 ) ได้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศบนเว็บ หมายถึง ระบบประยุกต์ซึ่งอาศัยอยู่บนเครื่องบริการ หรือแม่ข่าย ( Server ) ในส่วนการเข้าถึงข้อมูลอาจทำได้โดยใช้โปรแกรมด้านลูกข่ายกับระบบประยุกต์บนเว็บโดยใช้โพรโทคอล ( Protocol ) ของอินเตอร์ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ 2 ประการ ประการที่หนึ่ง คือ การสร้างเนื้อหาหรือข้อมูลจะถูกปรับให้เป็นปัจจุบันในทันที ประการที่สอง คือ การเข้าถึงข้อมูลบนเว็บด้วยวิธีการสากล ที่อาศัยเครือข่ายการสื่อสารหลัก คือ อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอกซ์ทราเน็ต นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้เว็บศูนย์รวมวิสาหกิจ ระบบอีคอมเมิร์ซบนเว็บ การแลกเปลี่ยน อิเล็กทรอนิกส์ ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่

   
อ้างอิง: รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์    

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สรุป

สรุปบทที่  1
ความรู้ด้านธุรกิจ
     ธุรกิจ  คือ  องค์การหนึ่งซึ่งเสนอขายสินค้าหรือบริการต่อลูกค้าเป้าหมาย   โดยมีวัตถุเพื่อแสวงหากำไร   ซึ่งสามารถจำแนกรูปแบบขององค์กรธุรกิจ  ได้ดังนี้
รูปแบบที่ 1  เจ้าของคนเดียว  คือองค์การขนาดเล็กที่มีบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของ  การจัดตั้งธุรกิจทำได้ง่าย  เจ้าของกิจการเป็นผู้ดำเนินงานเอง  ละรับผิดชอบในหนี้สินของรานโดยไม่จำกัดจำนวนเงิน
รูปแบบที่ 2   ห้างหุ้นส่วน  คือ กิจการที่มีบุคคลตั้งแต่  2คนขึ้นไป  เข้าร่วมลงทุนโดยมุ่งหวังกำไรซึ่งจำแนกได้เป็น  2  ประเภทคือ
1.             ห้างหุ้นส่วนสามัญ  คือผู้เป็นหุ้นส่วนจะร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวนเงิน  โดยจะมีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือไม่ก็ได้
2.             ห้างหุ้นส่วนจำกัด  คือ  ห้างหุ้นส่วนที่ประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน  2  ประเภท คือ ประเภทที่รับผิดชอบในหนี้สินอย่างไม่จำกัดจำนวนเงิน  และประเภทที่รับผิดชอบในหนี้สินโดยจำกัดแค่จำนวนเงินที่นำมาลงทุนเท่านั้น
รูปแบบที่  3  บริษัทจำกัด  คือ  กิจการที่ตั้งขึ้นในรูปนิติบุคคลด้วยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็นงวดๆโดยจำแนกออกเป็น  2  ประเภท  คือ  บริษัทเอกชนและบริษัทมหาชน
รูปแบบที่  4  รัฐวิสาหกิจ  หรือห้างหุ้นส่วนที่มีทุนจดทะเบียนของรัฐเกิน  50%
ประเภทของธุรกิจ   แบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ดังนี้
ประเภทที่ 1  หน่วยบริการ  ถือเป็นหน่วยธุรกิจที่นิยมอย่างสูง  ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมทางธุรกิจที่เรียบง่ายไม่มีความซับซ้อนเท่าใดนักมีจุดมุ่งหมายที่จะบริการลูกค้าและคิดค่าธรรมเนียมเป็นการตอบแทน  เช่น  สำนักงานบัญชี  ร้านเสริมสวย
ประเภทที่  2  หน่วยค้าสินค้า  หรือธุรกิจพาณิชยกรรม  มีกิจกรรมทางธุรกิจที่ซับซ้อนมากกว่าหน่วยบริการ  เป้าหมายคือการมุ่งเน้นที่จะซื้อสินค้าในราคาต่ำและขายในราคาสูงเพื่อนำส่วนต่างมาเป็นกำไรจากการขายและการดำเนินงาน  เช่น  ร้านขายคอมพิวเตอร์   ห้างสรรพสินค้า
ประเภทที่  3  หน่วยผลิตสินค้า  หรือธุรกิจอุตสาหกรรม  มีความซับซ้อนของกิจกรรมทางธุรกิจสูงสุด  เป้าหมายคือการมุ่งเน้นที่จะผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพในราคาต้นทุนที่ต่ำและขายสินค้าในราคาสูงเพื่อนำส่วนต่างของราคาขายและต้นทุนการผลิตต่อหนึ่งหน่วยสินค้ามาเป็นผลกำไรจาการผลิตและการขาย  เช่น  ผู้ผลิตรถยนต์  โรงงานอัดกระป๋อง
การจัดตั้งและการดำเนินงานทางธุรกิจ
