วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"เทคโนโลยีกับการเรียนรู้"

บทความทางวิชาการ
เรื่อง
"เทคโนโลยีกับการเรียนรู้"

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความรู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดภาพความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา เราเร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียนและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทางได้ ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทางของการศึกษา แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นจุดหมาย ปรากฎการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบคอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี และมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริง
เทคโนโลยีกับการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมี 3 ลักษณะ คือ
1. การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่ เรียนรู้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
2. การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะ บางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทางโทรทัศน์ที่ส่งผ่านดาวเทียม การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
3. การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง (interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น
การเรียนรู้ในลักษณะที่ 2 และ 3 เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ที่มีคุณค่ามหาศาล ซึ่งแนวคิดในการเพิ่มคุณค่าของเทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ มีดังนี้
๏ การใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางปัญญา(Intellectual Skills) คือกระบวนการที่มีองค์ประกอบสำคัญ คือ การรับรู้สิ่งเร้า(Stimulus), การจำแนกสิ่งเร้า
จัดกลุ่มเป็นความคิดรวบยอด(Concept), การเชื่อมโยงความคิดรวบยอดเป็นกฎเกณฑ์หลักการ (Rule) ด้วยวิธีอุปนัย (Inductive), การนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ใช้ด้วยวิธีนิรนัย (Deductive) และการสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ ๆ (Generalization)
ระบบคอมพิวเตอร์มีสมรรถนะสูงที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความฉลาดในกระบวนการทางปัญญานี้ โดยครูอาจจัดข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ ในวิชาที่สอน ให้ผู้เรียนฝึกรับรู้ แสวงหาข้อมูล นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นความคิดรวบยอดและใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแสดงแผนผังความคิดรวบยอด (Concept Map) โยงเป็นกฎเกณฑ์ หลักการ ซึ่งผู้สอนสามารถจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการนำกฎเกณฑ์ หลักการไปประยุกต์ จนสรุปเป็นองค์ความรู้อย่างมีเหตุผล บันทึกสะสมไว้เป็นคลังความรู้ของผู้เรียนต่อไป
๏ การใช้เทคโนโลยีพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดนั้น เราสามารถออกแบบแผนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีโอกาสทำโครงงานแสวงหาความรู้ตามหลักสูตร หาความรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ หรือเพื่อแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) การเรียนรู้ลักษณะนี้จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นเรื่อง (Theme) ตามมาด้วยการวางแผนกำหนดข้อมูลหรือสาระที่ต้องการ ผู้สอนอาจจัดบัญชีแสดงแหล่งข้อมูล (Sources) ทั้งจากเอกสารสิ่งพิมพ์และจากElectronic Sources เช่น ชื่อของ Web ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นคำตอบ สร้างเป็นองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วย และครูช่วยกำกับผลการเรียนรู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ต้องการ ทั้งนี้ครูจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยชี้แนะทิศทางของการแสวงหาความรู้หรือแนะนำผู้เรียนให้พัฒนาความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้ที่ควรจะเป็นการจัดปัจจัยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้
ปัจจัยพื้นฐานคือการสร้างความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีสมรรถนะและจำนวนเพียงต่อการใช้งานของผู้เรียน รวมถึงการอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถใช้เทคโนโลยีได้ตลอดเวลาจะเป็นปัจจัยเบื้องต้นของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ สิ่งที่ควรเป็นปัจจัยเพิ่มเติมคือ
- ครูสร้างโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ปัจจัยที่จะผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีอย่างคุ้มค่า คือการที่ครูออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมประกอบ
การเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่ต้องใช้กระบวนการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งจากการสังเกตในสถานการณ์จริง การทดลอง การค้นคว้าจากสื่อสิ่งพิมพ์และจากสื่อElectronic เช่น จาก Web Sites เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการทำโครงงานอิสระสนองความสนใจ เป็นกิจกรรมที่ต้องฝึกปฏิบัติจาก Software สำเร็จรูป เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอรายงานด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- ครูและผู้เรียนจัดทำระบบแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ปัจจัยด้านแหล่งข้อมูลสารสนเทศ (Information Sources) เป็นตัวเสริมที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มคุณค่าของระบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ครูและผู้เรียนควรช่วยกันแสวงหาแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีเนื้อหาสาระตรงกับหลักสูตรหรือสนองความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวบรวมแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เป็น Software ชื่อของ Web Sites รวมถึงการลงทุนจัดซื้อ Software จากแหล่งจำหน่าย การจ้างให้ผู้เชี่ยวชาญจัดทำ หรือจัดทำพัฒนาขึ้นมาเองโดยครูและนักเรียน
- สถานศึกษาจัดศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Learning Resources Center) เป็นตัวชี้วัดสำคัญประการหนึ่งของศักยภาพของสถานศึกษาที่จะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน ปกติมักนิยมจัดไว้เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด จนเกิดคำศัพท์ว่าห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)หรือ E – Library จะมีคุณประโยชน์ในการมีแหล่งข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าในวิทยาการสาขาต่าง ๆ ทั้งในลักษณะสื่อสำเร็จ เช่น Softwares แถบบันทึก วีดิทัศน์ รวมถึงCD – Rom และ CAI หรือ ชื่อ Web Sites ต่าง ๆ ซึ่งควรจัดทำระบบ Catalog และดัชนี ให้สะดวกต่อการสืบค้น
- การบริการของกรมหรือหน่วยงานกลางทางเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ กรมต้นสังกัดหรือหน่วยงานกลางด้านเทคโนโลยีควรส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของสถานศึกษาด้วยการบริการด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น จัดทำเอกสารรายเดือนรายงาน Softwareในท้องตลาด แจ้งชื่อ Web Sites ใหม่ ๆ พร้อมสาระเนื้อหาโดยย่อ จัดทำคลังข้อมูลความรู้Knowledge Bank เพื่อการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ผ่านสื่อ Electronic หรือสื่อทางไกลผ่านดาวเทียมเผยแพร่สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นประจำ นอกจากนี้การรวบรวมผลงานของครูและนักเรียนในการจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Best Practicesจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับครูและนักเรียนทั่วไปที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน
ในการจัดการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT นั้น ซึ่งการจัด T : Technology ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง เพราะถ้ามีงบประมาณก็จัดหาได้และสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีเป็นโดยไม่ยาก แต่สิ่งที่ขาดแคลนคือ I : Information หรือสารสนเทศ ที่จะเป็นเนื้อหาของการใช้เทคโนโลยี เพราะถ้าขาดข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนรู้ และขาดการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ตัวระบบเทคโนโลยีก็ไร้ความหมาย และสูญค่าคุณประโยชน์
ดังนั้นจึงมีความคาดหวังว่า ในอนาคตสถานศึกษา น่าจะได้พบกับความสมบูรณ์
ของระบบข้อมูลสารสนเทศที่หลากหลายผนวกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเทคโนโลยี และได้พบผลงานของครูและผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนการสอน

......................................................................

บรรณานุกรม
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. อินเทอร์เน็ต : เครือข่ายเพื่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์. 26(2) ,พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ 2541 : 55-66.
นิพนธ์ ศุขปรีดี. สัมมนาการวิจัยและทฤษฏีด้านบริการการศึกษา. ประมวลสาระชุดวิชา สัมมนาการวิจัย และทฤษฎีทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1-4.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.

การประยุกต์ใช้งาน Data Mining

การประยุกต์ใช้งาน Data Mining

• ธุรกิจค้าปลีกสามารถใช้งาน Data Mining ในการพิจารณาหากลยุทธ์ให้เป็นที่สนใจกับผู้บริโภคในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ที่ว่างในชั้นวางของจะจัดการอย่างไรถึงจะเพิ่มยอดขายได้ เช่นที่ Midas ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่ายอะไหล่สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ งานที่ต้องทำคือการจัดการกับข้อมูลที่ได้รับจากสาขาทั้งหมด ซึ่งจะต้องทำการรวบรวมและวิเคราะห์อย่างทันท่วงที
• กิจการโทรคมนาคม เช่นที่ Bouygues Telecom ได้นำมาใช้ตรวจสอบการโกงโดยวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานของสมาชิกลูกข่ายในการใช้งานโทรศัพท์ เช่น คาบเวลาที่ใช้จุดหมายปลายทาง ความถี่ที่ใช้ ฯลฯ และคาดการณ์ข้อบกพร่องที่เป็นไปได้ในการชำระเงิน เทคนิคนี้ยังได้ถูกนำมาใช้กับลูกค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งระบบสามารถตรวจสอบได้ว่าที่ใดที่เสี่ยงที่จะสูญเสียลูกค้าสูงในการแข่งขัน France Telecom ได้ค้นหาวิธีรวมกลุ่มผู้ใช้ให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยการสร้างแรงดึงดูดในเรื่องค่าใช้จ่ายและพัฒนาเรื่องความจงรักภักดีต่อตัวสินค้า
• การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ เก็บรวบรวมลักษณะและราคาของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดสร้างโมเดลด้วยเทคนิค Data Mining และใช้โมเดลในการทำนายราคาผลิตภัณฑ์ตัวอื่น ๆ
• การวิเคราะห์บัตรเครดิต
• ช่วยบริษัทเครดิตการ์ดตัดสินใจในการที่จะให้เครดิตการ์ดกับลูกค้าหรือไม่
• แบ่งประเภทของลูกค้าว่ามีความเสี่ยงในเรื่องเครดิต ต่ำ ปานกลาง หรือสูง
• ป้องกันปัญหาเรื่องการทุจริตบัตรเครดิต
• การวิเคราะห์ลูกค้า
• ช่วยแบ่งกลุ่มและวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อที่จะผลิตและเสนอสินค้าได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
• ทำนายว่าลูกค้าคนใดจะเลิกใช้บริการจากบริษัทภายใน 6 เดือนหน้า
• การวิเคราะห์การขาย
• พบว่า 70 % ของลูกค้าที่ซื้อโทรทัศน์แล้วจะซื้อวิดีโอตามมา ดังนั้นผู้จัดการจึงควรมุ่งไปลูกค้าที่ซื้อโทรทัศน์ แล้วจึงส่งเมล์ไปยังลูกค้าเหล่านั้นเพื่อที่จะเชิญชวน หรือให้ข้อเสนอที่ดี เพื่อให้ลูกค้ามาซื้อวิดีโอในครั้งต่อไป
• ช่วยในการโฆษณาสินค้าได้อย่างเหมาะสมและตรงตามเป้าหมาย
• ช่วยในการจัดวางสินค้าได้อย่างเหมาะสม
• Text Mining เป็นการปรับใช้ Data Mining มาอยู่ในรูปของข้อมูลตัวอักษรซึ่งเป็นรูปแบบของภาษาเครื่อง SDP Infoware ตัวอย่างของงานคือใช้เป็นเครื่องมือตรวจระดับความพึงพอใจของผู้ที่เข้าชมนิทรรศการโดยผ่านการประมวลผลจากแบบสอบถาม
• e-Commerce
• ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ลูกค้ามักเข้าไปที่ web ใดตามลำดับก่อนหลัง
• ช่วยในการปรับปรุง web site เช่น พิจารณาว่าส่วนใดของ web ที่ควรปรับปรุงหรือควรเรียงลำดับการเชื่อมโยงในแต่ละหน้าอย่างไรเพื่อให้สะดวกกับผู้เข้าเยี่ยม
Web Mining กับการทำธุรกิจ e-Commerce

ในการทำธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะในรูปของห้างร้าน บริการสั่งของทางไปรษณีย์ หรือการทำธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของธุรกิจก็คือ ความเข้าใจในตัวลูกค้า หรือกลุ่มลูกค้า ยิ่งรู้ข้อมูลมากทำให้เข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริงมากขึ้น โอกาสที่จะทำธุรกิจให้ตรงกับความต้องการของตลาดก็จะมีมากขึ้นไปด้วย
ข้อมูลของลูกค้าดังกล่าวมานี้ ความจริงแล้วมีให้นำมาใช้ได้มากมายอยู่แล้ว แต่อาจจะอยู่ในรูปที่เป็นได้ไม่ชัดเจน อันได้แก่ ข้อมูลที่รวบรวมไว้จากการบันทึกใน log file ของการใช้บริการ web หรือข้อมูลจากการสมัครสมาชิกในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถอำนวยประโยชน์ในการติดตามดูผู้ใช้ (user tracking ) ยิ่งผู้ใช้เข้าใช้ web บ่อยและนานขึ้น เราก็จะยิ่งมีโอกาสทราบและรู้จักกับผู้ใช้มากขึ้นเท่านั้น สำหรับข้อมูลดังกล่าวเกี่ยวกับผู้ใช้จะมีการวิเคราะห์ออกมาใน 3 ลักษณะดังต่อไปนี้
• Demographics เป็นข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ หรือสถานที่ของผู้ใช้ในขณะที่เข้าใช้บริการ web ซึ่งจะสามารถประมวลเป็นสถิติบริเวณที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้ใช้ส่วนมากได้
• Phychographics เป็นข้อมูลด้านจิตวิทยา ซึ่งแสดงถึงพฤติกรรม หรือค่านิยมในด้านต่าง ๆ ของผู้ใช้ โดยสามารถจะแบ่งแยกกลุ่มผู้ใช้ตามข้อมูลการเข้าใช้บริการ web ทั้งในแง่ของเวลาและเนื้อหา
• Technolographics เป็นข้อมูลที่แสดงถึงระดับความรู้และความสนใจในเทคโนโลยีด้าน ต่าง ๆ ของผู้ใช้ รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อเข้ามาด้วย ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาสินค้า และบริการให้น่าสนใจและเหมาะสมในแง่ของเทคโนโลยีได้ดีขึ้น
เมื่อนำข้อมูลที่วิเคราะห์แล้วทั้ง 3 ลักษณะนี้มาพิจารณาโดยละเอียด จะเกิดประโยชน์อย่างมากในการศึกษาเกี่ยวกับสภาพ และพฤติกรรมโดยรวมของประชากร ซึ่งจำนวนข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์มักจะมีจำนวนมาและให้ผลการวิเคราะห์ที่มีความแม่นยำสูง
อ้างอิง: นางสาวนิศารัตน์ จีนมหันต์