    จุดเริ่มต้นของการดำเนินงานทางธุรกิจ  เจ้าของกิจการทุกรูปแบบจะตองนำเงินมาลงทุนร่วมกันเพื่อจัดตั้งหน่วยธุรกิจขึ้น   การดำเนินงานต่างๆจะต้องเป็นไปเพื่อหารายได้เข้าสู่องค์การขณะเดียวกันก็จะมีการสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กับลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย  โดยอาจเรียกการดำเนินการจัดตั้งธุรกิจว่า  การเสี่ยงลงทุน
    การจัดหาทรัพยากรมาใช้เพื่อการดำเนินงานทางธุรกิจ  ลงในธุรกิจภายใต้ส่วนของเจ้าของ   ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน  หรือส่วนของผู้ถือหุ้น  แต่หากเงินลงทุนไม่เพียงพอก็อาจกูยืมจากแหล่งภายนอกกิจการ  เช่น  ธนาคาร  เป้าหมายของการจัดหาทรัพยากร  คือ  เงินสด  สินค้า  วัสดุและอุปกรณ์สำนักงาน   สถานที่ประกอบกิจการ  รวมทั้งการว่าจ้างแรงงาน
กิจกรรมการดำเนินงาน  คือ  การดำเนินการด้านต่างๆ  ที่จำเป็นของธุรกิจเพื่อความอยู่รอดขององค์การ  โดยหมายรวมถึงสิ่งต่อไปนี้  คือ
กิจกรรมที่  1  การจัดหาวัตถุดิบ  หรือทรัพยากรอื่นๆ  เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ
กิจกรรมที่  2  การใช้ทรัพยากร  เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการนั้นๆ
กิจกรรมที่  3  การขาย  ตลอดจนการจำหน่ายสินค้าหรือบริการต่อลูกค้า
หน้าที่งานทางธุรกิจ 
   หน้าที่งานทางธุรกิจหรือฟังก์ชันทางธุรกิจมักถูกใช้เพื่อแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบภายใต้ภาระงาน  การกำหนดเขตพื้นที่ของแต่ละหน้าที่งานมักจะกำหนดตามไหลของทรัพยากรจากหน้าที่หนึ่งเข้าสู่อีกหน้าที่หนึ่ง
การจัดแบ่งงานทางธุรกิจจะแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ  ขนาดของธุรกิจ  และสายผลิตภัณฑ์
การตั้งชื่อหน้าที่งานทางธุรกิจยังแตกต่างกันไป  เช่นธุรกิจหนึ่งอาจเรียกทรัพยากรแรงงานว่า  บุคลากร ในขณะที่อีกธุรกิจหนึ่งเรียกว่า    ทรัพยากรมนุษย์
การจัดโครงสร้างองค์การ
  การดำเนินการทางธุรกิจส่วนใหญ่   จะดำเนินตามโครงสร้างองค์การของธุรกิจที่สะท้อนให้เห็นถึงอำนาจ  หน้าที่  และความรับผิดชอบของบุคลากรในองค์การ  โดยมีการปฏิบัติตามกิจกรรมการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน  ที่มีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
ความรู้ด้านสารสนเทศ
   ข้อมูล  คือคำพรรณนาถึงสิ่งของ  เหตุการณ์  กิจกรรม  และธุรกรรมซึ่งถูกบันทึก  จำแนกและจัดเก็บไว้ภายในแหล่งเก็บข้อมูล  แต่ยังไม่มีการจัดโครงสร้างเพื่อถ่ายโอนไปยังสถานที่เฉพาะเจาะจง  อาจอยู่ในรูปแบบ  ตัวอักษร  ตัวเลข   รูปภาพ  หรือเสียงก็ได้
ธุรกรรมแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  ดังนี้
ส่วนที่  1ธุรกรรมที่เป็นตัวเงิน  คือเหตุการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบกับมูลค่าสินทรัพย์  ส่วนของเจ้าของธุรกิจ  ซึ่งสะท้อนให้เห็นตัวเลขทางการบัญชีที่สามารถวัดมูลค่าเป็นตัวเงินได้
ส่วนที่  2  ธุรกรรมที่ไม่เป็นตัวเงิน  คือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบหรืออยู่ในความสนใจของธุรกิจ
   สารสนเทศ  คือ  ข้อมูลที่ถูกจัดโครงสร้างให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและมีมูลค่าต่อผู้รับ  โดยมีการนำข้อมูลผ่านกระบวนการประมวลผล  และจัดให้อยู่ในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน  อีกทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจ
    ความรู้  จะประกอบด้วย  ข้อมูลและสารสนเทศ  ซึ่งถูกจัดโครงสร้างและประมวลผล  เพื่อถ่ายโอนความเข้าใจ  ประสบการณ์และการเรียนรู้รวมทั้งความเชี่ยวชาญที่เก็บสะสมไว้ภายในฐานความรู้
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี 
   ประกอบด้วยคุณลักษณะ  6  ประการดังต่อไปนี้
1.             ความตรงกับกรณี