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 4

สรุปบทที่4
บทที่ 4 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ
แนวคิดและองค์ประกอบ
1. แนวคิด
องค์การธุรกิจได้นำระบบสารสนเทศมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงต้นทุนการใช้งานต่ำ ก่อให้เกิดระบบสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบ องค์การได้พัฒนาระบบประมวลผลธุรกรรม เพื่อบันทึกและประมวลผลยอดขาย รวมทั้งการประมวลผลธุรกรรมทางการเงินและการบัญชี ผลประโยชน์ที่ได้รับคือ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงานและช่วยลดต้นทุนด้านเอกสารที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างมหาศาลต่อองค์การ
อย่างไรก็ตามองค์การยังตระหนักถึงข้อมูลที่ได้รับจากระบบสารสนเทศมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้จัดการและผู้บริหารให้มีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงินหรือการจัดการทั่วไป โดยสนองตอบความต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ถือเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งของการพัฒนาระบบสารสนเทศ ดังนั้นองค์การจึงมีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการควบคู่ไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ในบางองค์การยังมีการพัฒนาระบบที่เป็นเป้าหมายพิเศษ
2. องค์ประกอบ
2.1 ฐานข้อมูล หมายถึง หน่วยเก็บและรวบรวมข้อมูลที่มีประโยชน์ซึ่งพร้อมสำหรับการให้บริการเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
2.2 การสื่อสาร หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยในการสรรหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลมาจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อนพข้อมูลมาใช้ประโยชน์ต่อไป
2.3 เครือข่ายข้อมูล หมายถึง การเชื่อมโยงข้อมูลภายในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมโยงระบบประยุกต์และฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน
2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง กระบวนการที่ใช้วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสารสนเทศที่นำไปใช้ตัดสินใจได้ทันที
2.5 การพัฒนากลยุทธ์ หมายถึง กระบวนการกำหนดกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจซึ่งเป็นอยู่ในขณะนั้น
การจัดการ
องค์การที่มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจจะช่วยนำเสนอในข้อมูลข่าวสารต่อบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การและใช้เป็นเครื่องมือช่วยจัดการงานด้านต่างๆซึ่งได้อธิบายรายละเอียดใน 2 หัวข้อย่อยดังนี้
1. แนวคิดและความหมาย
รอบบินส์และคูลเทอร์ ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การจัดการ คือ กระบวนการประสานงานเพื่อช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยใช้หลักการวัดผลดังนี้
ประสิทธิภาพ วัดได้จากทรัพยากรที่ใช้และผลผลิตี่ได้หากใช้ทรัพยากรน้อยและได้ผลผลิตมากกว่าเดิมถือว่ามีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล วัดได้จากความสามารถในการบรรลุเป้าหมายขององค์การในระยะยาวหากองค์การใดสามารถบรรลุทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถือว่าองค์การนั้นได้ผลผลิตสูง
สำหรับฟังก์ชันด้านการจัดการสามารถจำแนกได้ 5 ประการดังนี้
1. การวางแผน เป็นหน้าที่แรกซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ กรอบแนวคิด กระบวนการ ตลอดจนการประสานงานในกิจกรรมต่างๆ
2. การจัดองค์การเป็นการกำหนดกิจกรรมที่จะต้องทำ บุคลากรที่รับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ กลุ่มงาน รวมทั้งสายการบังคับบัญชา
3. การจัดบุคคลเข้าทำงาน เป็นการจัดวางบุคคลให้เหมาะสมกับงานทั้งด้านคุณภาพของบุคคลและปริมาณแรงงานที่ต้องการ ตลอดจนการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
4. การนำ เป็นการสั่งการหรือจูงใจให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันอย่างเต็มความสามารถเพื่อการบรรลุเป้าหมายและประโยชน์สูงสุดขององค์การ
5. การควบคุม เป็นการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานงานเพื่อการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานจากนั้นจึงทำการแก้ไขเพื่อให้สามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมาย
องค์การส่วนใหญ่ได้นำหลักการจัดการมาใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศโดยการนำเสนอข่าวสารที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนั้น มักมีการใช้สารสนเทศสำหรับทุกๆฟังก์ชัน
2. ผู้จัดการและผู้บริหาร
แต่ละองค์กรธุรกิจจะมีโครงสร้างองค์กรบ่งบอกระดับชั้นของบุคลากรในองค์การ อาจใช้ชื่อผู้จัดการหรือผู้บริหาร ขึ้นอยู่กับโครงสร้างขององค์การในที่นี้จะกล่าวถึงความหมายของผู้จัดการและผู้บริหารในภาพรวมดังนี้
ผู้จัดการและผู้บริหาร คือ บุคคลที่ทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยเป็นผู้ประสานงานในการดำเนินกิจกรรมต่างๆระหว่างแผนกงาน ทีมงาน และบุคคลภายนอกองค์การ โดยทั่วไปมีการจำแนกผู้จัดการและบริหารเป็น 3 ระดับคือ
2.1 ผู้บริหารระดับสูง คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ส่วนบนสุดของโครงสร้าง รับผิดชอบด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ จัดทำแผนระยะยาวเพื่อกำหนดทิศทาง เป้าหมาย กลยุทธ์ ทรัพยากรและนโยบายขององค์การ
2.2 ผู้บริหารระดับกลาง คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบสำหรับงานด้านการจัดการเชิงกลวิธี จัดทำแผนระยะปานกลางที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนนั้นจัดอยู่ในหน่วยธุรกิจหรือแผนก
2.3 ผู้จัดการระดับล่าง คือ ผู้ที่ปฏิบัติงานและรับผิดชอบสำหรับงานด้านการจัดการเชิงปฏิบัติการ มีหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของบุคคลผู้ปฏิบัติงานในแต่ละส่วนงานให้เป็นไปตามแผนเชิงกลวิธี โดยจัดทำแผนปฏิบัติงานเป็นแผนระยะสั้น มักเน้นการสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม บทบาททั่วไปของผู้จัดการและผู้บริหารทั้ง 3 ระดับมีดังนี้
ระดับที่ 1 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจำแนกได้ 3 บทบาท คือ
1. การเป็นตัวแทนและภาพลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมขององค์การ
2. การเป็นผู้นำองค์การกระตุ้นพนักงานให้มีความร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่
3. การประสานงานกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อสร้างความราบรื่นด้านการดำเนินงานขององค์การ
ระดับที่2 ด้านข้อมูลข่าวสารจำแนกได้ 3 บทบาทคือ
1. การเป็นตัวการด้านการไหลเวียนข่าวสารและติดตามตรวจสอบข้อมูล
2. การเป็นผู้กระจายข่าวสารให้พนักงานรับทราบ
3. การเป็นโฆษก ทำหน้าที่กระจายข่าวสารขององค์การไปสู่ภายนอก
ระดับที่3 ด้านการตัดสินใจจำแนกได้ 3 บทบาทคือ
1. การเป็นผู้ประกอบการโดยการคิดค้นและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
2. การเป็นนักแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปและเป็นคนกลางในการตัดสินปัญหานั้น
3. การเป็นผู้จัดสรรทรัพยากรซึ่งมีปริมาณจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การตัดสินใจ
1. แนวคิดและความหมาย
คือ กระบวนการเลือกทางเลือกที่จำเป็นสำหรับการบริหารงานโดยผู้บริหารจะต้องตัดสินใจเลือกทางเลือก ดังนั้นระบบสารสนเทศจะให้ข้อมูลเพื่อช่วยสนับสนุนในทุกๆขั้นตอนของการตัดสินใจ ทั้งช่วยจัดเตรียมข้อมูลซึ่งเป็นผลป้อนกลับที่เป็นผลลัพธ์ของการตัดสินใจ
2. แบบจำลองการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
Stair and Reynolds ได้กล่าวถึง เฮอร์เบิร์ติ ไซมอน ว่าเป็นผู้พัฒนาแบบจำลองการตัดสินใจซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ขั้นอัจฉริยะ คือ ขั้นของจำแนกและนิยามถึงปัญหาโอกาสทางธุรกิจไว้อย่างชัดเจนโดยเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวพันธ์กับสาเหตุและขอบเขตของปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 ขั้นออกแบบ คือ ขั้นของการพัฒนาทางเลือกของการแก้ปัญหาที่หลากหลายด้วยวิธีการต่างๆ
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตัวเลือก คือ ขั้นของการเลือกชุดปฏิบัติการที่ดีที่สุดโดยใช้เครื่องมือสื่อสารช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายและติดตามผลของการใช้ชุดปฏิบัติการนั้น
ขั้นตอนที่ 4 ขั้นทำให้เกิดผล คือ ขั้นของการนำชุดปฏิบัติการที่เลือกไว้ในขั้นตัวเลือกไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นกำกับดูแล คือ การประเมินผลการปฏิบัติการที่ถูกนำไปใช้โดยผู้ตัดสินใจและติดตามผลลัพธ์ของการตัดสินใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
3. การจำแนก
3.1 การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจของปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆกันทุกวัน เป็นลักษณะงานประจำสามารถเข้าใจได้ง่าย
3.2 การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่ใช้กฏเกณฑ์เป็นบางส่วน
3.3 การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก
4. รูปแบบการตัดสินใจ
4.1 ระดับบุคคล เป็นระดับการตัดสินใจในส่วนการใช้แบบแผนการรับรู้อธิบายถึงลักษณะนิสัยส่วนบุคคลในการตอบสนองต่อข่าวสารแบ่งได้ 2 รูปแบบคือ
รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
รูปแบบที่2 การตัดสินใจโดยใช้สามัญสำนึก
4.2 ระดับองค์การ เป็นระดับการตัดสินใจที่ถูกกระทำโดยกลุ่มบุคคลภายในองค์การ ซึ่งให้ความสำคัญกับโครงสร้างและนโยบายเป็นสำคัญ
รูปแบบที่ 1 การตัดสินใจตามรูปแบบราชการ คือ รูปแบบที่ใช้ในองค์การที่ปฏิบัติงานต่อเนื่องมาหลายปีและแบ่งหน่วยงานออกเป็นหลายหน่วยย่อย แต่ละหน่วยจัดการกับปัญหาเฉพาะที่ตนเชี่ยวชาญเท่านั้น
รูปแบบที่ 2 การตัดสินใจตามรูปแบบการปกครอง คือ รูปแบบที่ใช้ในองค์การที่มีการยกอำนาจการปกครองอยู่ในมือบุคคลเพียงไม่กี่บุคคล อาจมีความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันสำหรับการตัดสินใจ
รูปแบบที่ 3 การตัดสินใจตามรูปแบบถังขยะ คือ รูปแบบการตัดสินใจที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผล มักเกิดขึ้นจากาความบังเอิญ
สารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ
ศุภิสราพร สุธาทิพยะรัตน์ (2548, หน้า 25) ได้ให้นิยามไว้ว่า สารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ สารสนเทศที่ได้จากการสรุปข้อมูลจากฐานข้อมูลดำเนินงานขององค์การเพื่อให้เห็นภาพรวมและแนวโน้มทางการเงิน การตลาด และการผลิตของบริษัท ซึ่งมีคุณลักษณะที่ดี 7 ประการ คือ
1.สารสนเทศที่ช่วยให้ผู้บริหารทราบสถานการณ์ปัจจุบัน หรือระดับผลงานที่ทำได้
2. สารสนเทศด้านปัญหาจากการดำเนินงานและรายงานด้านโอกาสที่กำลังจะเกิดขึ้น