2.             ความทันต่อเวลา
3.             ความถูกต้อง
4.             ความครบถ้วนสมบูรณ์
5.             การสรุปสาระสำคัญ
6.             การตรวจสอบได้
มูลค่าของสารสนเทศ
  สารสนเทศมีความสำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจและก่อให้เกิดมูลค่าของสารสนเทศ  การพิจารณามูลค่าของสารสนเทศ  จะขึ้นกับความพอใจของผู้ใช้ประโยชน์ที่ได้รับเป็นสำคัญ
ข้อจำกัดของการใช้สารสนเทศ
  จำแนกข้อจำกัดของการนำสารสนเทศไปใช้อย่างระมัดระวังได้  2  ประการ
ประการที่  1  การเกิดภาวะของสารสนเทศที่มากเกินความจำเป็น  ผู้บริหารจะต้องระมัดระวังในเรื่องของปริมาณของสารสนเทศที่จัดส่งให้มีความเหมาะสมกับความต้องการ  และระยะเวลาที่จำกัดของการใช้สารสนเทศนั้นๆ
ประการที่  2  ธุรกิจส่วนใหญ่ที่มีการจัดทำรายงานเพื่อวัดผลการดำเนินงานนำเสนอต่อผู้บริหารขององค์การเพื่อกระตุ้นพนักงานให้มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักขององค์กร  แต่หากรายงานที่ใช้นั้นมีมาตรการวัดผลการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสมก็จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับความต้องการได้
เทคโนโลยีสารสนเทศ
   หมายถึง  ชุดของระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ภายในองค์การ   ที่ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์  ฐานข้อมูล  เครือข่ายและโทรคมนาคม   รวมทั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
    สรุปความเปลี่ยนแปลงได้เป็น  3   ระยะ  ดังนี้
ระยะที่  1  องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับจัดการงานประจำวันที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันในทุกวันทำการ
ระยะที่  2  องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะของเทคโนโลยีที่มีกรรมสิทธิ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน  โดยมีการลงทุนในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมากเพื่อพยายามรักษาความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีไว้
ระยะที่  3  องค์การมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในฐานะของเทคโนโลยีที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานมีการใช้งานร่วมกันระหว่างองค์การบนพื้นฐานของระบบเครือข่าย  อีกทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ยังอยู่ในฐานะสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพการใช้งานสูง  ราคาถูกและสามารถหาซื้อได้ง่าย  และมีความจำเป็นต่อการใช้งาน
ผลประโยชน์ที่องค์การควรได้รับจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดังนี้
1.                 เป็นการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
2.                เป็นการสร้างความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน
3.                เป็นการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4.                เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์การทั้งในทางตรงและทางอ้อม
5.                เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้นแรงงานและลดการใช้ทรัพยากรที่ซ้ำซ้อนลง
6.                เป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้
7.                เป็นการสร้างความแตกต่างระหว่างองค์การ
การใช้สารสนเทศในองค์กรธุรกิจ
1.                กระบวนการทางธุรกิจ  คอวิธีการทำงานที่มีลักษณะเฉพาะของการจัดระบบงานและการประสานงานทางธุรกิจโดยมุ่งเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสำหรับการส่งมอบให้ลูกค้า  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่  การทำคำสั่งซื้อของลูกค้าให้บรรลุผล  ตลอดจนการว่าจ้างแรงงาน  ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจ   กระบวนการทางธุรกิจคือการรวมตัวของ  3  ส่วนประกอบคือ  กระบวนการปฏิบัติการ  กระบวนการจัดการ  กระบวนการสารสนเทศ