3. สารสนเทศด้านการเปลี่ยนแปลงที่มักส่งผลให้การดำเนินงานของธุรกิจหยุดชะงัก
4. สารสนเทศเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นในอนาคต
5. สารสนเทศที่แจ้งให้ทราบถึงผลดำเนินงานของธุรกิจ ทั้งในส่วนผลประกอบการ ส่วนแบ่งตลาด และยอดขายในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ รวมทั้งผลดำเนินงานที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
6. สารสนเทศภายนอกเกี่ยวกับข้อคิดเห็น คู่แข่ง และการเปลี่ยนแปลงทางการเงิน การตลาด
7. สารสนเทศที่แจกจ่ายออกสู่ภายนอก เพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นและผู้สื่อข่าวทราบ
นอกจากนี้ Stair and Reynolds (2006, p.460) ได้จำแนกประเภทของสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. รายงานตามกำหนดการ คือ รายงานที่ผลิตขึ้นตามงวดเวลาหรือตามตารางเวลาที่วางไว้ เช่น การใช้รายงานสรุปรายสัปดาห์ของผู้จัดการผลิต ซึ่งแสดงถึงต้นทุนเงินเดือนทั้งหมด เพื่อผลสำหรับการติดตามและควบคุมต้นทุนค่าแรงและต้นทุนงาน โดยมีการอกกรายงานวันละ 1 ครั้ง
2. รายงานตัวชี้วัดหลัก คือ รายงานสรุปถึงกิจกรรมวิกฤติของวันก่อนหน้านี้ และใช้เป็นแบบฉบับของการเริ่มต้นกิจกรรมใหม่ ซึ่งจะสรุปถึงระดับสินค้าคงเหลือ กิจกรรมผลิต ปริมาณขาย โดยมักมีการนำเสนอต่อผู้จัดการและผู้บริหาร
3. รายงานตามคำขอ คือ รายงานที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสารสนเทศตามที่ผู้ใช้ร้องขอ คือ การผลิตรายงานตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ผู้บริหารต้องการทราบสถานะของผลิตภัณฑ์เฉพาะรายการ
4. รายงานตามยกเว้น คือ รายงานที่มักมีการผลิตขึ้นอย่างอัตโนมัติ เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติหรือเกิดความต้องการพิเศษทางการจัดการ
5. รายงานเจาะลึกในรายละเอียด คือ รายงานที่ช่วยสนับสนุนรายละเอียดที่เพิ่มขึ้นภายใต้สถานการณ์หนึ่ง เช่น มองยอดขายรวมของบริษัท แล้วค่อยมองข้อมูลในส่วนที่เป็นรายละเอียด
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1. ระบบประมวลผลธุรกรรม
Stair and Reynolds (2006, p.25) ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า คือ ชุดขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่น บุคลากร กระบวนการ ซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลและอุปกรณ์ ซึ่งถูกรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบเพื่อนำมาใช้บันทึกรายการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ตลอดจนหน้าที่งานทางธุรกิจ
ระบบพื้นฐานทางธุรกิจ ซึ่งมักถูกพัฒนาเป็นระบบคอมพิวเตอร์ระบบแรก คือ ระบบเงินเดือน สิ่งรับเข้า คือ จำนวนชั่วโมงแรงงานของลูกจ้างในช่วงหนึ่งสัปดาห์ และอัตราการจ้างเงินเดือน สิ่งส่งออก คือ เช็คเงินเดือน ระบบเงินเดือน
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
Laudon and Laudon (2005, p.46) ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่าง และระดับกลางเพื่อการนำเสนอรายงาน ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเฉพาะด้านและข้อมูลในอดีต มุ่งตอบสนองความต้องการของบุคลากรภายในองค์การมากกว่าความต้องการของหน่วยงานภายนอกองค์การ
Stair and Reynolds (2006, p.27) ได้ให้นิยามไว้ว่า เป็นระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อการนำเสนอสารสนเทศประจำวันต่อผู้จัดการและผู้ตัดสินใจในหน้าที่งานต่าง ๆ จุดมุ่งหมาย คือ ประสิทธิภาพเบื้องต้นของการดำเนินงานด้านการตลาด การผลิต การเงินที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลในฐานข้อมูลรวมขององค์การ
เอ็มไอเอส เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันแกองค์กรธุรกิจ โดยการสนับสนุนด้านสารสนเทศที่ถูกต้อง จุดมุ่งหมาย คือ ให้การสนับสนุนด้านการบรรลุเป้าหมายของการบริหารงานในองค์การ เพื่อควบคุม จัดโครงสร้าง และวางแผนที่ได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
3.1 แนวคิดและความหมาย
Stair and Reynolds (2006, p.27) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ ดีเอสเอส เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการแก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง จุดมุ่งหมาย คือ การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิผล โดยเอ็มไอเอสจะให้การสนับสนุนองค์การทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง
Turban et al (2006, p.465) ได้ให้นิยามไว้ว่า คือ ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมตัวแบบและข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ปัญหากึ่งโครงสร้างและปัญหาไม่มีโครงสร้าง ซึ่งมักครอบคลุมการตัดสินใจของผู้ใช้ และเป็นระบบที่แสดงถึงแนวโน้มหรือปรัชญามากกว่าหลักการที่ถูกต้องแม่นยำ
เหตุผลของการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีดังนี้
1. ผู้บริหารเกิดความต้องการสารสนเทศใหม่ ๆ ที่มีความถูกต้องแม่นยำ
2. การดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่มีเสถียรภาพ ด้วยเหตุนี้ ระบบสารสนเทศที่มีเดิม มักไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนเป้าหมายของธุรกิจ
3. หน่วยงานระบบสารสนเทศ ไม่ค่อยรับรู้ถึงความต้องการที่หลากหลายของบริษัท ยังขาดฟังก์ชันด้านการวิเคราะห์ธุรกิจ ซึ่งจำเป็นต่อการบริหารและตัดสินใจ
4. เกิดความเคลื่อนไหวของคอมพิวเตอร์ด้านผู้ใช้ขั้นปลาย