2.                แนวทางการใช้สารสนเทศทางธุรกิจ    จำแนกระดับของการใช้ข้อมูลและสารสนเทศได้  2  ระดับ  คือ    ระดับปฏิบัติการ   และระดับบริหาร
3.                สายงานด้านสารสนเทศ  สามารถจำแนกสายงานด้านสารสเทศได้ดังนี้
-          สายงานด้านสารสนเทศในแนวดิ่ง  จำแนกได้เป็น  2  ประเภท  คือ  การรายงานผลการปฏิบัติงาน    การงบประมาณและการสั่งการ
-         สายงานด้านสารสนเทศในแนวนอน  จำแนกได้เป็น  2  ประเภท  คือ  การกระจายสารสนเทศภายในองค์การ  การกระจายสารสนเทศไปยังองค์การภายนอก  ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงกับองค์การภายนอก  2  กลุ่ม    กลุ่มที่  1  คือหุ้นส่วนธุรกิจ    กลุ่มที่  2 ผู้มีส่วนได้เสีย
สารสนเทศทางธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์
โลกาภิวัตน์  หมายถึง  การแพร่กระจายไปทั่วโลก
อินเตอร์เน็ต  หมายถึง  การเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งก่อให้เกิดการแพร่กระจายของสารสนเทศ
อีคอมเมิร์ซ   มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจสากล  ซึ่งมีอยู่  5 ข้อ  คือ
1.                ระบบเศรษฐกิจ   ระบบเศรษฐกิจภายใต้การดำเนินธุรกิจ  มักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  เศรษฐกิจยุคดิจิทัล    เศรษฐกิจยุคดิจิทัล  หมายถึงเศรษฐกิจหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล  เช่น  อินเตอร์เน็ต  อินทราเน็ต    ในบางครั้งนิยมเรียกเศรษฐกิจยุคดิจิทัลว่า  เศรษฐกิจยุคใหม่  เศรษฐกิจยุคอินเตอร์เน็ต  หรือเศรษบกิจยุคเว็บโดยมีการนำเสนอสารสนเทศบนแพลตฟอร์มทั่วโลก
2.                การจัดองค์การ  การดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์  จะปรากฏการจัดองค์การรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า  องค์การดิจิทัล   องค์การดิจิทัล  คือ  องค์การที่มีการทำงานในหลายมิติ   โดยอาศัยความสามารถด้านดิจิทัลและสื่อดิจิทัล  จัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจ  โดยพาะในส่วนที่ติดต่อกับลูกค้า  ผู้จัดหารวมทั้งลูกจ้างขององค์การ
3.                แบบจำลองของธุรกิจ  คือ  วิธีการดำเนินธุรกิจ  ที่ส่งผลให้บริษัทสามารถสร้างรายได้เพื่อค้ำจ้นองค์การให้อยู่รอด  ซึ่งจะอธิบายถึงวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเต็มใจจ่าย
4.                เครือข่ายคอมพิวเตอร์    เครือข่ายคอมพิวเตอร์  ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งก็คือ  โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ  และอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์แบบกระจายโดยมีการเชื่อมต่อของระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น  เช่น  เครือข่ายโทรคมนาคม
5.                โอกาสของผู้ประกอบการ
ได้กำหนดวิธีโต้ตอบหลักขององค์การไว้  7  วิธี  คือ  การจัดการเชิงกลยุทธ์  จุดศูนย์รวมลูกค้า    การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง   การปรับกระบวนการทางธุรกิจ  นวัตกรรมด้านการผลิตตามคำสั่ง  และการผลิตสั่งทำแบบปริมาณมาก   ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์   และพันธมิตรทางธุรกิจ  โดยวิธีการโต้ตอบทั้ง  7  วิธีนี้  มักเป็นวิธีการโต้ตอบที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน


อ้างอิง   รุจิจันทร์   พิริยะสงวนพงศ์.  สารสนเทศทางธุรกิจ. บริษัท วี พริ้น (1991)  จำกัด.