3.2 สมรรถภาพของระบบ
Turban et al (2006, p. 466) ได้ระบุถึงสมรรถภาพโดยรวมของระบบ ดังนี้
1. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ในทุกระดับชั้นของผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจรายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ตาม มักใช้กับปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
2. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ ทั้งในส่วนการตัดสินใจเชิงสัมพันธ์และเชิงลำดับ
3. สามารถใช้ดีเอสเอสได้ทุก ๆ ระยะของกระบวนการตัดสินใจ
4. ผู้ใช้สามารถปรับระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานภายใต้เวลาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
5. ระบบที่ใช้มักง่ายต่อการสร้าง และสามารถใช้ได้หลายกรณี
6. ระบบที่ใช้จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ และการกลั่นกรองระบบประยุกต์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
7. ระบบที่ใช้ประกอบด้วยตัวแบบเชิงปริมาณที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล
8. ระบบดีเอสเอสชั้นสูง มักถูกใช้เครื่องมือภายใต้การจัดการความรู้
9. ระบบอาจถูกแพร่กระจายการใช้งานผ่านเว็บ
10. ระบบอาจถูกใช้สนับสนุนการปฏิบัติ ด้านการวิเคราะห์ความไว
3.3 ลักษณะเฉพาะของระบบ
3.3.1 การวิเคราะห์ความไว คือ การศึกษาผลกระทบของการใช้ตัวแบบในส่วนต่าง ๆ ของระบบ ที่สามารถตรวจสอบผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรนำเข้าที่มีต่อตัวแปรซึ่งเป็นผลลัพธ์ของการตัดสินใจ (Turban et al., 2006, p.466)
3.3.2 การค้นหาเป้าหมาย คือ กระบวนการกำหนดข้อมูลที่เป็นปัญหาซึ่งต้องการคำตอบของการแก้ปัญหานั้น (Stair & Reynolds, 2006,p.481)
3.3.3 การจำลอง โดยทำการสำเนาลักษณะเฉพาะของระบบจริง เช่น จำนวนครั้งของการซ่อมแซมส่วนประกอบของกุญแจ จะต้องคำนวณเพื่อกำหนดผลกระทบต่อจำนวนผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถผลิตได้ในแต่ละวัน
3.4 โครงสร้างและส่วนประกอบของระบบ
Turban et al. (2006, p.466) ได้ระบุไว้ว่า ส่วนประกอบของดีเอสเอส ควรประกอบไปด้วย
3.4.1 ระบบจัดการข้อมูล ข้อมูลที่ไหลเวียนจากหลาย ๆ แหล่ง และถูกนำมาสกัดเป็นข้อมูลเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลของดีเอสเอส หรือโกดังข้องมูล
3.4.2 ระบบจัดการตัวแบบ โดยมักใช้ตัวแบบเชิงปริมาณสำหรับซอฟต์แวร์มาตรฐานด้านการเงิน สถิติ และวิทยาการจัดการ
3.4.3 ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ครอบคลุมถึงการสื่อสาระหว่างผู้ใช้ระบบในบางระบบที่ถูกพัฒนาอย่างชำนาญการ เช่น ความง่ายของการโต้ตอบกับระบบจะช่วยสนับสนุนให้ผู้จัดการและพนักขายเต็มใจใช้ระบบ
3.4.4 ผู้ใช้ขั้นปลาย คือ บุคคลผู้ซึ่งเผชิญหน้ากับปัญหาหรือการตัดสินใจ คือ ผู้จัดการหรือผู้ตัดสินใจนั่นเอง
3.4.5 ระบบจัดการความรู้ ใช้สำหรับการแก้ปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ซึ่งต้องการความรู้ความชำนาญมาช่วยหาคำตอบของปัญหาเหล่านั้น
3.5 กระบวนการทำงาน ส่วนประกอบของดีเอสเอส คือ ซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่ทำงานบนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์มาตรฐาน เช่น มัลติมีเดีย โดยอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผ่นตารางทำการ
4. ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
Stair and Reynolds (2006, p.491) ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสนับสนุนผู้บริหาร หรืออีเอสเอส ในบางครั้งเรียกว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง หรืออีไอเอส คือ ระบบซึ่งประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล กระบวนคำสั่ง และบุคลากร ที่ใช้สนับสนุนด้านการตัดสินใจของผู้บริหารระดับอาวุโส
4.1 วิสัยทัศน์ อีเอสเอส คือ รูปแบบพิเศษของระบบที่ใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนการใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาด้านต่าง ๆ
4.2 คุณลักษณะ
1. เป็นระบบเชิงโต้ตอบที่ถูกสั่งทำโดยผู้บริหารรายบุคคล
2. เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อน ง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน
3. เป็นระบบที่มีความสามารถเจาะลึกในรายละเอียดของแหล่งข้อมูล
4. เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการข้อมูลภายนอกองค์การ
5. เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจภายใต้สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอน
6. เป็นระบบที่ใช้กำหนดทิศทางในอนาคตขององค์การ
7. เป็นระบบที่ถูกเชื่อมโยงด้วยมูลค่าเพิ่มของกระบวนการทางธุรกิจ
4.3 สมรรถภาพของระบบ
4.3.1 การสนับสนุนด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ เป็นงานหลักที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูง
4.3.2 การสนับสนุนด้านการวางแผนกลยุทธ์ โดยใช้เครื่องมือกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาว วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์การ
4.3.3 การสนับสนุนด้านการจัดการองค์การ และการจัดคนเข้าทำงาน ใช้วิเคราะห์ผลกระทบต่อการตัดสินใจด้านการจัดคนเข้าทำงาน การยกระดับการจ่ายเงินเดือน
4.3.4 การสนับสนุนด้านการควบคุมกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือด้านการติดตามดูแลการดำเนินงานในภาพรวมขององค์การ การแสวงหาเป้าหมาย การจัดสรรทรัพยากร
4.3.5 การสนับสนุนด้านการจัดการเชิงวิกฤติ โดยองค์การอาจต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติต่าง ๆ เช่น วิกฤติเศรษฐกิจ การเกิดพายุ น้ำท่วม เป็นต้น
เทคโนโลยีทางการจัดการ
1. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม
Turban et al. (2006, p.470) ได้ให้นิยามว่า คือ ระบบพื้นฐานของการใช้คอมพิวเตอร์เชิงโต้ตอบ ที่อำนวยความสะดวกด้านการค้นหาคำตอบของปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ถูกนำมาใช้โดยกลุ่มตัดสินใจที่มุ่งเน้นการสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ
Stair and Reynolds (2006, p.488) ได้ระบุคุณลักษณะสำคัญของจีดีเอสเอส ซึ่งจะนำมาลบล้างการปฏิบัติหน้าที่ของกลุ่มร่วมงานที่มักเกิดความขัดแย้งของกระบวนการกลุ่ม ดังนี้
1. การไม่ระบุชื่อผู้นำเข้าข้อมูล
2. การลดพฤติกรรมกลุ่มด้านการคัดค้าน
3. การสื่อสารทางขนานตามวัฒนธรรมการประชุมแบบเดิม
2.ห้องตัดสินใจ
เป็นสถานการณ์ในอุดมคติ ซึ่งถูกติดตั้งในอาคารเดียวกันกับผู้ตัดสินใจหรือในพื้นที่ภูมิศาสตร์เดียวกัน และผู้ตัดสินใจ คือ ผู้ใช้เฉพาะกาลของจีดีเอสเอส โดยอีกทางเลือกหนึ่งของห้องตัดสินใจ คือ การรวมส่วนประกอบของระบบโต้ตอบด้วยวาจาแบบเผชิญหน้า ด้วยการรวมตัวของกลุ่มเทคโนโลยี
3. ปัญญาประดิษฐ์
หรือ เอไอ ซึ่งเป็นระบบลอกเลียนแบบคุณลักษณะอันชาญฉลาดของมนุษย์ Stair and Reynolds (2006, p.29) ได้ระบุไว้ว่า ปัญญาประดิษฐ์ จะประกอบด้วยสาขาย่อย เช่น วิทยาการหุ่นยนต์ ระบบภาพ การประมวลภาษาธรรมชาติ โครงข่ายประสาท ระบบการเรียนรู้ รวมทั้งระบบผู้เชี่ยวชาญ
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ
คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถแนะนำและกระทำการ ดังเช่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้น ๆ มูลค่าพิเศษของระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ การให้เครื่องมือในการจับและใช้ความรอบรู้ของผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รวมทั้งใช้ในด้านการติดตามงานระบบงานที่ซับซ้อน เพื่อการบรรลุด้านมูลค่าเพิ่มหรือรายได้ที่เหมาะสมซึ่งจะถูกบรรจุไว้ภายในฐานความรู้
5. ความเป็นจริงเสมือน
คือ การจำลองความจริงและสภาพแวดล้อมที่ถูกคาดการณ์ขึ้นด้วยแบบจำลอง 3 มิติ Stair and Reynolds (2006, p.31) ได้กล่าวถึง โลกเสมือน คือ การแสดงระดับเต็มที่สัมพันธ์กับขนาดของมนุษย์ โดยการติดตั้งรูปแบบ 3 มิติ สำหรับอุปกรณ์รับเข้าของความเป็นจริงเสมือนที่หลากหลาย เช่น จอภาพบนศีรษะ ถุงมือข้อมูล ก้านควบคุม และคทามือถือที่เป็นตัวนำทางผู้ใช้ผ่ายสิ่งแวดล้อมเสมือน
อ้างอิง : รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์. สารสนเทศทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ :

แบบฝึกหัดบทที่ 3

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3
1. วัตถุประสงค์ของการวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์คืออะไร
= การวางแผนการปฏิบัติงานในระยะยาวและระยะสั้นเพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
2. จงอธิบายแนวโน้มของการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
= การนำหรือการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผู้ใช้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุดเนื่องจากเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและมีความซับซ้อนสูง
3. จงยกตัวอย่างการใช้แผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ช
= การประกอบธุรกรรมทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ที่เป็นรูปแบบของการสับเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิคส์ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการโซ่อุปทาน การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิคส์ ตลาดอิเล็กทรอนิคส์ รัฐบาลอิเล็กทรอนิคส์ การพาณิชย์แบบเคลื่อนที่ และการพาณิชย์แบบร่วมมือ
4. หน่วยงานของรัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในลักษณะใด
= การติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนข้อมูล
5. จงระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์การควรจะได้รับอันสืบเนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ
= 1. เป็นการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้โดยบุคลากรสามารถเรียนรู้การใช้ชุดคำสั่งของระบบประยุกต์เพื่อการปฏิบัติงานที่เกิดผลประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
2. เป็นการสร้างความยืดหยุ่นการปฏิบัติงาน การัดการ และการตัดสินใจ
3. เป็นการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4. เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและทรัพยากรที่ซ้ำซ้อนลง
6. เป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้
7. เป็นการสร้างความแตกต่างระหว่างองค์การที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับองค์การที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6. การจัดซื้อซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ขององค์การขนาดเล็กจะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง
= ควรเลือกซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองแล้วนั้น ความต้องการข้อมูลมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อาจเลือกใช้แนวทางการใช้บริการภายนอกหรือการพัฒนาระบบขึ้นใช้งานในธุรกิจการเองก็ได้แล้วแต่ความพร้อมในด้านต่างๆ ของธุรกิจ
7. ข้อได้เปรียบของการใช้บริการภายนอกเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้ในองค์การคืออะไร
= คือ รูปแบบของการจัดจ้างองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาซอฟแวร์เชิงพาณิชย์จัดอยู่ในรูปแบบสนับสนุนจากผู้ขายซึ่งก็คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ถูกสั่งทำขึ้นโดยผ่านการอกแบบการทำให้เกิดผลและการบำรุงรักษาซอฟแวร์ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า
8. วิธีการพัฒนาระบบรูปแบบใดที่สอดคล้องกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่าง
= วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ
9. วิธีการพัฒนาระบบใดที่เน้นความร่วมมือของผู้ใช้ในการพัฒนาระบบใดมากที่สุด
= วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ
10. เพราะเหตุใดการใช้แบบจำลองน้ำตกจึงถือเป็นการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม
= เนื่องจากหากต้องการพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่มักใช้วิธีการพัฒนาแบบจำลองน้ำตกเนื่องจากว่าแบบจำลองน้ำตกเป็นวิธีการที่มีความละเอียดมากที่สุดเพราะหากว่าภายในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งมีความผิดพลาดแล้วจะต้องกลับมาแก้ไขใหม่ตั้งแต่ต้นซึ่งแตกต่างจากวิธีอื่นๆ
11. เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลมักใช้ในขั้นตอนใดของการพัฒนาระบบและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้และทีมงานพัฒนาระบบอย่างไร
= การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกันทั้งผังสามารถดำเนินการพัฒนาระบบจนได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ
12. จงเขียนแผนภาพกระแสงาน ของระบบทะเบียนนักศึกษาในส่วนของการลงทะเบียนเรียน การเข้าชั้นเรียนตลอดจนการวัดผลประเมินผลการเรียน

นักศึกษาลงทะเบียน - นักศึกษา คอมพิวเตอร์ ( อินเตอร์เน็ต )
เรียนผ่านระบบออนไลน์
เส้นแบ่งเขตระหว่างนักศึกและผู้ให้บริการ

สรุปบทที่ 3

สรุปบทที่ 3
การพัฒนาระบบสารสนเทศ
การพัฒนาระบบสารสนเทศ คือ ทิศทางหนึ่งของการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ภายในองค์การ การศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศจึงเป็นส่วนสำคัญ ที่ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจเทคนิคของการศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบระบบสารสนเทศ รวมทั้งวิธีการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ การทำระบบสารสนเทศให้เกิดผล และการประเมินผลการใช้งานระบบสานสนเทศนั้น
การวางแผนระบบสารสนเทศ
ในส่วนการวางแผนระบบสารสนเทศ จะขอแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อย คือ แนวคิด กลยุทธ์ธุรกิจ กระบวนการวางแผน และการวางแผนเชิงกลยุทธ์
การเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
จำแนกเป็น 2 หัวข้อ คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
ในส่วนนี้ เป็นการเกริ่นนำถึงเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมนำมาใช้ในธุรกิจองค์กรธุรกิจสมัยใหม่ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในด้านการติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนของข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย
1.1 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
1.2 เทคโนโลยีฐานข้อมูล
1.3 เทคโนโลยีอีคอมเมิร์ช
1.4 เทคโนโลยีด้านการรับชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการ
1.5 เทคโนโลยีด้านความมั่นคงของระบบข้อมูล
1.6 เทคโนโลยีการทำดิจิทัลให้เหมาะสมที่สุด
1.7 เทคโนโลยีไร้สาย
1.8 เทคโนโลยีสำนักงานเสมือน
1.9 เทคโนโลยีระบบประยุกต์ด้านการสื่อสาร
2. แนวโน้มเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
Turban et al ( 2006, p. 27 ) ได้ระบุแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต ซึ่งผู้บริหารขององค์กรควรคำนึงถึง เพื่อทำการคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะนำมาใช้ร่วมกับระบบสานสเทศที่กำลังได้รับการพัฒนา ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ดังนี้
2.1 ชิป
2.2 หน่วยเก็บ
2.3 สภาพแวดล้อมเชิงอ็อบเจกต์
2.4 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ซ่อมบำรุงด้วยตนเอง
2.5 คอมพิวเตอร์แบบควอนตัม
การพัฒนาระบบ
การพัฒนาระบบ คือแนวทางหนึ่งของการได้มาซึ่งระบบสารสนเทศ เพื่อใช้ในองค์การ ถือเป็นแนวทางที่อาจใช้เงินลงทุนและช่วงเวลาในการพัฒนาระบบสูง ต้องสร้างทีมงานพัฒนาระบบขึ้นภายในองค์กรเองแต่ระบบที่มักตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด ในส่วนนี้จะกล่าวถึงหัวข้อยย่อย 3 หัวข้อ คือ ระเบียบวิธีพัฒนาระบบ วิศวกรรมสารสนเทศ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับการพัฒนาระบบ
1. ระเบียบวิธีพัฒนาระบบ
1.1 วิธีการพัฒนาโดยใช้แบบจำลองน้ำตก
1.1.1 แบบอนุรักษ์โดยใช้แบบจำลองน้ำตก
1.1.2 แบบตรวจทบทวน
1.1.3 แบบเหลื่อม
1.2 วิธีการพัฒนาโดยใช้ต้นแบบ
1.3 วิธีการพัฒนาระบบประยุกต์อย่างเร็ว
1.4 วิธีการพัฒนาแบบยืดหยุ่น
1.5 วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ
2. วัฏจักรการพัฒนาระบบ
2.1 การวางแผนระบบ
2.1.1 การกำหนดและเลือกโครงการ
2.1.2 การริเริ่มและและวางแผนโครงการ
2.2 การวิเคราะห์ระบบ
2.3 การออกแบบระบบ
2.4 การทำให้เกิดผล
2.4.1 การพัฒนาโปรแกรม มีดังนี้
1. มีการสร้างฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างตามที่ได้ออกแบบไว้
2. มีการพัฒนาโปรแกรมจากที่ได้วิเคราะห์และ ออกแบบไว้
3. มีการเลือกภาษาที่เหมาะสม และพัฒนาต่อได้ง่าย
4. มีการใช้เครื่องมือเคสช่วยพัฒนาระบบ
5. มีการจัดทำเอกสารประกอบการพัฒนาโปรแกรม
2.4.2 การทดสอบโปรแกรม
2.4.3 การอบรมผู้ใช้
2.4.4 การทำให้เกิดผล
2.4.6 การประเมินผลระบบ
2.5 การสนับสนุนระบบ เป็นการติดตามดูแลการปฏิบัติงาน รวมทั้งผลประโยชน์ที่องค์กรต้องการจะได้รับจากการใช้ระบบใหม่
3. วิศวกรรมสารสนเทศ
ในส่วนวิศวกรรมสารสนเทศ ( Information Engineering : IE ) นับเป็นวิธีที่มีความสอดคล้องกับการพัฒนาระบบโดยมักนำมาใช้ร่วมกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่างที่ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผนกลยุทธ์สารสนเทศ การวิเคราะห์ส่วนของธุรกิจ การออกแบบระบบ และการสร้างระบบ
3. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบ
4. หน้าที่หนึ่งของระบบสารสนเทศ คือ การวางแผนกลยุทธ์ในระยะยาวของธุรกิจ ดังนั้นในการพัฒนาระบบสารสนเทศควรต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐาน 3 ปัจจัย ดังนี้
- กลยุทธ์ของธุรกิจ
- เทคโนโลยีสารสนเทศ
- วัฒนธรรมองค์การ

เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสข้อมูล
แผนภาพกระแสข้อมูลเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่นิยมนำมาใช้วิเคราะห์ระบบเชิงโครงสร้างเพื่อแสดงทิศทางการส่งผ่านข้อมูลในระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลรับเข้าและข้อมูลส่งอออกกับกระบวนการ ที่บ่งชี้ถึงขั้นตอนการทำงานของระบบ แต่ไม่สื่อให้เห็นถึงวิธีประมวลของระบบ
เทคนิคการใช้แผนภาพกระแสงาน
แผนภาพกระแสงาน เป็นอีกงานหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้พัฒนาระบบและผู้ใช้ระบบ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันถึงระบบที่กำลังเป็นเป้าหมายของการพัฒนา อีกทั้งยังใช้แสดงทิศทางของกระแสงานที่เกิดขึ้นภายในระบบ ทั้งในส่วนของต้นทางข้อมูล กระบวนการ และหน่วยเก็บข้อมูล รวมทั้งเอกสารส่งออกจากระบบ เพื่อนำส่งต่อผู้รับสารสนเทศ อีกด้วย
การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
ประเด็นหนึ่งของการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในงานภายในองค์ ผู้บริหาร จะต้องมีการวางแผน จัดการ และควบคุมการทรัพยากรสารสนเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
องค์การมักใช้ความสำคัญกับการจัดตั้งหน่วยงานสารสนเทศขึ้นภายในธุรกิจเนื่องจากมีการรับรู้และเข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ
บุคลากรด้านสานสนเทศ
ในแต่ละหน่วยงานสารสนเทศขององค์การธุรกิจ จำเป็นต้องมีบุคลากรสารสนเทศปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานให้สำเร็จลุล่วงได้ดี โดยบุคลากรจะต้องมีความรู้ทักษะ และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับงานด้านสารสนเทศ

อ้างอิง: รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทความเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว

เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

www.sanook.com

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษาวอล - มาร์ต

กรณีศึกษาวอล – มาร์ต
แหล่งข่าวจากเอ็ม อินลายน์ ให้ข้อมูลว่า ในการอบรมผู้นำครั้งนี้ ไมเคิล เบิร์กดัล จะมาบรรยายถึงกลยุทธ์ กลวิธี และวิธีการตามแบบของวอล-มาร์ต โดยจะนำเสนอเรื่องราวและประสบการณ์ในฐานะคนวงใน ที่จะอธิบายถึงแนวคิดที่มีประโยชน์ให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้นำไปใช้แข่งขันกับคู่ต่อสู้ได้
ในงานนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะไม่เพียงแต่ได้โอกาสในการร่วมฟังบรรยายและซักถามไมเคิล เบิร์กดัล เท่านั้น แต่ยังมีโอกาสเรียนรู้ถึงเคล็ดลับความสำเร็จของบริษัทระดับโลก วิถีวอล-มาร์ต วิธีการของแซม วอลตัน จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสำเร็จได้อย่างไร ทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้ในการเป็นทีมผู้นำมีอะไรบ้าง
ก่อนหน้านี้ ไมเคิล เบิร์กดัล ได้อธิบายเรื่อง “วิถีวอล-มาร์ต” ผ่านหลัก 7 กลยุทธ์ของวอล-มาร์ต โดยให้คำจำกัดความจากคำย่อ “POCKETS” ไว้อย่างน่าสนใจว่า
P หมายถึง Price – ราคา
O หมายถึง Operations – การจัดการ
C หมายถึง Culture – วัฒนธรรม
K หมายถึง Key Item Promotion – โปรโมชั่น
E หมายถึง Expenses – รายจ่าย
T หมายถึง Talent – ความสามารถ
และ S หมายถึง Service – การบริการ
อักษรแต่ละตัว เมื่อนำไปปฏิบัติจะมี แนวทางเป็นอย่างไร งานนี้ ไมเคิล เบิร์กดัล จะตอบทุกข้อสังสัย ประสบการณ์ในการทำงานกับแซม วอลตัน ที่สำนักงานใหญ่วอล-มาร์ต เบนตันวิลล์ รัฐอาร์คันซอ ได้เปิดเผยให้เห็นภาพพจน์ของการจัดการ ในองค์กรที่ยากจะเลียนแบบ ซึ่งมีเพียงผู้เคยเกี่ยวข้องสามารถเท่านั้นที่สามารถทำได้ ดังนั้น เขาจึงมีความสามารถในการบรรยายวิธีการจัดการของวอล-มาร์ต ที่ถูกพัฒนาจากเบื้องหลังการทำงานได้เป็นอย่างดี
วิถีวอล-มาร์ต จะช่วยตอบโจทย์ธุรกิจแบบไทย ๆ ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร งานนี้อาจมีคำตอบดี ๆ ในมุมที่ เราไม่เคยมองเห็นก็เป็นได้


Read more: “วิถีวอล-มาร์ต” กลยุทธ์-กลวิธีบริษัทระดับโลก | บล็อกความรู้ | WiseKnow | Knowledge Blog